Workshop OM-KM เบาหวาน ความดันโลหิตสูง (๑)


หัวใจสำคัญคือการพัฒนาที่ทำให้เกิดความสำเร็จและเกิดความยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เช้า
 ระหว่างวันที่ ๗-๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แผนที่ผลลัพท์กับการจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง” ให้กับทีมแกนนำเครือข่ายฯ จาก node ในทุกภูมิภาคที่ห้องโป๊ยเซียน โรงแรมหลุยส์ แทเวิร์น ดอนเมือง กรุงเทพฯ  ผู้เข้าประชุมมีทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล.......ประมาณ ๓๐ คน ในจำนวนนี้มี นพ.มนู ชัยวงศ์โรจน์ ผอ.รพร.ธาตุพนม ได้รับมอบหมายจากลูกน้องมาเข้าประชุมด้วย วิทยากรเป็นทีมจาก สคส. ประกอบด้วย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด คุณอ้อ วรรณา เลิศวิจิตรจรัส คุณหญิง นภินทร ศิริไทย มีลูกทีมอีกคนสองคน

๐๙.๐๐ น. นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผอ.พรพ.กล่าวเปิดว่าโครงการฯ เหลือเวลาที่สั้นมากอีกไม่กี่เดือน.....อยากให้ทุกคนมีพื้นฐานการทำงานที่ยั่งยืนในอนาคต ประสบการณ์จากประเทศแคนาดา........เป็นที่มาของ OM…….OM มี ๒ ส่วน มีอะไรมากมาย...หัวใจสำคัญคือการพัฒนาที่ทำให้เกิดความสำเร็จและเกิดความยั่งยืน เพราะ Project ยังไงก็จบเร็ว

 

 

คุณหมออนุวัฒน์ขอนั่งพื้นเหมือนคนอื่น

พร้อมกันนี้ก็ได้ประชาสัมพันธ์งาน National HA Forum ของปีหน้าว่าได้คิด Theme ไว้เพิ่งตกผลึก (ไม่รู้งานเบาหวานทำให้ตกผลึกหรือเปล่า) ได้ว่า “การพัฒนาที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน” เล่นตัว “ย”

๐๙.๐๕ น. คุณอ้อ วรรณา เลิศวิจิตรจรัส แนะนำทีมงานโดยนั่งที่พื้น (คุณเอนกแซวว่าไม่ต้องนั่งก็ได้.... ฮา) บอกว่าปีหน้าถ้า HA มี Theme อย่างที่ว่า OM น่าจะขายดี เพราะมีความยืดหยุ่นและเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน และเริ่มกิจกรรมด้วยการ BAR ให้ทุกคนเขียนความคาดหวัง ๓ ข้อ ที่แถบซ้าย (แซวคุณเอนกกลับว่าเปลี่ยนทรงผม) ถ้าอยากได้เป้าหมาย ๓ ข้อ เราน่าจะต้องทำอะไรบ้าง เอาสัก ๒-๓ ข้อก็พอ แล้วให้เลือกตัวเลขที่ชอบตั้งแต่ ๐-๒๑

แล้วพับหัวใจเป็น ๔ เหมือนเดิม เอามาวางรวมกันไว้ตรงกลาง คลุกรวมกัน ให้ผู้เข้าประชุมมาหยิบใบที่ไม่ใช่ของตัวเอง ดูว่าหัวใจที่เลือกมาเขามีความคาดหวังอะไร ดูลายมือ การตกแต่ง......เดาหน่อยว่าน่าจะเป็นของใคร.......ความคาดหวัง ความมุ่งมั่นแบบนี้ น่าจะมีบุคลิกอย่างไร (เขียน) ที่ผ่านมาเคยมีการประชุมที่เดาถูกมากกว่า ๗๐% เป็นเรื่องของความละเอียดอ่อน ความเอาใจใส่

เอาหัวใจไปส่งคืนให้คนที่เราคิดว่าเป็นเจ้าของ เอาไปให้เฉยๆ  แล้วก็กลับไปนั่งที่ของตัว พบว่าบางคนได้หัวใจตั้ง ๓ ดวง บางคนไม่มีใครเอาหัวใจมาคืน คุณอ้อบอกแสดงว่าน่าค้นหา คนดูไม่ออก มี ๒-๓ คนได้หัวใจคืนถูกดวง เริ่มรอบที่ ๒……….

 

ตามหาเจ้าของหัวใจ

ใกล้เวลา ๐๙ น. ทุกคนได้หัวใจคืนแล้ว ให้แนะนำตัวอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นใคร อยู่ รพ.ไหน มีความคาดหวังอะไร ถ้าจะทำให้ถึงความคาดหวังที่ตั้งไว้จะทำอะไรบ้าง ที่เพื่อนเขียนให้นั้นถูกสักกี่เปอร์เซ็นต์ อ่านแล้วถามหาว่าใครเป็นคนทาย ช่วงนี้ทำให้รู้ว่าบางทีม (เพชรบูรณ์) ออกเดินทางมาตั้งแต่เช้าตรู่

จบการแนะนำตนเองเมื่อ ๑๐ น. ใช้เวลาเยอะเพราะเมื่อกลับไป จะทำงานเป็นเครือข่าย ต้องรู้จักกันให้ดี การใช้ OM ไม่ได้ทำคนเดียว ต้องอาศัยเครือข่ายทำงานร่วมกันไปอีกนาน อยากให้เอาใจใส่รายละเอียดของกันและกัน

เริ่ม ๑๐.๓๐ อาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด เป็นผู้ทำหน้าที่ให้ภาพรวมหรือ Overview ของ OM อาจารย์ประพนธ์บอกให้ผู้เข้าประชุมนั่งให้สบาย จะนั่งพื้น นั่งเก้าอี้ หรือนอนก็ได้ การเรียนรู้ที่ดีต้องสบาย แต่ก็ต้องมีสมาธิพอสมควร จะไม่ให้เคร่งเครียด Overview เหมือนการทำสวน ช่วงนี้จะเป็นการพาชมสวน เมื่อเสร็จทุกกระบวนการแล้วจะเห็นว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร แล้วคุณอ้อและคุณหญิงจะพารดน้ำ พรวนดิน......เมื่อฟังให้ใจจดจ่ออยู่ด้วยกัน อย่างเคร่งเครียด เป็นการตั้งใจแบบไม่ตั้งใจ

การได้รู้เรื่องที่คนอื่นไม่รู้ก็ดีเหมือนกัน เมื่อเริ่มต้นก็ตื่นเต้นกันเป็นธรรมดา ๓ เดือนเริ่มยุ่งแล้ว พอสัก ๑ ปีอยากโยนทิ้งแต่มันติดมือ เพราะหลายคนที่เอา OM ไปใช้นั้นติดรูปแบบ ถ้าใช้แบบติดรูปแบบไม่ดีเลย ติดรูปแบบเกินไปไม่ไหลลื่น

 

ขณะฟังอาจารย์ประพนธ์พาชมสวน

โครงการทั่วไป จะได้ยินคำ output, outcome, impact พบจบ หลายครั้งไปไม่ถึง impact คนจึงคิดว่าทำอย่างไรให้คนในพื้นที่มาร่วม ถ้าโครงการจบแล้วผู้เล่นคนอื่นๆ ต่อได้อีกเล็กน้อยแล้วจบ-ไม่ดี อยากให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการจบ-ผู้เล่นคนอื่นไม่จบไปด้วย เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ การเปลี่ยนแปลงดูที่ behavior change หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

แสดงภาพสวนทั้งสวนก่อน ต่อไปจะ zoom ทีละเรื่อง ๓ วันจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสวน สคส.คิดอย่างหนักว่าทำอย่างไรไม่ให้ติดกลิ่นนมเนยมากนัก เพื่อให้ได้ OM ที่เหมาะกับสังคมไทย แนะนำหนังสือต้นฉบับดั้งเดิมที่สามารถ download ได้ ที่จะเสนอได้ประยุกต์แล้ว

OM คืออะไร (สำหรับสาย Project management) การบริหารทางวิศวะมันง่าย เห็นเป็นชั้นๆ เป็น Science, OM เรียกได้เต็มปากว่า The Art of Project Management

โครงการส่วนใหญ่ไม่ได้เริ่มด้วยใจ แต่เริ่มด้วยการใช้เหตุและผล ต้องอาศัย logic เยอะมาก ไม่ใช่แรงปรารถนาที่แท้จริง แต่ OM สอนให้เริ่มจากความฝัน แรงบันดาลใจ ฝันชัดๆ ฝันให้มีพลัง แล้วเขียนออกมา

Step แรก เขียนฝันออกมา อยากเห็นอะไร มุ่งที่ “ผู้รับประโยชน์” อยากให้เขาได้อะไร ความฝันที่มีผู้รับประโยชน์อยู่ในนั้น เป็นฝันที่ไม่ใช่ให้คนอื่นทำ แต่เราเป็นคนทำ ตัวอย่างจากการประชุมเวทีหนึ่ง.....ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี ดูแลประชาชนและชุมชน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ดำรงชีวิตอย่างพอเพียง โดยมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีเครือข่ายให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนา....ให้หาฝันให้เจอ

OM ไม่เหมือนโครงการทั่วไปที่มีการระบุสิ่งที่คาดว่าจะได้รับ แต่ OM เริ่มจากฝันและมามุ่งกันที่ “พันธกิจ” โครงการมีพันธกิจอะไรบ้าง ทำให้เรา focus ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พันธกิจคือการระบุชัดถึงสิ่งที่เรา focus ไม่ใช่กิจกรรม (activities) เป็นเรื่องใหญ่ๆ หลักๆ ตัวอย่างเช่น พัฒนาศักยภาพกลุ่มและภาคีเครือข่าย........ สร้างวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน………

วิสัยทัศน์ เป็นป่าทั้งป่า พันธกิจคือการเลือกรดน้ำต้นไม้ พูดมาให้ชัดๆ เลยว่าจะทำอะไร (ไม่หว่านไปหมด) เราไม่สามารถทำได้ทั้งป่า ถ้าจะทำอาจต้องใช้เวลา ๑๐-๒๐ ปี พันธกิจคืองานที่เราต้องการจะทำไม่ใช่ทำคนเดียว เป็นเรื่องใหญ่ๆ เราไม่สามารถทำคนเดียวได้ เราต้องมี downline เครือข่าย (เครือข่ายหลายชั้น) ถ้าอะไรต้องพึ่งคนๆ เดียว ไม่ต้องใช้ OM

OM ต้องหา partner มี ๒ กลุ่ม
Boundary partner ไม่ชอบคำนี้ ที่ สคส.ใช้คำ direct partner (DP) คือคนที่ร่วมลงไม้ลงมือกับเรา เราไปทำงานด้วยโดยตรง เป็นกลุ่มที่มีใจและพร้อมจะผลักดันให้พันธกิจบรรลุผล เป็นกระบวนการที่ย้อนกลับไปแก้ได้ ถ้าเขาเสนออะไรดี (อาจต้องย้อนไป step ๑) ไม่นิ่ง เมื่อโครงการสิ้นสุด คนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้หยุดไปด้วย เพราะเขามีความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ ระบบยังเดินต่อได้

Strategic partner (SP) เป็นกลุ่มที่มีใจ ไม่ได้ลงไปขลุกด้วยโดยตรง แต่ให้การสนับสนุน .......อาจเป็นระดับนโยบาย คนข้างเคียง มาเสริมเชิงยุทธศาสตร์ อย่าได้เปรียบเทียบว่า partner กลุ่มไหนดีกว่ากัน

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 267256เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์วัลลาครับ ที่ สคส. เราได้ยินคำชื่นชมกันว่างานนี้ผลงานของท่านที่เข้่าร่วมทำแผนที่ออกมา "ดีมากๆ เก่งเกินคาด" ผู้ให้ทุนขอมาทางวิทยากรว่าอยากให้ทำให้กลุ่ม Surveyor เห็นกระจ่างแจ้งและทำได้อย่างนี้ และสามารถให้คำแนะนำสำหรับการพัฒนาแผนในอนาคตได้... (ได้ยินมาทำนองนี้ครับ) T_T

วิทยากรหนักใจเลยครับ เพราะงานนี้วิทยากรบอกว่า "ทุกท่านมี KM อยู่เต็มหัวใจ ไม่ต้องเสียเวลาเติมพลัง ใส่คันเร่ง ก็เอา OM ที่เคยสัมผัสกันมาแล้วด้วย กางแผนที่ วาดออกมาได้สำเร็จ" ดูเหมือนทำได้ง่ายดาย แต่มีองค์ประกอบที่มีประสบการณ์กันมาโชกโชน

แต่จะให้ทำแล้วผลออกมาอย่างนี้หรือยิ่งกว่านี้ กับกลุ่ม Surveyor ในครั้ืงต่อไป 555 วิทยากรกำลังกุมขมับอยู่ครับ เพราะมีเวลา 3 วันเท่านั้นเอง (นี่แอบเรียนให้อาจารย์ทราบครับ)

สวัสดีน้องโหน่ง

การที่ workshop ครั้งนี้มีผลงานออกมาดีมาก ก็เพราะผู้เข้าประชุมทุกคนเป็นคนทำงานตัวจริง มีความตั้งใจจริง รู้เรื่อง KM มาบ้าง และพอจะรู้จักกันมาก่อน

บรรยากาศในการทำงาน เราแยกไม่ได้เลยว่าใครเป็นหมอ พยาบาล เภสัชฯ ไม่มีเส้นกั้นระหว่างวิชาชีพ เวลาที่ทำงานเป็นทีมจริงๆ เราก็อยากเห็นภาพแบบนี้

แกนนำเครือข่าย KM เบาหวานได้ไอเดียจาก workshop ครั้งนี้ว่าปลายๆ ปี เราจะพากันไปที่สบายๆ บ้านหลังใหญ่ๆ กินๆ นอนๆ ช่วยกันใช้ OM วางแผนการทำงานของเครือข่ายต่อไป เพราะนี่ก็มีอายุ ๕ ปีแล้ว ทีม สคส.เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเรานะคะ เตรียมตัวไว้นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท