ทำไม? ฉันถึงกล้ว!!!


        มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า "ฉันกลัวความฝัน โดยเฉพาะฝันร้าย กลัวมาก ๆ เพราะทุกครั้งที่ฉันฝันร้ายตื่นขึ้นมาฉันไม่เคยมีความสุขเลย กลัวว่ามันจะเกิดขึ้น เพราะบ่อยครั้งมันมักจะเป็นอย่างที่ฉันฝันในฝันฉันมักจะถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว และนับวันฉันก็ยิ่งกลัวมากขึ้น"  

        ทุกคนคงมีความรู้สึกกลัวกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต ไม่ว่าสิ่งที่เรากลัวนั้นจะมองเห็นหรือไม่ก็ตาม สิ่งนั้นอาจจะไม่มีอันตรายใด ๆ หรือมีอันตรายอยู่บ้างเราก็กลัว แล้วความกลัวคืออะไร? ทำไม ? ฉันถึงกลัว!!!

         Phobia เป็นอาการของโรคประสาทชนิดกลัว (Phobic Neurosis) โดยมีอาการกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างมาก จนไม่สามารถระงับหรือควบคุมความรู้สึกไว้ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโรคกลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว แต่กลัวจนเกินกว่าเหตุ ไม่สมเหตุสมผล และจะสบายใจได้ต่อเมื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์หรือสิ่งที่กลัวนั้น ๆ

อาการกลัวที่มักได้ยินกันบ่อย ๆ ได้แก่
         กลัวที่กว้าง (Agoraphobia)
         กลัวที่แคบ (Clanstrophobia)
         กลัวที่สูง (Acrophobia)
         กลัวความมืด (Nyctophobia)
         กลัวสัตว์บางชนิด (Zoophobia)
         กลัวการอยู่คนเดียว (Monophobia)

อาการกลัวอื่น ๆ ได้แก่
         กลัวความเจ็บปวด (Alqophobia)
         กลัวฟ้าร้อง ฟ้าผ่า (Astraphobia)
         กลัวการเห็นเลือด (Hematophobia)
         กลัวน้ำ (Hydrophobia)
         กลัวการพูด (Lalophobia)
         กลัวการสกปรก (Mysophobia)
         กลัวศพ (Necrophobia)
         กลัวเชื้อโรค (Pathophbia)
         กลัวการกิน (Sitophobia)
         กลัวแสงจ้า (Photophobia)
         กลัวการถูกเผาทั้งเป็น (Taphophobia)
         กลัวความตาย (Tharatophobia)
         กลัวถูกวางยาพิษ (Toxophobia)

          ความกลัว คือ ปฏิกิริยาสนองตอบระหว่างการเรียนรู้และวุฒิภาวะ ความกลัวส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการเรียนรู้ ความกลัวอาจจะแบ่งได้ ดังนี้
         1.  ความกลัวต่อสิ่งภายนอก 
         2.  ความกลัวต่อความล้มเหลวต่าง ๆ 
         3.  ความกลัวต่อจินตนาการของตน 

สาเหตุของความกลัว
         1.  การถูกสอนให้กลัว เช่น กลัวผี กลัวหมอ กลัวความมืด คนที่สอนก็คือพ่อแม่ คนใกล้ชิด สื่อต่าง ๆ แต่บางอย่างก็สอนให้กลัวในสิ่งที่เป็นอันตรายที่น่ารับฟัง เช่น กลัวเสือ กลัวงูพิษ
         2.  กลัวตามทัศนคติของสังคม เป็นค่านิยมที่ปลูกฝังกันมาทั้งที่มีเหตุผลสมควรและไม่สมควร หรือยัดเยียดให้กลัวเกินกว่าเหตุ เช่น กลัวคนแปลกหน้า หรือกลัวผู้ใหญ่
         3.  จากประสบการณ์ชีวิตที่ไม่ดีของตนเอง ที่สะสมเอาไว้ ไม่ขจัดออกไป ความกลัวเหล่านี้จึงมักจะงอกเงยได้อีกมาก เช่น กลัวความอกหัก กลัวความรัก กลัวการถูกทอดทิ้ง

ความกลัวในวัยเด็กและวัยรุ่น
         1.  วัยเด็ก ความกลัวเกิดเมื่อเด็กไปพบสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่เขาไม่เคยประสบมาก่อน ความกลัวของเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนเป็นความกลัวต่อสิ่งภายนอก ในระยะแรก ๆ เด็กจะกลัวหมดทุกสิ่ง แต่พอมีอายุขึ้นเล็กน้อยเด็กจะเลือกกลัวต่อสิ่งเร้าเป็นชนิด ๆ ไป เด็กบางคนที่มาจากครอบครัวที่พ่อแม่แตกแยกกันมักจะมีชีวิตอยู่ด้วยความกลัวและหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา เมื่อโตขึ้นจะมีบุคลิกที่อ่อนแอ หวาดกลัวต่อทุกสิ่งง่ายมาก ความหวาดระแวงนี้เองจะก่อให้เกิดความว้าวุ่นใจ (Anxiet) มีลักษณะคล้ายความกลัวชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ใดมักจะทำให้มีบุคลิกภาพที่ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ต้องการหลบซ่อนตัวจากสังคม ปฏิเสธการรวมกลุ่มทุกชนิด
          2.  วัยรุ่น เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีความกลัวชนิดอื่นเข้ามาแทนที่ที่ต่างจากวัยเด็ก เช่น กลัวการอยู่คนเดียว หรือเกี่ยวกับความสำเร็จในโรงเรียน สถานการณ์ทางสังคมที่เด็กวัยรุ่นต้องเผชิญอาจจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวได้หลายประการ วัยรุ่นจะรู้สึกอับอายในสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายมาก เนื่องจากเด็กวัยรุ่นกำลังพยายามที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้อื่น แต่ทว่ายังไม่สามารถกระทำได้เต็มที่ จึงเกิดความกลัวที่จะทำสิ่งใดที่ตนเองเห็นว่า "เปิ่น" ออกไป โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการสวมใส่เสื้อผ้า เพราะสำหรับวัยรุ่น ลักษณะการปรากฎกายมีความสำคัญมากที่สุดในการสร้างความประทับใจให้แก่ผู้อื่น

อาการของโรคกลัว (Phobia)
           ตามปกติคนเราก็มีความกลัวที่ไม่มีเหตุผลอยู่แล้ว เช่น กลัวผี แต่การกลัวแบบไม่มีเหตุผลจะทำให้ยุ่งยากในการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจจะมีอาการทางกายควบคู่ไปด้วย เช่น ท้องเสีย มึนงง ปวดหัว เงียบเหงา กังวล บ้างก็มีอาการย้ำคิดย้ำทำในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ บางคนยอมรับว่ากลัวอะไรที่ไม่ได้เรื่องแต่ก็เลิกกลัวไม่ได้

การรักษา
            การรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่มี Phobia ชนิดใด ต้องรักษาโดยใช้ยาและจิตบำบัดจากจิตแพทย์

เทคนิคที่ใช้ลดความกลัวอย่างง่าย ๆ 
             1.  สร้างกำลังใจให้มั่นคงมากขึ้น
             2.  การใช้เหตุผลให้มากขึ้น
             3.  ใช้ความรักลดความกลัว
             4.  ใช้ดนตรีและเสียงเพลง
             5.  จงปลุกความกล้าให้เกิดขึ้นเสมอ
             6.  จงมองหาจุดดี จุดเด่นในตัวเองให้พบ
             7.  การอธิษฐานขอให้ความกลัวหมดไป

     คุณ......มีอาการของความกลัวอยู่บ้างใหม ?  คุณ......กลัวเหมือนอย่างที่ฉันกลัวบ้างใหม ?

"ฉัน....กลัวว่าสิ่งที่ฉันกลัวมันจะเกิดขึ้นจริง  ๆ"

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26541เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทฤษฎีว่าไว้ แต่ปฏิบัติอาจใช้ไม่ได้ ใจเป็นสิ่งสำคัญ

     อยากแนะนำให้อ่านบันทึกนี้ครับ ความกลัว
  • กลัวคนหน้าตาดีใช้ศัพท์ว่าอะไรครับ

คุณ "-ขจิต ฝอยทอง"

หากไม่ต้องการระบุเพศ ใช้คำว่า "I am afraid of the good-looking" แต่หากต้องการบอกถึงหญิงคนที่เราใฝ่ปองแต่เรากลัวให้ใช้คำว่า "I am afraid of the beautiful girl/woman" OK?

"กลัวครู....บ่รู้วิชา....กลัวคนหน้าตาดี....บ่มีเมียสวย"

  • ขอบคุณครับ นึกว่าได้คำศัพท์ที่ลงท้ายด้วย...phobiaนะครับ
  • เริ่มไม่กลัวคนหน้าตาดีแล้วครับ
  • เผื่อจะได้บ้างครับ ยิ้ม ยิ้ม
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท