GotoKnow

แนวทางในการให้ User มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ

นางสาว นัยนา จตุรานนท์
เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2548 01:07 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:56 น. ()
การที่ฝ่ายบริหารเล็งเห็นความสำคัญในการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทำให้ระบบ Intouch เป็นเหมือนห้องสมุดที่รวบรวมความรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด รวมทั้งการจูงใจพนักงานโดยการให้รางวัลและการเชิดชูเกียติ ย่อมส่งผลให้พนักงานรู้สึกอยากมีส่วนร่วม ในการพัฒนาระบบ

        ดิฉันมีความรู้สึกว่า ความคิดจะแล่น เมื่อย่างเข้าใกล้เที่ยงคืนค่ะ   ช่วงนี้นอนดึกทุกคืน…แต่บางคืนก็อาจเลยไปใกล้จะเช้าแล้ว  ไปทำงานก็ง่วงเป็นประจำค่ะ  อาศัยกาแฟเข้าช่วยกับบรรยากาศริมทะเลสาปสงขลา  ถ้าวันไหนตื่นเช้าหน่อยก็ได้ชื่นชมความสวยงามของท้องทะเลค่ะ  แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ชื่นชมสักเท่าไร ต้องซิ่งไปทำงานให้ทัน....

          ขอเล่าเรื่องที่ทำงานสักนิดนะคะ ดิฉันเข้าทำงานที่บริษัทแห่งนี้ใกล้จะหนึ่งปีแล้วค่ะ  รู้สึกตื่นเต้นกับระบบการทำงานและ Technology ของที่นี่อยู่เสมอ   อาทิ การประชุมผ่าน Video conference , Lotus Note Sametime  และที่สำคัญบริษัทมีระบบ Intranet ที่linkทุกอย่างเกี่ยวกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการพนักงาน ไปจนถึงงบการเงินบริษัทเลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วระบบต่างๆ ที่บริษัทมีนั้น จะมีฝ่ายที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ดิฉันขอยกตัวอย่างระบบหนึ่งของบริษัท ซึ่งมีชื่อว่า Intouch ค่ะ จะว่าไปแล้ว Intouch ก็เป็นเหมือนชุมชนหนึ่งค่ะ  มีสมาชิก ก็คือ พนักงานบริษัท ทั่วโลก  และมีวิศวกรที่เก่งๆ มารวมตัวกันมีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาที่ User พบ และเขียน Issue ไว้  โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องการซ่อมเครื่องมือที่ใช้ในการขุดเจาะปิโตรเลียม  ซึ่งใครมีปัญหาอะไรก็จะเขียนปัญหาไว้ที่ web แห่งนี้  ซึ่งจริงๆ แล้วผู้มีหน้าที่ในการตอบปัญหาเหล่านั้น ก็คือ วิศวกรประจำ Intouch  แต่บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานคนอื่น  ซึ่งอาจไม่ใช่วิศวกร แต่มีความรู้ความสามารถ สามารถเข้าไปแนะนำใน Issue นั้นได้  และก็จะได้เงินรางวัลด้วย  หากความรู้หรือTechnology นั้นเป็นของใหม่และเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต  ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วได้มีการประกาศ Champion ในการแก้ไข Issue จากทั่วโลก ซึ่งก็เป็นพนักงานช่างเทคนิคคนไทยประจำสงขลานี่เองค่ะ

          ดิฉันคิดว่า Intouch เป็นระบบที่มีประโยชน์มากทีเดียว  หากมีปัญหาอะไรก็สามารถไป search ได้ ซึ่งอาจมีบางปัญหาที่เหมือนกับของเรา  ก็สามารถศึกษาได้เลยค่ะ  ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการลองผิดลองถูกได้ด้วย เหมือนกับเป็นการถ่ายทอด Tacit knowledge อย่างหนึ่งแต่ได้มีการเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ  ซึ่งดิฉันคิดว่า  เป็นการฉลาดมากของฝ่ายบริหารที่เปิดโอกาสให้พนักงานคนอื่นสามารถเสนอ Idea ในการแก้ไข Issue ได้  โดยไม่จำเป็นต้องรอ วิศวกรIntouch  ดังนั้นการที่ฝ่ายบริหารเล็งเห็นความสำคัญในการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทำให้ระบบ Intouch เป็นเหมือนห้องสมุดที่รวบรวมความรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด  รวมทั้งการจูงใจพนักงานโดยการให้รางวัลและการเชิดชูเกียติ  ย่อมส่งผลให้พนักงานรู้สึกอยากมีส่วนร่วม ในการพัฒนาระบบ  ส่วนปัญหาที่พบบ่อยก็คือ  พนักงานบางคนไม่อยากถ่ายทอดประสบการณ์หรือความรู้ของตนเอง เพราะเกรงว่าอาจจะหมดความสำคัญ ผู้บริหารจำเป็นต้องทำการปรับเปลี่ยนทัศนคติเหล่านี้ให้กับพนักงานเสียใหม่ เนื่องจากไม่เป็นผลดีทั้งต่อตัวพนักงานและบริษัท

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย