วานนี้ (17 ส.ค.48) ท่านอาจารย์มาลินี ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับ "ความสำคัญของสภามหาวิทยาลัย" และได้พูดถึง สมศ. และ กพร. ว่าชักจะเป็นคู่แฝดกันเข้ามาทุกที หลายท่านอาจจะยังไม่ค่อยทราบเรื่องเกี่ยวกับ กพร. ผมจึงขอถือเอาโอกาสนี้ ขอนำเอาบทความที่ถอดจากเทปที่ผมได้พูดคุยไว้ที่ระยอง มาเล่าสู่กันฟังอีกรอบ ความจริงวันนั้นผมมีเวลาน้อยมากที่จะพูดคุย คือประมาณครึ่งชั่วโมง แถมเป็นเวลารับประทานอาหารกลางวันอีกต่างหาก แต่พอถอดเทปออกมาแล้ว ทำไมยาวจังก็ไม่ทราบ เป็นดังนี้ครับ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ
โดย ผศ. ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นำเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรในช่วง 4 ปีข้างหน้า”
ระหว่างวันที่ 3-6 เมษายน 2548 ณ โรงแรมระยองรีสอร์ท จังหวัดระยอง
และจัดทำเป็นเอกสารแจ้งเพื่อทราบในที่ประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
ครั้งที่ 9/2548 วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2548
กราบเรียน ท่านนายกสภามหาวิทยาลัย ท่านอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาคและท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ก่อนอื่นผมขออ้างถึงเรื่องคำสั่งแต่งตั้ง คำสั่งแต่งตั้งที่ทำให้ผมมีโอกาสขึ้นมาพูดคุยในวันนี้ ที่ผมขึ้นมานี่อยู่ในฐานะที่เป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดทำคำรับรองปฏิบัติราชการของ กพร. ที่ทำในปีงบประมาณปี 2548 ซึ่งจริงๆ แล้วเกี่ยวกับ กพร.นี้ทำมาแล้ว 3 ปีนะ ตั้งแต่ปี 2545 – 2547 และปีต่อไปที่กำลังจะจัดทำ คือปี 2548 ผมก็มาเกี่ยวข้องด้วยก็เฉพาะในปี 2548 ซึ่งเริ่มต้นตอนสักราวๆ ปลายปี 2547 เนื่องจากมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผมอยู่ในคณะกรรมการที่มีท่านรองแผนฯ เป็นประธาน ปกติท่านก็รับผิดชอบเรื่องนี้มาตลอดทั้ง 3 ปีอยู่แล้ว แล้วเลขาฯ คือคุณธงชัยที่กองแผน แต่ว่าในปีนี้มีการแต่งตั้งให้ผมเป็นกรรมการเพิ่มเข้าไปด้วยและผมได้ไปดึงเอา QA Staff ของม.นเรศวรมาช่วยด้วยในปีนี้ เพราะว่า Concept ของ QA และ กพร. จะคล้ายๆ กัน ซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็นั่งอยู่ในที่นี้
ผมขอแนะนำเอกสารหมายเลข 3 ก่อน เอกสารที่เกี่ยวข้องที่จะแนะนำกันวันนี้ คือ เอกสารที่อยู่ในมือของทุกท่าน ถ้าใครไม่มีเอกสารก็อาจเข้าใจลำบากนิดนึง (ดูบางส่วนของเอกสารได้ที่ท้ายบทความ) ก็จะมีเอกสารที่ปั๊มตัวใหญ่ๆ หมายเลข 3 ผมใช้เอกสารที่เป็น Original ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมกองแผนเขาต้องไปพิมพ์ใหม่ ทำให้ไม่เห็นคำว่า “ด่วนที่สุด” เวลาที่ กพร. ติดต่อมาที่มหาวิทยาลัยจะเป็นเรื่องด่วนที่สุดตลอด และบางทีไม่ได้เป็นเอกสารอย่างนี้มาด้วยซ้ำแต่จะเป็น fax ด่วนที่สุด เป็นแบบนี้ตลอดเวลา Communicate กันมาแบบนี้ตลอด เอกสารที่ผมจะแนะนำทั้งหมด คือ 3-8 ภายใน 3 จะมีเนื้อหาอยู่ใหญ่ๆ 2 ประเด็น ผมขอท้าวความไปนิดหนึ่ง ก่อนที่จะมาในวันนี้ ผมได้เคยพูดคุยกับผู้แทนจากทุกคณะและหน่วยงานมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยใช้เวลาพูด 3 ชม. เพราะฉะนั้นในครั้งนี้จะพูดคร่าวๆ ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะในแต่ละคณะจะมีคนที่รู้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว เพราะว่าเคยพูดคุยกับผมมาแล้ว เพราะฉะนั้นในส่วนของตัวชี้วัดในเอกสารหมายเลข 3 นี้ผมเรียกเป็น 3A และส่วนปฏิทินเป็น 3B ฉะนั้นพอพลิกไป เอกสารหมายเลข 3 จะมีส่วนที่ผมให้หมายเลขไว้ เวลาอ้างถึงจะได้ไม่เสียเวลา 3B จะเป็นปฏิทิน ปฏิทินของ กพร.นี่สำคัญ เขามี Deadline ถ้าเกิดส่งช้า เขาหักแต้มวันละแต้ม คะแนนเต็มทั้งหมด 5 แต้ม 5 วัน ก็เสร็จแล้ว แล้วเวลาผลประเมินเขาเอาไปผูกพันกับ Incentive ซึ่งก็สนุกดี ถูกหลักการบริหาร ประเมินแล้วต้องนำผลไปใช้ อย่างน้อยก็ในเรื่องของ Incentive ต่อไปคงมีผลต่อการจัดสรรงบประมาณประจำปีของแต่ละมหาวิทยาลัย ตามหลักการของ Performance – based budgeting
เอกสารต่อไปหมายเลข 4 หน้าแรกเป็น 4B พอพลิกไปอีก 2 หน้าข้างในที่มีตาราง มีทางเลือกที่ 1 2 และ 3 ผมเรียกเป็น 4A มีหลายสิ่งที่จะต้องขอให้ทุกคณะไปช่วยทำ ผมช่วยอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย ทำทำนองนี้อย่างที่ทุกคณะจะต้องไปช่วยกันทำนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งในรอบปีงบประมาณ 2548นี้ แล้วก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา เปลี่ยนไปมากมายในแต่ละครั้งที่ กพร. ปรับ และผมก็เลยพยายามกั๊กๆเข้าไว้ เพื่อพวกท่านจะได้ไม่ต้องไปยุ่งมาก จนกระทั้งที่เห็นว่ามัน stable แล้ว จึงนำมาพูดคุยกัน
เอกสารหมายเลข 5 นี่ก็เป็นร่างคำรับรองปฏิบัติราชการของมน. เอกสารหมายเลข 6 เป็นแผนยุทธศาสตร์ของ สกอ. ความจริงแผนยุทธศาสตร์ทำนองนี้ของ ม.นเรศวรก็มีแล้วนะ เคยเอาไปแจก แต่วันนี้ไม่ได้นำมาแจกด้วย และเอกสารหมายเลข 7 นี่เป็นคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี อาจจะใช้ประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์ของแต่ละคณะ ส่วนเอกสารหมายเลข 8 นี่เป็นพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ผมแนะนำมาแล้วทั้ง 3-8 เลยนะ
ขอกลับมาดูรายละเอียดอันที่ 3 ก่อนนะ ขอเริ่มที่ 3A ก่อน หัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำคำรับรองปฏิบัติราชการ ภาษาชาวบ้านอาจเรียกว่า สัญญา ทำสัญญาว่า รับเงินมาเท่าโน้นเท่านี้และจะปฏิบัติอย่างโน้นอย่างนี้ พอถึงสิ้นปีงบประมาณเขาก็จะมาติดตามและประเมินดูว่า ที่สัญญาเอาไว้ ที่ทำคำรับรองเอาไว้ เป็นไปอย่างนั้นไหม เพราะฉะนั้นเวลาที่จะทำคำรับรอง ก็จะต้องมีเนื้อหาหน่อยว่า จะรับรองกันเรื่องอะไรบ้าง เรื่องที่จะมาทำคำรับรองกันในแต่ละเรื่องก็จะมี ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด อะไรต่ออะไรทำนองนี้
โดยสรุปแล้วมีอยู่ 4 เรื่อง ที่เค้าจะให้ทำคำรับรอง ผมขอไล่ตั้งแต่เรื่องข้างล่างสุดไปก่อนนะจากทั้งหมดที่มี 4 มิติ ความจริงแนวคิดต่างๆ เหล่านี้เค้าดัดแปลงมาจาก Balanced scorecard มิติที่4 เป็นมิติทางด้านพัฒนาองค์กร มิติที่ 3 เป็นมิติทางด้านเกี่ยวกับประสิทธิภาพ มิติที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพ และก็มิติที่ 1 เกี่ยวกับประสิทธิผล ถ้าลองเหลือบดู น้ำหนัก ประสิทธิผล เค้าจะให้ถึง 65% เค้าเน้นที่ประสิทธิผล ไม่ได้เน้นที่ผลลัพธ์ ทำไมผมไปเริ่มข้างล่างขึ้นมาก่อน เพราะ การจะมีประสิทธิผล ดี ไม่ดี มันจะไล่มาจากข้างล่าง
เรื่องของเรื่องเค้าต้องการให้ระบบราชการเกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ที่จริงแล้วแต่เดิมเลย เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง เค้าให้น้ำหนักสูงมากเลยนะ 20 กว่า เกือบ 28 ตอนต้นปีงบประมาณ รู้สึกมาแรงมาก เรื่องเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง Change Management แต่พอมาวันนี้ รู้สึก มันคงจะ implement ไม่ทัน เค้าก็เลยเปลี่ยนเรื่อง ไปเอาเรื่องอื่นมาทำก่อน เพราะฉะนั้นมิติที่ 4 นี่ในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร มิติที่ 4 ถ้าเกิดการพัฒนาองค์กรดีประสิทธิภาพมันก็น่าจะดี คุณภาพก็น่าจะดี ประสิทธิผลมันก็น่าจะดี เพราะฉะนั้นการที่จะประสิทธิผลดีได้ ข้างบนนี้ดีได้ 65% มันก็ต้องมีข้างล่างไล่ดีขึ้นไปก่อน
ตัวบ่งชี้ที่จะมาบอกว่า มีการพัฒนาองค์กรดี ตัวบ่งชี้ดู 3 อย่าง อันแรก คือ เรื่อง KM ถ้าเกิดมีใครสักคนเดินเข้าไปในคณะหรือหน่วยงานท่าน ถามว่า ท่านมีแผนเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานของท่านอย่างไร ตรงนี้เป็นโจทย์แล้วนะ ถ้าตอบไม่ได้ต่อไปคงลำบาก ทุกคณะก็อาจจะต้องไปจัดทำแผน KM ของตนเอง แผนของมหาวิทยาลัยมีแผนเกี่ยวกับ KM ดูได้ในเวบไซด์ของหน่วยประกันฯ ท่านอ.มาลินี ผู้ช่วยอธิการบดีคนใหม่ เป็นคนจัดทำแผน ส่วนตัวบ่งชี้ที่ 2 ที่เค้าจะดูในเรื่องของการพัฒนาองค์กร ก็คือเรื่องระดับคุณภาพการจัดการสารสนเทศของส่วนราชการ อันนี้เรื่องฐานข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก เวลา สมศ. ประเมิน เรื่องนี้ก็สำคัญ ตัวบ่งชี้ที่ 3 ก็คือ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เน้นหนักไปทางด้านนักศึกษา อาจารย์ และหลักสูตร แล้วเค้าจะมีน้ำหนักของแต่ละตัวบ่งชี้ เช่นในที่นี้อย่างละ 5 จากคะแนนเต็ม 100
การที่เค้าให้น้ำหนัก 5 เวลาที่มาประเมินบางคนอาจจะถามว่า 5 เนี้ย เมื่อไรมันได้ 5 เมื่อไรมันได้ 4 ได้ 3 2 1 อันนี้เค้ามีเกณฑ์อยู่สามารถพลิกเข้าไปดูรายละเอียดในเอกสารอยู่ในนี้ เอาเป็นว่า มิติที่ 4 มี 3 ตัวบ่งชี้นะ อาจารย์จะต้องช่วยกันไปดูในเรื่อง KM ดีๆ ในเรื่องฐานข้อมูลดีๆ แล้วอีกเรื่องเป็นเรื่องฐานข้อมูลทางด้านนักศึกษา อาจารย์ และหลักสูตร อาจารย์ต้องไปดูเกณฑ์ข้างหลัง อย่างอันเนี้ยมันจะมีรายละเอียดเลยว่า จะต้องไปร่วมมือกับ สกอ.จะต้องไปอย่างโน้น อย่างนี้ ถึงจะได้ 5 ถ้าอยู่เฉยๆในคณะโดยที่ไม่ไปดูเกณฑ์พอถึงเวลาเค้ามาประเมินนี่ จะไม่รู้เรื่องอะไรกับเค้า ก็อาจจะได้ 0 เพราะฉะนั้นต้องดูที่เกณฑ์ และกลับไปทำ ขอให้ใช้เอกสารนี้เหมือนเป็น Guideline สำหรับปฏิบัติในสิ่งที่เราควรที่จะต้องทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว
ต่อไปลองไปดูมิติที่ 3 ตกลงมิติที่ 4 มีอยู่ 3 ตัวบ่งชี้ มิติที่ 3 ก็มี 2 ตัวบ่งชี้ ในเรื่องของประสิทธิภาพ หลักการของประสิทธิภาพทั่วๆไป ก็คือ Output เพิ่มแต่ว่า Input เท่าเดิม หรือน้อยลง เพราะฉะนั้นเค้าก็ไปดูที่ร้อยละของงบประมาณที่สามารถจะประหยัดได้ ตั้งใจจะใช้ 100 บาท ถ้าประหยัดลงได้ 5 บาท เวลาประเมินเค้าให้ 5 เลย ประหยัดได้ 4 บาท ได้ 4 อะไรทำนองนี้ เค้าจะมีเกณฑ์ แต่เค้าคิดเป็นร้อยละ อันที่ 2 คือระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการลดเวลาหรือลดขั้นตอนในการให้บริการ อย่างเช่น จ่ายยาที่ รพ. เดิมอาจจะใช้เวลา 15 นาที /คน ทำให้ลดลงเหลือ 10 นาที 5 นาที อะไรอย่างนี้ ตรงนั้นต้องลดเวลา เวลาเด็กนักเรียนมาลงทะเบียน หรือว่า เข้าไปรับบริการในห้องสมุดต้องลดเวลาลดขั้นตอนของการบริการ สรุปแล้วเรื่องประสิทธิภาพเค้าดู 2 ตัวบ่งชี้
ส่วนมิติที่ 2 เรื่องคุณภาพ คุณภาพเค้าดูที่ความพึงพอใจของผู้รับบริการ อันนี้รู้สึกปีที่แล้ว เค้าจ้างราชภัฏสวนดุสิตโพล มาทำ สำรวจความพึงพอใจด้านต่างๆ ปีนี้ ก็คงทำนองเดียวกัน ส่วนอีกตัวบ่งชี้นั้นเค้าดูความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ ความจริงเค้าก็มี รู้สึกรายละเอียดอยู่ในเอกสารเล่ม 8 จะเกี่ยวข้องตรงนี้ในการที่จะปฏิบัติตามตรงนี้ รวมแล้วก็มี 2 ตัวบ่งชี้
สุดท้ายมาที่มิติที่ 1 มิติที่ 1 น้ำหนักถึง 65% ตัวชี้วัดที่ 1 นี้ 10% นั้นคือเรื่องเกี่ยวกับระดับความสำเร็จของกระทรวง ตอนนี้เราอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าเกิดกระทรวงศึกษา Performance ดี หมายถึงว่าเราช่วยได้ดีด้วย เราก็จะพลอยได้อานิสงส์ คะแนนตรงนี้ดีด้วย สกอ.ก็เหมือนกัน สกอ.ต้องไปทำคำรับรองมีหลายรายการอย่างนี้เหมือนกัน ถ้าพวกเรา Performance ดี สกอ.ก็จะพลอยมี Performance ดี แล้วเราก็จะได้รับอานิสงส์จะได้ 15% ตรงตัวชี้วัดที่ 2 นี้ดีด้วย รวมสองเรื่องนี้ 25% ตัวชี้วัดต่อมาอีกเป็นของมหาวิทยาลัยโดยตรง เกี่ยวกับของเราโดยตรงเลยที่แบบไม่เกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการหรือว่าไม่เกี่ยวกับ สกอ. อันนี้ 25% เป็นตัวชี้วัดที่ 3 การที่จะได้ 25% นี้เราจะต้องไปจัดทำ Vision, Mission และก็พวกเป้าประสงค์ พวกเกณฑ์อะไรต่ออะไรของเรา 25% นะ ตรงนี้ ช่วยทำเครื่องหมายไว้ด้วย เป็นเรื่องเกี่ยวกับเราโดยตรงระดับมหาวิทยาลัย และก็ระดับคณะด้วย และก็จะอ้างอิงไปถึงเอกสารหมายเลข 4 ตัวบ่งชี้ต่อมาคือร้อยละความสำเร็จตามเป้าหมายผลผลิตอันนี้ต้องไปดูที่เอกสารงบประมาณรายจ่ายนะ ตอนที่ไปขอเงินงบประมาณเค้ามาแล้วบอกว่า ในหมวดโน้น หมวดนี้ จะไปใช้อะไรต่ออะไรอย่างนั้นนะ ถ้าทำได้ตามนั้นนะ เค้าก็จะให้คะแนนเป็น 5 4 3 2 1 ลำดับกันไป ส่วนใหญ่ก็จะได้ 5 นะ ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรเกี่ยวกับตัวชี้วัดนี้ อีกตัวบ่งชี้หนึ่ง อันนี้เป็นอันใหม่สำหรับปีนี้ก็คือ ระดับความสำเร็จของการปรับปรุง เรื่องของความร่วมมือของจังหวัด เราต้องไปสนับสนุนจังหวัด เพราะฉะนั้น ในเกณฑ์เค้าจะมีว่า เราต้องไปสำรวจความต้องการของจังหวัดอะไรต่ออะไรพวกนี้ แล้วก็ไปสนับสนุนเค้ายังไง อาจารย์ลองไปดูเกณฑ์นะ จะช่วยทำให้เห็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น
โดยสรุปแล้วสิ่งที่เราต้องไปทำคำรับรองปฏิบัติราชการ ก็คือ มีอยู่ 4 มิติ มิติที่ 4 ข้างล่างเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง มิติที่ 3 ในเรื่องเกี่ยวกับประสิทธิภาพ มิติที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพ มิติที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสิทธิผล และ 1 สำคัญที่สุด 65% แล้วภายใน 65%จะมี 25% ที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง นี่คือเนื้อหาในภาพรวมๆ ที่เราจะต้องไปช่วยกันทำ แต่เวลาไปทำจริงๆจะต้องมีรายละเอียดย่อยลงไปอีก ทีนี้ รายละเอียดย่อยก็คือ อยู่ในเอกสารหมายเลข 5 แต่ขอให้ลองดูกำหนดการสักนิดนึงก่อนนะ กำหนดการคือที่ 3B นะ ตรงนี้ลองดูกำหนดการนะ วันที่ 15 เมษา คนที่รับผิดชอบโดยตรงคือคุณเบิร์ดนะ 15 นี้ต้องส่งนะ และก็ด่วนที่สุดตลอด ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยก็เคยทำเสร็จไปหลายรอบแล้วส่งไปที่ กพร. ต่อมาแจ้งมาว่าต้องส่งไปที่ สกอ.ก่อน พอส่งไปที่ สกอ. ต้องมาปรับใหม่กันหมดตาม กพร. อีกครั้ง คือในครั้งนี้
ในขณะเดียวกันวันที่ 15 พร้อมๆ กันนี้ เราจะต้องส่งรายงานครึ่งปี SAR ครึ่งปีทั้งๆ ที่เพิ่งจะตกลงในเรื่องตัวบ่งชี้กันเสร็จ แล้วก็ให้ส่งรายงานครึ่งปีไปด้วย แล้วปลายเดือนบอกว่า จะขอปรับเปลี่ยนคำรับรองอีกก็ได้นะ ไอ้ที่ส่งไปแล้วตรงนี้ แล้วก็เนี่ยเป็นอย่างเนี้ยต้องยุ่งกันทั้งปี แล้วเวลาประชุมที่ขอมาด่วนส่วนใหญ่ ผมก็ต้องให้กรรมการชุดนี้ต้องประชุมกันส่วนใหญ่ตอนทานข้าวกลางวันหรือตอนเย็น และ SAR ฉบับต่อไปก็มีรอบ 9 เดือน12 เดือน ตอนที่สำคัญที่สุด คือ ตอนปลายปีที่อยากให้พวกเราระวังกันก็คือ ตอนสิ้นเดือนกันยานี้ ตอนกันยานี้คือ สิ้นปีงบประมาณ วันนั้นส่งรายงานฉบับสุดท้าย ต้องอย่าช้าเลยนะ ถ้าเกิดคุณ ธงชัยที่กองแผนขอความร่วมมือ ขอข้อมูล ขออะไรไปเนี่ยให้ความร่วมมือให้ดีๆนะ เพราะว่ามันจะมีผลกับการดำเนินงานมาก คือถ้าช้าวันนึงเค้าหักคะแนนนึง คะแนนเต็มมี 5 คะแนน 5 วันก็เกลี้ยงแล้ว แล้วเค้าเอาจริงนะ เมื่อปีที่แล้วโดนหักมาแล้วด้วย Incentive เราได้ประมาณล้านนึง ล้านเศษๆ เมื่อปีที่แล้วคือในปีงบประมาณ 2547 ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นเค้าอาจจะได้กันเป็นสิบๆล้าน เพราะฉะนั้นปีหน้าตั้งเป้าให้สูงเข้าไว้ อาจจะได้เป็นสิบล้านเหมือนที่อื่นเค้า ถ้าเกิดพวกเราร่วมมือกันดีนะ แล้วปีนี้เค้าให้เงินมาล้านกว่าๆ เงินอยู่ในมือคุณเบิร์ด คุณเบิร์ดยังไม่รู้จะแจกไปให้ใครยังไง เพราะว่าจะเอาไปแจกแบบหารยาวเฉลี่ยกันไปเค้าก็ไม่ให้ใช้วิธีนั้น ปีที่แล้วเราอาจจะไม่ค่อยมีส่วนร่วม เราก็เลยไม่รู้จะเอาเกณฑ์อะไรแจก แต่ว่าปีหน้าเนี่ย การมีส่วนร่วมตรงนี้ ผมว่าถ้าเกิดใคร Performance ดี มีส่วนร่วมดี อะไรต่ออะไรยังเงี้ย เวลาได้เงินมาเป็น Incentive ทีนี้ก็คงจะให้ไปตามสัดส่วนตรงนั้นได้
ขอย้อนกลับไปดูเอกสารหมายเลข 3 ที่จะมีเรื่องกำหนดการที่ผมเน้นว่า Deadline เป็นเรื่องสำคัญ ให้ดูที่ 3B เป็นเรื่องของปฏิทิน ส่วน 3A เป็นเรื่องของว่า เค้าจะมาประเมินเป็น 4 มิติ มิติข้างล่าง การพัฒนาตนเอง และก็ประสิทธิภาพ คุณภาพ แล้วก็ทางด้านประสิทธิผล อันนั้นเป็นเอกสารหมายเลข 3 นะ ต่อไปลองมาดูหมายเลข 4 เมื่อกี้ผมบอกว่า เป็น 25% ของหมายเลข 3A นี่ก็ล่าสุดเลยยังแก้ไม่ค่อยจะเสร็จดีด้วยซ้ำ ก่อนที่จะดู 4B ในรายละเอียดเนี่ย ผมขอดูที่ 4A พลิกเข้าไป 2 หน้า อันนี้เป็นการบ้านของพวกเราแล้วเป็นโอกาสที่เราจะได้เลือกทางเดิน เมื่อกี้ อ.โชติชัย บอกเราเรื่อง S Curve หัวมันอาจจะตกก็ได้นะ ต้องกำหนด Positioning ตัวเองให้ดี ตรงเนี่ยเราลองเลือกดูนะ กพร. เค้าไม่ให้เราเลือกอะไรมากหรอก เค้าให้เราเลือก 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 Weight น้ำหนักก็จะไปอยู่ที่วิจัย ทางเลือกที่ 2 Weight น้ำหนักก็จะไปอยู่ที่การเรียนการสอนการผลิตบัณฑิต ส่วนทางเลือกที่ 3 ก็คือบริการวิชาการ ถ้าเกิดพูดกันตรงไปตรงมาก็คือ You อยากจะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือว่า มหาวิทยาลัยที่เน้นการสอน หรือว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นบริการชุมชน ตรงนี้นี่คณะกรรมการชุดที่ผมได้กล่าวข้างต้นได้ประชุมไว้แล้ว เราเลือกที่จะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย เพราะว่าเราไม่อยากให้ S Curve มันตกอย่างที่ท่านอาจารย์โชติชัยพูด ซึ่งมันเป็นทางที่ยากแต่ว่าท้าทายนะ
ส่วนคณะแต่ละคณะนี่ท่านจะเป็น Research Faculty หรือว่าจะเป็น Teaching Faculty อันนี้เป็นสิทธิของท่าน แล้วท่านลองไปเลือกดู ประเด็นประกอบการพิจารณา ก็มีทั้งหมด 6 ประเด็น 5 ประเด็นแรกเป็น Common KPI ส่วนอันที่ 6 เป็นเรื่องของแต่ละคณะที่ไปคิดกันขึ้นมาเอง เป็นจุดเด่น เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคณะ ของมหาวิทยาลัยก็ต้องคิดขึ้นมาเองด้วยเช่นกันว่า 2.5 คะแนนนี้จะเด่นเรื่องอะไร เค้าให้มา 2.5 เอง ที่เราจะเลือกเด่น นอกนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องเลือก 3 ทางเลือกที่กล่าวแล้ว สมมุติเราเลือกทางเลือกที่ 1 เราก็ต้อง Weight น้ำหนัก ไปตามนี่นะ อันที่ 1 เรื่องคุณภาพบัณฑิต ลองสังเกตดูนะว่าภาพรวมๆ มันจะคล้ายๆของ สมศ. คล้ายๆของ ดร.โชติชัย ถ้าเกิดอยู่ในมหาวิทยาลัยไปพูดที่ไหนมันก็ไม่พ้นจากนี้หรอก ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุง เถียงไม่อออกหรอก ไม่มีพ้นตรงนี้ สำหรับทางเลือกที่ 1 ผลิตบัณฑิต 7.5 อันที่ 2 คือวิจัย 7.5 อันที่3 บริการวิชาการ 2.5 และก็อันนี้นี่เค้าจะเอาเรื่องประกันคุณภาพภายใน 2.5 เรื่อง IQA นี้ผมไปดูเกณฑ์แล้วเราสบาย 2.5 เราได้แน่นอน 100% อันที่ 5 คือด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2.5 เดี๋ยวดูในรายละเอียดเค้ามีให้เลือกด้วย เป็น KPI บังคับกับเลือก และเค้าบอกว่าให้เลือก KPI ทำนุบำรุงอันนี้เป็นเลือก แต่มีให้เลือกอันเดียวซึ่งตลกดี ตัวบ่งชี้ในประเด็นสุดท้ายประเด็นที่ 6 อันนี้เราต้องคิดเองนะ 2.5 เนี่ย เราอาจจะมีตัวบ่งชี้เดียว หรือ 2 ตัว อะไรก็แล้วแต่ลองดูในรายละเอียดตามที่เห็นในเอกสารเป็นของระดับมหาวิทยาลัย แต่ว่าในคณะของท่าน ตอนที่แบ่งกลุ่ม ท่านลองไปช่วยกันพิจารณาของท่านเองนะว่า ในคณะของท่านควรจะเป็นยังไง อย่าลืมนะว่าประเด็นที่ 1-5 เนี่ย เป็น Common KPI ที่ต้องเหมือนๆกัน แต่ว่า Weight น้ำหนัก ต่างกันได้ เกณฑ์อาจจะต่างกันได้
ลองเข้าไปดูรายละเอียดของตัวบ่งชี้ในทางเลือกที่ 1 ก่อน จะเห็นว่ามันจะคล้ายๆ กับตัวบ่งชี้ของ สมศ. ผมถึงมีโอกาสมานั่งพูดคุยอยู่ตรงนี้ ประเด็นที่ 1 ด้านคุณภาพบัณฑิต อันที่ 1 เลยเค้าดูที่อะไรฮะ เค้าดูที่ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตนะ ประเด็นที่ 2 เค้าดูอัตราการได้งานทำ ข้อมูลพวกนี้นี่ส่วนใหญ่ เราจะมีอยู่แล้วตอนที่ดำเนินการประกันคุณภาพ ส่วนอันที่ 3 นี่เค้าดูที่การตีพิมพ์ การตีพิมพ์ของบัณฑิตศึกษา ตรงนี้จะต่างจากของ สมศ. หน่อย ตรงที่เวลาหารเค้าหารด้วย จำนวนนิสิตบัณฑิตศึกษาทั้งหมด เค้าไม่ได้หารด้วยจำนวนวิทยานิพนธ์ในแผน ก ก็ที่ตีพิมพ์ในระดับประเทศกับนานาชาติ แยกกันตรงนี้นะ ท่านก็ลองไปดูว่า ในคณะท่านเนี่ย ท่านสามารถ Weight น้ำหนักตรงนี้ต่างไปจากที่มหาวิทยาลัยได้ ลองทำยุทธศาสตร์ของแต่ละคณะดู ต่อมาก็สัดส่วนของ Ph.D. Staff อาจารย์ที่จบ ป.เอก และก็จำนวนคนที่ได้รับทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ เค้าใช้คำว่า ได้รับทุนนะ แต่เวลาผมไปดูข้างในแล้ว ทุนทั้ง 2 แบบทั้ง ก.พ. ทั้ง พ.ก. เค้านับหมดนะ ไปเรียนด้วยทุนตัวเอง เขาก็ถือว่าได้รับทุนไปนะ ตรงนี้ก็อย่าไปคิดว่า จะต้องได้รับทุนจากที่อื่นเพียงอย่างเดียว เราลองดูรายละเอียดดู รวมแล้วประเด็นที่ 1 นี่มีทั้งหมด 5 ตัวบ่งชี้นะ แต่ว่าลองดูทางขวานะ เค้ามีให้เลือกด้วยนะ มีบังคับ บังคับ เห็นมั้ยฮะ และก็ให้เลือก ถ้าเกิดคณะไหนไม่มีบัณฑิตศึกษาไม่ต้องเลือกตรงนี้ก็ได้นะ เพราะฉะนั้นเลือกตัวบ่งชี้มาแล้วก็ลองไป Weight น้ำหนักต่อกันดู ไอ้การที่เราไปเลือกตรงไหนมาเนี่ยมันจะเป็นตัวสะท้อน บอกถึงว่า คณะเรา ทิศทางจะไปทางไหน Positioning ของตัวเองจะอยู่ตรงไหน อันนี้เป็นเรื่องของประเด็นที่ 1 นะ
ประเด็นที่ 2 เรื่องการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ ก็จะคล้ายกับ สมศ. เหมือนกันนะ เมื่อกี้นี้ในประเด็นที่ 1 เป็นการตีพิมพ์ของบัณฑิตศึกษาข้างบน แต่อันนี้เป็นของอาจารย์ ของอาจารย์ประจำทุกระดับ ก็คือตีพิมพ์ระดับประเทศ ระดับนานาชาติเท่าไรนะ แล้วก็จะ Weight น้ำหนักเท่าไร สัดส่วนจำนวนเงินสนับสนุนด้านวิจัย อันนี้ก็คล้ายๆของ สมศ. นะฮะ จำนวนผลงานวิจัย ตรงนี้ไม่เหมือนของ สมศ. และเป็นเรื่องสำคัญ อยากให้พวกเราสนใจ KPI ตรงนี้ให้ดีนะ แล้วจะค่อยๆสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆก็คือ จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ตรงนี้สำคัญนะ แต่เรา Weight น้ำหนักแค่ 0.5 เพราะในขณะนี้เราไม่ค่อยจะมี อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ รู้สึกปีที่แล้วของคณะมนุษย์ฯมีการจดสิทธิบัตร 2 สิทธิบัตร อย่างน้อยเราก็คงมี 2 แล้ว หละ ตัวบ่งชี้นี้ของวิจัยยังไม่หมดนะ ของวิจัยนี่ร้อยละของอาจารย์ที่ได้รับทุนไปทำวิจัยหรือนำเสนอผลงานวิจัยที่ต่างประเทศ นี่ก็ทุนทั้ง ก.พ. ทั้ง พ.ก. นะ ส่วนตัวบ่งชี้นี้เป็นทุนวิจัย อันนี้นำเสนอผลงานวิจัย ขอแยกเป็น 2 ประเด็นนะ ได้รับทุนทำวิจัย กับทุนที่นำเสนอผลงาน รวมแล้ววิจัยก็จะมีตัวบ่งชี้ตามนี้นะ อาจารย์ลองดูว่าในคณะของท่านจะ Weight น้ำหนักยังไง แล้วมี Baseline แล้วก็เกณฑ์เป็นอย่างไร เดี๋ยวค่อยพูดถึงรายละเอียดอีกทีนะ
ลองดูประเด็นที่ 3 เรื่องเกี่ยวกับการบริการวิชาการ เค้าดูที่อะไร รู้สึกว่าผมจะพูดรายละเอียดเกินไป แล้วนะ อาจารย์ลองดูตรงนี้ไล่ๆลงมาได้มันจะคล้ายๆของ สมศ. คงเข้าใจแล้วนะ ผมขอข้ามมาเน้นที่ประเด็นที่ 6 ก็แล้วกัน ประเด็นที่ 6 นี่ พอดีอันนี้เป็นของใหม่ที่ กพร. เพิ่งเพิ่มเข้ามาเหมือนกัน ผมเองก็พึ่งทำความเข้าใจนะ ประเด็นที่ 6 นี่ ขอให้คณะเลือกเอาเองนะว่า จะมีดัชนีหรือตัวบ่งชี้อะไรที่มันแสดง Identity ของคณะหรือว่า ภาคภูมิใจอะไร ก็ใส่ไปหรือว่า อาจมีดัชนีเดียวหรือว่า อาจจะมี 2-3 อะไรก็แล้วแต่ก็ใส่ลงไป ของมหาวิทยาลัยนี่ใส่ไปแล้ว 2 ตัวบ่งชี้นะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตที่มันตรงกับความต้องการของประเทศก็คือ ทางกลุ่มวิทย์มากกว่าทางด้านสังคมศาสตร์ ประมาณอัตราส่วน 65 กับ 35 ส่วนอีกอันก็คือในเรื่องการกระจายโอกาสทางการศึกษานะ ให้โอกาสคนในท้องที่โควตานี่ประมาณร้อยละ 70 อันเป็นเอกลักษณ์ของเรา เราใช้ 2 ตัวบ่งชี้ นี้นะ ในระดับมหาวิทยาลัย
โดยสรุปที่กล่าวมาทั้งหมดเมื่อสักครู่เป็นเรื่องของ 25% คือตัวบ่งชี้ที่ 3 ของมิติที่ 1 ตรงเนี้ย ซึ่งอันนี้เป็นการบ้าน การบ้านที่ 1 คืออาจารย์ต้องไปเลือกดูว่า อาจารย์จะไปทางเลือกไหน อาจารย์จะเป็น Research Faculty หรือว่า Teaching Faculty หรือว่า Community Faculty แล้วก็มา Weight น้ำหนักในแต่ละตัวบ่งชี้ ไอ้ตอนที่ Weight น้ำหนัก อาจารย์มีสิทธิ์ เลือกได้นะ
ต่อไปผมขอทวนเอกสารสำคัญ 4 ถึง 6 อีกครั้ง อันนี้คือ 4 ผมแนะนำ 5 นิดนึงนะ และขอกลับมาแนะนำ 6 ก่อน 6 นี่ความจริงของมหาวิทยาลัยมีอยู่แล้วนะ เป็นแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยตามแบบฟอร์มของ กพร. ที่คณะท่านอาจจะต้องกลับไปทำ ทำนองนี้นะ แต่ว่าเป็นของคณะ เช่น ถ้าเป็นของคณะวิทยาศาสตร์ก็คือแผนยุทธศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ลองดูตัวอย่าง ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีงบประมาณ 2548 อาจารย์ลองเปิดเข้าไปจะพบว่ามีเรื่องเกี่ยวกับ Vision, Mission และก็ 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ อาจารย์ขอไฟล์จากคุณเบิร์ดนะ เอาไปแล้วก็ไปค่อยๆปรับก็อาจจะต้องระดมความคิดเห็นกันนิดนึง อาจจะต้องทำ SWOT ข้างหลังเค้าจะมีเรื่องเกี่ยวกับ SWOT Analysis จุดแข็ง จุดอ่อน เป็นยังไง แล้วก็มากำหนดเป็น Vision, Mission แล้วก็ข้างในนี้ก็จะมีพวกตัวบ่งชี้ พวกนี้นี่ในแต่ละคณะก็จะมีคนที่เข้าใจอยู่แล้ว แล้วก็ทำตรงนี้ได้อยู่แล้วนะ เพราะว่าเคยคุยกันแล้ว เอาเป็นว่าต้องทำความเข้าใจเอกสารหมายเลข 3 หมายเลข 4 แล้วก็มาทำหมายเลข 6 แล้วก็มาสรุปด้วยเอกสารหมายเลข 5 คือ คำรับรองปฏิบัติราชการ คือเอาข้อมูลจากเมื่อกี้นี้ทั้งหมดเอามาใส่ไว้ในคำรับรองปฏิบัติราชการ แล้วปลายปีเค้าจะมาประเมินตามนี้ ว่า ทำได้มากน้อย แค่ไหน แล้วก็จะให้ Incentive มาตามที่ทำได้
ขอแนะนำตรงนี้นะ พวกไฟล์พวกนี้อาจารย์ไม่ต้องไปพิมพ์เองนะ ขอจากคุณเบิร์ดมาแล้วก็ปรับให้เป็นของคณะตัวเอง เช่นอาจปรับแก้เป็นคำรับรองระหว่าง อาจจะเป็น ระหว่างท่านคณบดี ตรงนี้อาจจะเป็นท่านอธิการบดีนะ กับ ท่านคณบดี และก็ปรับไปเรื่อยๆนะ จากมหาวิทยาลัยก็อาจจะเปลี่ยนเป็นคณะ เป็นอะไรต่ออะไร ปกติผมจำได้ว่าในแบบฟอร์มมันเคยมีพยานด้วยนะ พยานทำไมไม่มีตรงนี้ เมื่อกี้ที่บอกว่าสรุปมาจาก 3 4 และ6 ในนี้มันก็จะมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ อะไรต่ออะไร อย่างนี้นะ และก็กลยุทธ์อะไรต่ออะไรเนี่ย ในทางปฏิบัติจริงๆนะข้อสังเกตสำคัญคือ ผมว่า ก็คง เหมือนกันทุกที่ ก็คือทั้ง สกอ. ทั้งมหาวิทยาลัยเรา ก็คือไปของบประมาณมาตั้งแต่ก่อนกันยา เค้าทำเรื่องขอล่วงหน้าปีนึงใช่มั้ย แต่ กพร. พึ่งมาทำคำรับรองตอนหลังจากที่ได้เงินมาแล้วนะ ใช้เงินมาแล้วครึ่งปีจึงเหมือนมาทำย้อนหลัง พอทำย้อนหลังแล้วมันยุ่ง ตอนที่เขียนเส้นเมื่อกี้ที่ท่าน อ.โชติชัยนำเสนอพวกข้อมูลอะไรต่ออะไรต่างๆมันเป็นข้อมูลอะไรที่กองแผนเค้าจัดทำไปขอที่สำนักงบฯ ซึ่งเวลาทำงบเค้าต้องขอล่วงหน้าเป็นปี แล้ว กพร.มานี่ ใช้เงินไปแล้วครึ่งปี พึ่งมาพูดว่า เงินจะเอาไปใช้อะไร ผมว่า มันไม่เข้ากันอยู่แล้วตั้งแต่ต้น แต่ก็หวังว่าในรอบปีต่อๆไป มันคงจะค่อยๆ ดีขึ้นนะ
เรื่องสุดท้ายที่จะพูดคุยคือ กำหนดส่งการบ้าน ตรงนี้นี่ความจริงคุณเบิร์ดขอเป็นวันที่ 11 กันยายน แต่ว่าผมดูแล้วมันอาจจะเลื่อนได้ถึงราวๆ 30 อย่างไรก็ดีได้เร็วที่สุดได้เท่าไรก็ยิ่งดี จริงๆ แล้ว Deadline ที่ต้องส่งไป กพร. คือ 15 ที่จะต้องส่งนะ ต้องส่งทั้งปึกทั้งหมดที่ผมบอกเมื่อกี้นี้ ซึ่งแก้กันมา 4-5 รอบแล้ว ในระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะนี่พึ่งทำรอบแรก แล้วก็มาส่งตอนสงกรานต์ แล้วไม่ใช่ส่งเฉพาะแค่นี้นะ ระดับมหาวิทยาลัยต้องส่ง SAR กับ SAR Card ก็คือ รายงานผลประเมินครบรอบ 6 เดือนด้วย แต่ว่าคณะผมคงไม่ขอให้ส่ง เพราะว่า เท่าที่กล่าวมาอย่างเดียวก็ต้องทำความเข้าใจอะไรกันเยอะแล้ว แต่ระดับมหาวิทยาลัยต้องทำทั้ง 2 อย่างภายในวันที่ 15 เนี้ย เพราะฉะนั้นก็กำหนดคร่าวๆว่า ถ้าเกิดเสร็จก่อน 15 ได้เท่าไร ก็เหมือนกับช่วยคุณเบิร์ด ช่วยที่กองแผน คุณเบิร์ดเค้าขอมา 11 แต่ผมดูแล้วกว่าจะกลับไปกันก็เจอวันหยุด ก็ลองกลับไปแล้ว ปรึกษาหารือกัน อยากได้เร็วที่สุดนะ แต่ว่าวันที่ 30 กพร. บอกยังขอเปลี่ยนรายละเอียดได้ เพราะฉะนั้น เมื่อกี้ถามคุณเบิร์ดว่าให้โทร.ไปที่ กพร.ว่า เค้าหักแต้มแล้วรึยัง ตอนนี้รู้สึกจะยังนะ
เอาเป็นว่า ให้ช่วยกันทำตามนี้นะ เดี๋ยวผมสรุปนะ สรุปว่าโจทย์ที่ทำก็คือ อันที่ 1 ทุกคณะไปหาเจ้าภาพหลักว่าในคณะท่านใช้ใครเป็นคนรับผิดชอบ ในการที่จะทำตรงนี้ เพื่อประสานงานกับทางมหาวิทยาลัย แล้วก็ควรจะทำอัน 6 ก่อน เอกสาร 6 ก็คือที่เป็นแผนกลยุทธ์ ขอไฟล์คุณเบิร์ดไปนะ แล้วก็ปรับมา ปกติในมหาวิทยาลัยเราจะใช้คำว่า ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ แต่ กพร.จะใช้ Vision, Mission ขอให้ช่วยกันปรับมาให้เหมือนๆกัน จะได้ไม่ต้องสับสน พอทำอัน 6 แล้วเลือกว่า จะเอาทางเลือกที่ 1 2 3 เมื่อกี้อย่างที่ผมบอกและต่อมาก็มาทำที่เอกสาร 4 คือ 6 ประเด็น รวม 25% ตัวบ่งชี้ที่ 3 ของมิติที่ 1 แล้วก็จัดทำเอกสาร 5 คือ การรับรองปฏิบัติราชการเป็นลำดับสุดท้าย และนี่คือทั้งหมดที่เป็นการบ้าน แล้วถ้าจะให้ดีที่สุดก็ส่งก่อน 11 เมษา ขอบคุณครับ
วิบูลย์ วัฒนาธร
ไม่มีความเห็น