ทีมพุทธชินราชเยือนนครศรีธรรมราช (๔): ดูแลตา-เท้าผู้ป่วยเบาหวาน


ทำเป็น package คู่ ตรวจตาและเท้าคู่กัน

ตอนที่

อ้อ เปรมสุรีณ์ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาทีกว่าๆ เล่าเรื่องการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตาและเท้า ตอนเริ่มพูดทำเป็นชวนผู้เข้าประชุมให้ลุกขึ้นยืน เหมือนจะให้ทำกิจกรรมขยับแข้งขยับขา แต่พอผู้เข้าประชุมพากันลุกขึ้นก็บอกให้นั่งลงได้ (ฮา)

อ้อบอกว่าเลือดไปถึงไหนเกิดปัญหาได้ที่นั่น เป็นเรื่อง “ตา ไต ตีน ตีบ และตาย” เรื่องไตและหัวใจหมอช่วยดูอยู่แล้ว

 

อ้อ เล่าเรื่องการทำงานของตนได้อย่างสนุกสนาน <p style="text-align: center;"></p>

ตา
ระยะเริ่มแรก เริ่มต้นในโรงพยาบาล รพ.พุทธชินราชเป็น รพศ.รับผิดชอบ ๔ จังหวัด มีหมอตา ๔ คน workload เยอะมาก คัดกรองได้ต่ำกว่า ๑๐% (ประมาณ ๗.๑๓%) เมื่อปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐ รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เครื่องตรวจตามา จึงไปขอเช่ามาใช้ด้วยราคาถูกๆ สามารถคัดกรองได้มากขึ้น ได้ ๖๕.๖๖% เครื่องหนักมาก คนทำงานยกจนกล้ามขึ้น ปี ๒๕๕๑ ทำเรื่องขอซื้อเครื่อง (ปีนี้คัดกรองได้ประมาณ ๑๐% เท่าเดิม) ได้มาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ลองตรวจกับพวกเดียวกันก่อน

เปิดคลินิกตาวันเดียวกับคลินิกเบาหวาน แต่ผู้ป่วยรักษาหลายแห่ง จึงต้องออกไปตรวจข้างนอก ครั้งแรกที่ออกมีคนมาเยอะมาก จึงให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทที่จะมาฝึกให้ช่วยทำไปก่อน ของทั้งเยอะและหนัก (มีรูปภาพให้เห็น) ห้องตรวจมักอยู่ชั้น ๒ ห้องต้องมืดหน่อย ดูทั้งต้อหิน ต้อกระจก และประสาทตา

เพิ่งออกตรวจได้ ๑๐ ที่จาก ๒๕ ที่ คัดกรองแล้วก็จัดระบบว่าต้องไปอย่างไรต่อ หมอตาให้คิววันละ ๒ คน เท่าที่ตรวจมา ๑,๐๐๐ ราย ต้องส่งพบหมอตาประมาณ ๕๐ ราย

เท้า
เรียนรู้จากการใช้ KM และ Peer Assist ปี ๒๕๔๘ มีคนไข้โดนตัด (ขา-เท้า) ๒๕ ราย เจอทีมเทพธารินทร์ ก็อยากเป็นเลิศบ้าง ไปขอเรียนรู้ กลับไปสร้างทีม PCT วางแผนกระบวนการว่าถ้าเจอภาวะแทรกซ้อน เกิดแผลต้องทำอะไรบ้าง รวมทั้งไปฝึกการดูแลภาวะแทรกซ้อน (ที่ รพ.เทพธารินทร์และสถาบันราชประชาสมาสัย)

เอาของเทพธารินทร์มาใช้ทั้งหมดไม่ได้ ต้องปรับ ไม่มีห้องแต่มีไฟอยากทำ ไปใช้ห้องทำแผลแต่ใช้แล้วมีกลิ่นรุนแรงติดในห้อง ต่อมาจึงได้พื้นที่เป็นห้องเล็กๆ มีพยาบาลรับผิดชอบ ๒ คน

กิจกรรมในคลินิกสุขภาพเท้า มีการตรวจ คัดกรอง ประเมิน ทำหัตถการ ให้ความรู้ แรกๆ ได้อะไรมาจากพี่เลี้ยงก็แนะนำหมด ใช้เวลาเป็นชั่วโมง ผู้ป่วยจำไม่ได้ (โยนไว้หน้าห้อง) จากบัญญัติ ๑๐ ประการจึงปรับเหลือแค่ “ล้าง เช็ด ตรวจ นวด บริหาร” ให้ทำตอนอาบน้ำ การแนะนำ ให้น้อยๆ แต่ให้ชัดๆ เมื่อถามกลับอย่างน้อยคนหนึ่งก็ตอบได้ข้อสองข้อ ต้องพูดย้ำๆ ซ้ำๆ

มีการตรวจประสาทส่วนปลายโดยใช้ monofilament หลอดเลือดส่วนปลายใช้วิธีคลำชีพจร สอน อสม. ได้ วัด ABI แนะนำเรื่องรองเท้า ทำหัตถการพวกหนังหนา ตาปลา เล็บ แผล

การลดแรงกด (Off-loading) ที่เรียนมาเป็น felted foam เจอ case แรกใช้เวลาทำ ๓ ชม. ผู้ป่วยเดินออกจาก รพ. กลับถึงบ้านก็ถอดออก เพราะเดินไม่ถนัด ผู้ป่วยบอกว่า "ถ้าไม่เดินจะเอาอะไรกิน” ถ้าไม่เดินทำมาหากินไม่ได้ จึงคิดว่าทำอย่างไรให้เขาเดินได้และไม่แปลกแตกต่างจากคนอื่นมากนัก เห็นคนใช้ไม้ค้ำยันเดินผ่านไป จึงคิดได้และเอาไม้ค้ำยันเข้ามาช่วย ผู้ป่วยรายนี้ (มีภาพ) ทำแผล ๓ เดือนก็หาย เดินได้

มีบางรายเหมือนกันที่ใช้ไม้ค้ำยันได้ไม่ถึง ก็ปรับใช้รองเท้าฟองน้ำมาเจาะแล้วซ้อนเข้าไป (มีภาพ) แรกๆ คิดไม่ถึงทำข้างเดียว ผู้ป่วยบอกว่า “ใส่เดินวันเดียวปวดขาแทบตาย” เพราะขายาวไม่เท่ากัน วิธีนี้ใช้ได้ใกล้เคียงกับไม้ค้ำยัน

มี flow chart สำหรับการเชื่อมประสาน

เรียนรู้แล้วอย่ารู้คนเดียว แบ่งปันเพื่อนในชุมชน คนในชุมชนมีศักยภาพสูงมาก เพราะทำหลายงาน พอเขารู้ก็เกิดความมั่นใจช่วยเราทำงานได้ อ้อลงไปช่วยให้คำแนะนำ (จนท.สอ.ไปแนะนำ ชาวบ้านจะเบื่อ) ช่วงแรกๆ ให้แต่คำแนะนำ ตกจากปากก็กองอยู่ตรงนั้น ต่อมาจึงให้ลงมือปฏิบัติ (ดูแลเท้า) ด้วย

ปีนี้เป็นปีที่ ๓ PCU น่าจะทำได้เองทั้งหมด รวมทั้ง อสม. ทำเป็น package คู่ ตรวจตาและเท้าคู่กัน ให้เบอร์โทรศัพท์ที่ PCU สามารถปรึกษาได้ เชื่อมประสานกับ IPD ตามไปเยี่ยม วางแผนร่วมกับเจ้าหน้าที่ (ส่งใน บส.๑ ทางอินเตอร์เน็ตหรือโดยรถโมบาย)

ผลลัพธ์ พบว่าคัดกรองประเมินเท้าได้มากขึ้น การตัดนิ้ว/เท้า/ขา ลดลง การ re-admit เป็น ๐ แต่ปี ๒๕๕๑ มี ๑ รายที่มีปัญหา

ทำงานแล้วก็แบ่งปันในทีม PCT องค์กร เครือข่าย ให้แต่ก็ได้เยอะ ทำให้พัฒนางานได้มากขึ้น รางวัลที่ได้ได้จากการทำงาน แลกเปลี่ยนกับทีมอื่นๆ ทำแล้วได้เงิน คนไข้ได้ผลที่ดี ตัวเองเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีความสุขกับการทำงาน

แถมท้ายด้วย weblog จบการบรรยายเมื่อเวลาเที่ยงกว่าเล็กน้อย เราไปรับประทานอาหารกลางวันที่เรือนวลัย

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 269350เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2009 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท