จิตตปัญญาเวชศึกษา 89: ม.วลัยลักษณ์ (2) พลังงาน


พลังงาน

ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของผมที่ได้ทำงานกับกลุ่มนักศึกษาแพทย์ 48 คนใน workshop เต็มรูปแบบ ที่แล้วๆมามักจะทำเป็น short session แค่ 3 ชั่วโมง (ครึ่งวัน) หรือ 6 ชั่วโมง (เช้า-บ่าย) ที่เหลือแบบเด็กๆสุดก็ระดับแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน น้องๆวลัยลัษณ์คราวนี้อยู่ชั้นปี 2 เป็นนักศึกษาคณะแพทย์รุ่นหนึ่งของที่นี่ จะว่าไปก็พึ่งเป็นนักเรียนมอหกมาหมาดๆปีเดียว ยังมีวี่แววของ "ขาสั้น คอซอง" กันอยู่ไม่น้อยเลย

นักเรียนไทย (ถ้าจะขออนุญาต generalize สักที) มักจะฝึกปรือ "ฐานคิด" มาเยอะมาก ฐานใจฝึกบ้าง ไม่ฝึกบ้าง (แต่ใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย มีทั้งดูแลและไม่ดูแล) ส่วนฐานกายยิ่งมายิ่งน้อยลง ผลก็คือใช้ความคิดค่อนข้างเยอะ แต่ไม่รู้ตัวว่าคิดอยู่บนฐานอารมณ์ บางทีจึงตกเป็นทาสอารมณ์ เพราะไม่รู้ตัว ความกลัว take over พฤติกรรม กระบวนทัศน์ เสียเยอะ เราลองทดสอบสมมติฐานนี้่โดย อ.แอ๊ด (อ.พัฒนา แสงเรียง) กระบวนกรนำฐานกายคนสำคัญของเราลองสลาย rusty armor ของน้องๆดู

 

มาดเข้มแบบโกปี๊ (แบบไม่หวาน กับแบบใส่นม!!)

แล้วเราก็พบว่าร่างกายน้องๆหลายคน ทั้งที่ยังหนุ่ม ยังแน่น ยังสาวๆกันอยู่ค่อนข้างจะตึง ยึด แข็งไปหมด ข้อต่อดูจะไม่ค่อยได้หล่อลื่นเท่าไหร่ งานนี้เราเลยมีแผน strategy ที่ชัดเจนขึ้น

คือเน้นฐานกาย และฐานหัวใจ

ทำงานกับเด็กๆนี่ ผมคิดว่าต้นทุนเดิมค่อนข้างดี เพราะเด็กไม่ "ติด" กับ form หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ ยิ่งเด็กพึ่ง entrance เข้าคณะแพทย์ น่าจะมี "ต้นทุน" ติดตัวมาไม่น้อย เหมาะแก่การให้ vaccine ปลูกฝี เพิ่มภูมิคุ้มกัน ก่อนที่จะไปเจอะเจอโลกภายนอกเต็มที่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า นี่เป็นหน้าที่ เป็นพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตทุกที่พึงกระทำ พอเราคิดว่า workshop ครั้งนี้ยังขาด-แต่มีอะไรบ้าง เราก็สบายใจและผ่อนคลายอย่างเต็มที่ (เริ่มมองหาว่ากระบวนกรจะเสพเวลาสามสีี่วันนี้อย่างไร)

  

มาฝึกผ่อนคลาย และหาอาหารทะเลที่ท่าศาลาซีฟู้ด

สิ่งหนึ่งที่คนอายุน้อยมีคือ "raw energy" มีเหลือเฟือจริงๆครับ น่าเสียดายที่จะเก็บกักไว้ ไม่นำมาก่อประโยชน์ ไม่ว่าจะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย แต่เขามี "พลังงานศักย์" หรือ "ศักยภาพ" เป็นต้นทุน มีจิตใจที่ใฝ่ดี กำลังมองตัวตน หา role model เพื่อที่จะฟอร์มบุคลิกภาพ แสวงหาเอกลักษณ์ ความ unique (ทำให้เด็กวัยรุ่นอยากแต่งเนื้อแต่งตัวแปลกๆไปจาก norm) หารู้ไม่ว่าหากเขาแต่งธรรมดาๆ นั่นแหละจะ unique สุดในบรรดาวัยรุ่่นด้วยกัน

จนกระทั่งเขามารับ "บุคลิก" จากในรั้วมหาวิทยาลัย ที่บางทีก็เชิดชูคนเก่ง (มากกว่าคนดี?) เชิดชูคนกล้า คนแสดงออก (มากกว่าคนอ่อนน้อมถ่อมตัว?) ให้คะแนนคนพูด (มากกว่าคนฟัง?) และสรรเสริญคนทำสำเร็จ (มากกว่าคนที่ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่?)

เรามีเวลาสามคืน ซึ่งนับว่ายาวนานพอควร เราเลยค่อยๆเริ่มแบบฝึกหัดการฟัง การเปิดหัวใจ การเข้าหาหัวใจของผู้อื่นด้วยการแลกเปลี่ยนเรื่องราวที่มีพลังและมีความหมายของตนเองให้เพื่อนๆฟัง ให้เพื่อนๆฟังอย่างรู้สึกถึง privilege ที่ได้มาฟัง version นี้ ณ​ ที่นี่ ณ เวลานี้ เพื่อนๆก็ลองเล่าให้สมศักดิ์ศรีที่มีคนมาฟังอย่างตั้งใจ

แค่การเปิดหัวใจและแลกเปลี่ยนเรื่องราว ก็เพียงพอที่จะทำให้ความรู้สึกของน้องๆเริ่มผ่อนคลาย และอิ่มเอมกับเรื่องราวของเพื่อน เพื่อนที่เคยคิดว่ารู้จักดี เพื่อนที่เคยตัดสินไปว่าเป็นคนอย่างไร กลายเป็นเพื่อนใหม่ กลายเป็นความสนิมสนมอีกแบบ ที่เข้าอกเข้าใจกันและกันมากไปกว่าเดิม เข้าใจว่าทำไมเขา/เธอถึงพูดอย่างนั้น ทำอย่างนี้ และเข้าใจตนเองว่าทำไมเราถึงได้รู้สึกอย่างนั้น/เข้าใจอย่างนี้

ห้องแอโรบิกที่สวยงาม ดัดแปลงเป็นห้องกิจกรรมได้เนียนๆ

นั่งเข่าชนเข่า face-to-face แลกเปลี่ยน สัมผัส รู้สึก กันและกัน

เมื่อวรวุฒิลองทดสอบกระบวนการเรียนรู้ที่เรียบง่ายที่สุด โดยขอให้น้องๆทุกคน "วาดรูปวิว" ออกมา ให้เวลาประมาณ 1 นาที หลายคนก็เริ่มลงมือวาด บางคนยังนั่งคิด แต่พอวรวุฒิเริ่มแกล้งนับเวลา 30 วินาที 15 วินาที ทุกคนก็ก้มหน้าก้มตาวาดกันอย่างเร่งรีบ ด้วยความคุ่้นชินที่เรียนมาตั้งแต่เด็กๆถึงการทำข้อสอบให้ได้่ภายในเวลาที่กำหนด เราเอากระดาษรูปของทุกคนมาวางรวมที่กลางห้อง แล้วให้กลุ่มย่อยๆทีละ 10 คนเดินเข้าไปดู ไปชม

จากรูปวาด 50+ รูป เกือบทุกรูปเป็นรูปที่มีภูเขา ทะเล ต้นมะพร้าว เมฆ นกตัว M และดวงอาทิตย์ เหมือนกันเปี๊ยบ มีเพียงรูปเดียวที่มีคนวาดเป็นรูปเทียนหนึ่งเล่มออกมา

แบบฝึกหัดนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเราทำที่ ม.วลัยลักษณ์ ซึ่งท่าศาลาติดชายทะเล แต่ผมเคยคุยเรื่องนี้กับ Vanessa ที่อยู่ที่ออสเตรเลีย ถามว่ารูปวิวที่ลูกของเธอตอนอยู่อนุบาล เขาวาดอะไรกัน เธอหัวเราะใหญ่เมื่อทราบจากผมว่า เราก็ถูกสอนมาให้วาดรูปทะเล ภูเขา ต้นมะพร้าว ดวงอาทิตย์ เหมือนกันเปี๊ยบ

เมื่อถึงยามฉุกละหุก ยามที่ถูกกดดัน สมองจะหันไปหาอะไรที่ค่อนข้างปลอดภัย จำได้หมายรู้ว่่าถ้าทำอย่างนี้ล่ะก็ safe แน่นอน ในการทำอย่างนี้ก็จะ sacrifice อะไรบางอย่างไป นั่นก็คือ Imagination จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าที่ลองของแปลกใหม่ เพราะนั่นเป็น uncharted area ที่ไม่ได้อยู่ในแผนที่ ไม่ได้ถูก explored มาก่อน

แต่เดี๋ยวก่อน!!... ทำไมกิจกรรมนี้ ถึงได้กลายเป็นอะไรที่ฉุกละหุก กดดัน ไปได้ล่ะ ไหนบอกว่าผ่อนคลาย ปลอดภัยไงล่ะ?

ทุกๆคนผ่อนคลาย และยังอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยอยู่ก็จริง แต่ความรู้สึกคุกคามนั้น มาจาก "ภายใน" มากกว่าบริบทภายนอก สิ่งที่บริบทภายนอกเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น มีเพียง "คำสั่ง" ที่เรียบง่าย แต่เป็นคำที่่ทุกคนคุ้นเคยชินกับความหมายเดิิม "เหลือเวลา 30 วินาที 15 วินาที 5.. 4.. 3.. 2.. 1 หมดเวลา" นั่นเอง

มีหลายๆคนแก้ตัวว่า ถ้ามีเวลามากกว่านี้ จะวาดอย่างอื่น แต่เราเคยทำมาแล้วเหมือนกัน ยกเว้นส่วนน้อยที่จะหลุดจาก typical viewscape ที่ว่า แต่เวลาที่เพิ่มขึ้นก็กลายเป็นภูเขา แม่น้ำ เรือใบ ต้นมะพร้าว ดวงอาทิตย์ที่เติมรายละเอียด เติมสี เติมลูกมะพร้าว ลงไปเท่านั้น

พื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ที่เปิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ที่แท้ จึงไม่สามารถเกิดได้เพียงเพราะเรา "ปักป้ายปลอดภัย" ไว้หน้าประตูเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกฝังรากลึกมาจากประสบการณ์อดีต และโลกภายในของเราจะยังมีอิทธิพลอย่างมาก และจะ "ทดสอบ" สมมติฐานความปลอดภัยที่ว่านี้อยู่ตลอดเวลา มีอะไรสะกิดใจเพียงนิดเดียว สัญชาติญานที่แสวงหาความปลอดภัยก็จะโดดออกมาปกป้องตัวเองอย่างรวดเร็ว

ของเรานั้น ระบบขุนน้ำขุนนางฝังรากลึก ความสัมพันธ์แบบเจ้านายกับไพร่ยังไม่ได้หลุดจากวงจรไปเสียทีเดียว นาย/ลูกน้อง ครู/ศิษย์ มี protocol อะไรบางอย่างมาเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ จนบางทีเป็น Taboo เป็นกฏที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ทุกคนรู้กัน ตรงนี้เป็นอะไรที่ขวางกั้นศักยภาพที่แท้ของมนุษย์อยู่อย่างมากสำหรับสังคม Hierarchy แบบนี้

เรามีเวลาอีก 3 คืน ที่จะลองปลดล็อกอันนี้ลงไป

 

หมายเลขบันทึก: 265191เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2009 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับคุณหมอ พลังงาน อีกรูปหนึ่ง

 เมื่อวานที่ ม.ทักษิณ วิทยาเขต พัทลุง

ท่านอาจารย์ ประสาท มีแค้ม ก็คุยเรื่องพลังงาน

ดูเหมือนว่าในอนาคตเราจะมมี่พลังงานใช้ครับ

สวัสดีคะ

คิดถึงทุกท่านเลยคะ

ที่ได้มาทำให้ชาวพรพ. ไม่ตกเป็นทาสอารมณ์

อิอิ

ขอบพระคุณอาจารย์ คะ ที่จะมาช่วยอีกครั้งในการทำ workshop เร็วๆนี้คะ

ท่านวอญ่า Pครับ

พลังงานจากตัวท่านก็อบอุ่นมากนะครับ แต่ทำไมเจอหน้าผมดูลังเล มาเข้าใจตอนที่บอกว่าผมเนียนเกินกว่าที่คิด ฮึ ฮึ ไว้คราวหน้าแล้วกัน อาการแบบนี้กอดกันสักทีก็หายขาดครับ ฮ่ะ ฮ่า

กำลังจะนำเอา "เรียนในไห หายใจในปี่" ไปขายต่อหากินน่ะครับ ลุ่มลึกจริงๆ

แม่ต้อย Pครับ

ยินดีที่ได้กลับมาเจอหน้าสังฆะเก่าๆ (แต่น่ารัก) ครับผม จะได้ต้อนรับ พรพ.อีกไม่กี่วันที่ JB นี่ คุยกัน face to face ถึงจะมันนะครับ

รอสักประเดี๋ยวนะครับ คุณภูสุภา P

จินตนาการมักถูกปิดกั้นจากระบบการศึกษาตั้งแต่เด็กค่ะ อันเนื่องมาจากคนสอนที่ไม่เข้าใจคำว่าศิลปะไม่มีข้อจำกัด ปีที่แล้วหลานตัวเองตอนเรียนป.3 เขียนรูปที่อยู่อาศัยตามหัวข้อที่ครูสั่ง เขาเขียนเป็นเรือ เขียนซะสวยเชียว มีธงโลโก้ของเขาเองปักไว้ หน้าต่างแต่ละวงมีรูปคนในบ้านบอกว่าเป็นห้องใคร บรรยายเล่าให้เราฟังตอนกลางคืน ว่าส่วนไหนเป็นอะไรบ้าง สนุกสนานเฮฮา พอไปส่งแล้วมีกากบาทของครูอยู่บนเรือเขาสีแดงแจ๊ดกลับมา เราเห็นแล้วจี๊ด ปวดใจหนึบ (ตอนหลังช่วยพยายามแต่งลบรอยปากกาออกเพื่อเก็บเป็นผลงานส่วนตัวของเขา)

สภาพวันนั้นคือกลับมานั่งน้ำตานอง โมโหวีนเรา บอกว่าทำไมอาไม่บอกผมก่อนว่ามันผิด จะได้วาดให้ถูกเหมือนคนอื่นเขา เราโกรธระบบการสอนมาก บอกเขาว่ารูปเขาไม่ผิด ใครวาดอะไรก็ไม่มีผิด ให้ทำตามที่คิดต่อไป คะแนนช่างมัน เดี๋ยวอาจะไปคุยกับที่โรงเรียนเองว่าทำไมบ้านต้องมีหลังคา ต้องเป็นสี่เหลี่ยมหรือตึก คนอาศัยในเรือ ในแพ ในรถ ในถ้ำ เป็นไปไม่ได้เหรอ บ้านเป็นวงกลมหรือคว่ำหัวได้มั้ย จะมีข้อจำกัดปิดกั้นอะไรนักหนา เคยเกิดเรื่องแนวนี้มาทีแล้วก็ยังไม่เข็ดกัน ตอนนั้นเด็กเราเขียนต้นบาวบับ หน้าตาเหมือนรากชี้ฟ้าเอาหัวทิ่มดิน ครูก็บอกว่าผิดเพราะไม่เคยเห็นมาก่อน ต้นไม้อะไรมีรากอยู่บนอากาศ วาดต้นไม้สีรุ้งก็ผิด วิชาศิลปะที่มีรูปแบบตายตัว realistic เป็นเรื่องที่รับไม่ได้และเข้าใจได้ยากจริงๆ ค่ะ

Little Jazz P ครับ

ครูเองก็ไม่กล้าออกนอกพื้นที่คุ้นชินเช่นกัน

ผมเองเคยโกรธครูศิลปของลูกเหมืิอนกันเพราะมาให้คะแนน 3/10 แถมบอกว่ารูปไม่สวย ลูกไม่อยากให้ไปคุยกับครู ก็เป็นที่เข้าใจ แต่ทั้งหมดนี้เป็นหนังตัวอย่างของสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในระบบการศึกษาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คือการเรียนที่เต็มไปด้วยความกลัว

มีคนที่ชอบอะไรชัดๆ ง่ายๆ มีกฏ มีเกณฑ์ มี protocol มากมาย เพื่อให้ชีวิตดูคล้ายจะมีหลักการ มีความมั่นใจ เหนืออื่นใดคือ มี sense of "in control" ซึ่งหากวางอยู่หลักการแห่งความไม่ประมาทก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็น false sense of security โลกที่สร้างมาหุ้มตัวเองก็ยิ่งบอบบาง เปราะ ล่มสลายลงได้ง่ายๆ ผลก็คือ ต้องใช้พลังงานดิบ aggression ที่ผลักดันโดยความกลัวมารักษาระบบระเบียบไว้ตลอดเวลา

ถ้าหากเราจะปลูกฝัง imagination เราต้องกำจัดความกลัวให้ได้เสียก่อน เพราะความกลัวเป็น basic function ของสมอง มีไว้เพื่อ survive รักษาชีวิต รักษาสถานะ ถ้าเรากลัวเราก็รักไม่ได้ ถ้าเรากลัวเราก็สร้างสรรค์ไม่ได้ ปัญหาก็คือถ้าเราอาศัยใช้ชีวิตในกรอบแห่ง insecurity มาตลอดชีวิต เราเองไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าชีวิตเรานั้นใช้เชื้อเพลิงยี่ห้อ Fear อยู่ ขับเคลื่อน 4 ล้อ ออโตเมติกมาแต่ไหนแต่ไร

ถ้าเป็นอย่างนั้น แม้แต่ความคิดที่จะเปลี่ยน จะสะท้อน ก็ยังไม่มีเลย

โอ...เห็นภาพชัดเจนค่ะ fear นี่เองที่ทำให้เกิดได้ทุกอย่างเพื่อจะทำให้รู้สึก safety บ่อยครั้งไม่ใช่เฉพาะในโรงเรียน แต่เจอในสังคมทั่วไป คือเมื่อรู้สึกว่าใครมาลุกล้ำ safety zone ก็จะลุกขึ้นมาแสดงอาการ auto aggressive เหมือนสัญญาณเตือนในโปรแกรมไวรัส Caution!! Caution!! กดปุ่มเรียกเกราะป้องกันขึ้นมา protect ตัวเอง ปิดกั้นจากภายนอกเพราะแค่มีสิ่งที่แปลกไปจากวงจรชีวิตปกติประจำวันที่เคยพบ แต่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสิ่งใหม่ๆ นี่ดีหรือเปล่า หรือว่าสิ่งที่ตัวเองคุ้นชินมันดีหรือไม่

กลัว!!! คำนี้จะแก้ไขอย่างไรดีคะสำหรับคนที่ไม่ใช่นักเรียน ไม่มีอาจารย์มาช่วยสอนหรือชี้ให้เห็น ทำอย่างไรที่จะให้หลุดจากกรอบนี้ หรืออย่างน้อยยอมให้เกิดการเว้นที่สร้าง buffer zone เพราะความคุ้นชินแก้ไม่ได้ในเวลาสั้น แต่ถ้าสามารถหาทางให้ผ่อนคลาย รู้สึกว่า zone สีเหลืองแค่ผ่อนปรนแต่ไม่ได้ขาดความปลอดภัย ยังมีบางสิ่งที่คุ้นเคย อาจจะพอเป็นทางออกได้มั้ย คือ นึกถึงหลายๆ เรื่องอยู่ค่ะ ว่าทำยังไงจะให้เกิดการคลายความกลัวตรงนี้ลงได้บ้างในบางคนที่เราต้องพบเจอหรือทำงานด้วย : ) ความกลัวเป็นอีกเรื่องที่ตัวเองมองข้ามไป หลายครั้งรู้สึกว่าคนนี้ดื้อ ไม่ยอมรับรู้ เถรตรง ไม่ยืดหยุ่น หรือไม่รับฟังเหตุผล แต่ไม่ได้คิดถึงที่มาว่าเบื้องหลังสิ่งเหล่านี้คืออะไร

Little Jazz P ครับ

การจัดการความกลัวเป็นเรื่องใหญ่จริงๆครับ จัดการได้เรียกว่าแทบจะ upgrade เครื่องเคราของเราแบบยกกระบิเลยทีเดียว อะไรที่เคย "เชื่อว่า" ทำไม่ได้ ก็จะกลายเป็นทำได้ อะไรที่เคยเชื่อว่า "เปลี่ยนไม่ได้" กลายเป็น เปลี่ยนดีกว่า

2 อย่างสำคัญๆคือ

  • suspension การห้อยแขวน ไม่ด่วนตัดสิน ไม่ download ความหมายเก่าๆมาใช้่ตลอดเวลา
  • สังฆะ หรือกัลยาณมิตร อันเป็น "ทั้งหมดแห่งพรหมจรรย์" เป็นกระจกเงาที่เรารู้สึกปลอดภัย สามารถ "ขอยืม" sense of security ภายในปริมณฑล ทำให้เราพอมีเวลาขยายปรัตยุบันกาลได้นานพอที่จะใคร่ครวญ "ของใหม่" ในพื้นที่ต้องห้ามนั้นได้อย่างมีสติสัมปชัญญะ

ใน gotoknow เราน่าจะหาสองอย่างนี้ไม่ยาก (แต่เชื่อหรือไม่ เรายังอดไม่ได้ที่จะ "สวมเกราะ" ไม่ให้ใครเข้ามาในหัวใจเราได้ง่ายๆ เพราะความกลัวยังบงการกระบวนทัศน์ของเราอยู่) ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ หรือไม่ใช้มันเท่านั้นเอง

 

แวะมาบอกว่า ได้แผ่น playing for change ที่สั่งมาแว้ว ดีใจมาก : ) สั่งจาก Amazon เหมือนกันค่ะ ค่าส่งห่างกับค่าแผ่นเหรียญเดียวเอง 555 http://gotoknow.org/journals/sspdnong/entries/39385

  • รออ่านอีก
  • ตามมาถามต่อ
  • กำลังอินกับเรื่องเกราะเลย( rusty armor )
  • ฮ่าๆๆ
  • อ.พัฒนา แสงเรียง
  • ทำอะไรกับเรื่องฐานกายบ้างครับ
  • เคยเป็นกระบวนกรให้นักศึกษาแพทย์จากจุฬาฯ เด็กๆๆนิสิตยังมีแบบนี้เหมือนกัน
  •  ที่บางทีก็เชิดชูคนเก่ง (มากกว่าคนดี?) เชิดชูคนกล้า คนแสดงออก (มากกว่าคนอ่อนน้อมถ่อมตัว?) ให้คะแนนคนพูด (มากกว่าคนฟัง?) และสรรเสริญคนทำสำเร็จ (มากกว่าคนที่ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่?)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท