โครงการฝึกอบรมระบบภูมิสารสนเทศสำหรับการสร้างฐานข้อมูลด้านป่าไม้ปี 2552


GIS สำหรับงานป่าไม้

ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (GCOM) ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท (http://www.gis2me.com)  ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ กลุ่มวางแผนและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ ส่วนภูมิสารสนเทศ สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช   (http://ims.dnp.go.th/)  โดยร่วมในกิจกรรม โครงการฝึกอบรมระบบภูมิสารสนเทศสำหรับการสร้างฐานข้อมูลด้านป่าไม้ปี 2552 หลักสูตร "หลักสูตรการรับรู้ข้อมูลจากระยะไกล  และการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับงานด้านป่าไม้"  (http://ims.dnp.go.th/Train52.html)



โดยได้ช่วยในการฝึกอบรมประสบการณ์ในการใช้งานโปรแกรม ArcGIS 9.3 เป็นระดับพื้นฐานในรุ่นแรก ในระหว่างวันพุธที่ 27 พฤหัสที่ 28 และศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2552 ที่  ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน ที่เข้าเรียนรู้ในครั้งนี้ และมีทีมผู้ช่วยของศูนย์วิจัยฯ ในการเข้าช่วยเหลือผู้ติดขัดในการฝึกอบรมด้านโปรแกรม ArcGIS จำนวน 4 ท่าน (อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว, พีระวัฒน์ แกล้ววิการณ์, เอนก ศรีสุวรรณ และกฤษณ์ พิมพ์สุวรรณ)    ทั้งหมดเป็นศิษย์เก่าภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ที่มีประสบการณ์ด้าน GIS และรีโมทเซนซิงดีมากทีเดียว ที่คอยสนับสนุนอาจารย์ที่เป็นวิทยากรได้อย่างดี  ที่ต้องคอยเดินเวลาผู้ฝึกอบรมติดขัด ต้องเหนื่อยมากเวลาการฝึกอบรมเพราะต้องเดินเยอะหน่อยครับ










โดยในคอร์สการฝึกอบรม ในระยะเวลาที่จำกัดจำนวน 3 วัน เป็นคอร์สพื้นฐานที่จะต้องเน้นให้กับผู้ปฏิบัติงานในการนำเข้าแผนที่ GIS ด้านป่าไม้ เขตอุทยาน และการติดตามพืชพรรณ และสัตว์ป่า


สำหรับช่วงเช้า ในวันแรก เป็นการปูพื้นฐานระบบภูมิสารสนเทศให้เข้าใจในเรื่อง รีโมทเซนซิง จีพีเอส และจีไอเอส สำหรับการติดตามพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต และภัยธรรมชาติ
และหลังทานอาหารว่าง-กาแฟ ก็เป็นการปูพื้นฐานการใช้โปรแกรม ArcCatalog เบื้องต้น และการแสดงผลแผนที่บน ArcMap เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้งาน

ช่วงบ่ายในวันแรก ให้ผู้เรียนได้ศึกษาการแสดงผลข้อมูลแรสเตอร์ภาพถ่ายจากดาวเทียม การแสดงภาพสีผสม เพื่อสามารถแปลภาพถ่ายดาวเทียมด้วยสายตา บนโปรแกรม ArcMap และข้อมูลเวกเตอร์ GIS การแสดงผลแผนที่แต่งสีและข้อความให้สวยงาม เพื่อให้คุ้นเคย กับฐานข้อมูล และเห็นจุดอ่อนของฐานข้อมูลในเรื่องของโปรเจกชัน ดาตัม และโซน ที่ทำให้แผนที่แสดงผลเหลื่อมกัน ซ้อนกันไม่สนิท และกล่าวถึงการแนวทางการแก้ไขในวันพรุ่งนี้



ช่วงเช้า ในวันที่สอง ก็เป็นการอธิบายระบบจีพีเอส และการนำเข้าข้อมูลจากตารางที่ได้ค่าพิกัดจากจีพีเอส เรียนรู้การนำเข้าสู่ระบบ GIS และหลังอาหารว่าง-กาแฟ เริ่มเรียนรู้ในการนำเข้าข้อมูลจุด (point), เส้น (line) โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศสีเป็นแผนที่ฐาน โดยใช้แผนที่โซน 48N เพื่อสำหรับการเรียนรู้การแก้ไขในวันถัดไป ให้กลับมาสู่โซน 47N

ช่วงบ่าย ในวันที่สอง เป็นการต่อยอดการนำเข้าข้อมูลโพลีกอน (polygon) และจากนั้นแนะนำการคำนวณระยะทาง และคำนวณขนาดพื้นที่ จากฐานข้อมูลที่นำเข้าไป และการแปลงเป็นไฟล์ Geodatabase เพื่อให้โปรแกรมสามารถคำนวณระยะทาง และขนาดพื้นที่ได้อัตโนมัติ หลังอาหารว่าง-กาแฟ ก็เป็นการเรียนรู้เรื่องการแปลงโปรเจกชัน และโซน จาก 48N เป็น 47N เพื่อควบคุมแผนที่ให้อยู่ในระบบเดียวกัน



ช่วงเช้า ในวันที่สาม เป็นการเรียนรู้การแก้ไขดาตัมของแผนที่จาก Indian 1975 เป็น WGS 1984 เพื่อสามารถควบคุมตำแหน่งพิกัดแผนที่ให้ซ้อนทับใกล้เคียงกัน และการใช้ข้อมูลตาราง Attribute Data หลังทานอาหารว่าง-กาแฟ เรียนรู้ในการสืบค้นผ่านข้อมูลตาราง การสร้างกราฟ และสรุปผลเนื้อที่ของป่าไม้

ช่วงบ่าย ในวันที่สาม เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น Buffer Union Intersect Clip Identity เป็นต้น และหลังอาหารว่างกาแฟ เป็นการ Interpolation ปริมาณน้ำฝน และการจำลอง DEM และไปสู่การแสดงผลแผนที่ 3 มิติ เพื่อจัดสร้างภาพ animation แบบพื้นฐานพอให้เข้าใจการประยุกต์ใช้ในการติดตามพื้นที่ป่าไม้ ในเขตอุทยานที่ตนเองสนใจ

และในวันสุดท้ายก็มอบ CD สื่อเรียนรู้ ArcGIS เพื่อทบทวนด้วยตนเอง ในภายหลัง

ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันก่อนจากกัน หลังได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมแล้ว




ความสำเร็จในการฝึกอบรมครั้งนี้ ต้องขอบคุณทีมงานศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นทุกท่าน และผู้เข้าฝึกอบรมที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และข้อติดขัดในการทำงานจริงของท่าน ที่ทำให้ทีมวิจัยฯ มีประสบการณ์มากขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาของท่าน และหวังว่าผู้ฝึกอบรมจะสามารถนำไปแก้ไขปัญหาใน เขตอุทยาน และความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างดี

หมายเลขบันทึก: 264840เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2009 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นโครงการฝึกอบรมที่ดีมาก ๆ ครับ หากมีการฝึกอบรมให้กับผู้ใช้งานทั่วไปที่ประสงค์เข้ารับการอบรมคงจะดีมาก ๆ ครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ

       มีวิทยาทานเรื่องนี้ให้ผมอีกที่ไหนบ้างครับ ทุกวันนี้ผมถูๆไถๆ ใช้ Google earth ครับ  ไม่ได้เรียนหรืออบรมที่ไหนมาเลย ลองผิดลองถูกไปเรื่อย  เห็นมันสามารถเขียนแผนที่เส้นทางได้  เห็นมีเมนูบอกระยะทางบนพื้นเป็นเมตรได้ ผมเลยประยุกต์เอาไปใช้คำนวณพื้นที่ คือเวลาผมไถนาผมจะคำนวณพื้นที่ทำงานจาก Google earth ครับ สะดวกมากเลย  เพียงแต่นั่งจินตนาการว่าพื้นที่ที่เราไปทำงานนั้นมันอยู่ตรงไหนบน Google earth ครับ หลังจากนั้นเอามาวาดรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม แล้วเอา กว้าง ยาว สูง เข้าสูตรในExcel จากพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมหลายๆ รูปมารวมกัน พื้นที่คลาดเคลื่อนไม่มากครับ ดีกว่าเดินลากสายเทปวัดระยะมากเลย  สนใจเข้าอบรมหาความรู้ครับ มีเปิดเมื่อไรขอไปเป็นศิษย์สักครครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท