มหาวิทยาลัยชีวิต 3


สร้างความรู้ใหม่ : หัวใจของมหาวิทยาลัยชีวิต

มหาวิทยาลัยชีวิต 3

เขียนโดย รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ

 

สร้างความรู้ใหม่ : หัวใจของมหาวิทยาลัยชีวิต

ความรู้ที่ผู้คนสร้างเองเป็นความรู้มือหนึ่ง”  ส่วนความรู้ที่อยู่ในตำราเป็นความรู้มือสองปัญหาการศึกษาบ้านเราวันนี้ คือเรามีแต่ความรู้มือสอง ซึ่งมาจากการเรียนหนังสือการท่องหนังสือเรายังไม่ปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการเรียนรู้เราคิดว่าความรู้มีอยู่แล้ว ความจริงมีอยู่แล้ว เราเพียงแต่ไปท่องไปจำเอาความรู้นั้นและนำไปใช้เท่านั้น

นี่เป็นวิธีคิดแบบเส้นตรง” (linear) ที่มองการศึกษาแบบง่ายเกินไป (over-simplify) เหมือนสูตรคูณ “2x2=4” การศึกษาแบบสูตรคูณนำไปใช้ในชีวิตจริงๆ ไม่ได้ เพราะชีวิตไม่ได้เรียบง่ายและเป็นสูตรสำเร็จแบบสูตรคูณ แต่มีความซับซ้อน ต้องคิดหลายขั้นหลายตลบ ต้องแยกต้องโยงเป็นถึงจะอยู่รอดได้ 

การศึกษาแบบเก่าจึงแก้ปัญหาสังคมไม่ได้ เพราะปัญหาแต่ละอย่างมีความสลับซับซ้อน ต้องใช้ความรู้ใช้ปัญญาในการพิจารณาทั้งภาพรวมและภาพย่อย ไม่มีสูตรสำเร็จ เราจึงมักแก้กันด้วยอำนาจและเงิน ซึ่งเป็นเพียงยาแก้ปวดปัญหาส่วนใหญ่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยคำสั่งและงบประมาณต้องใช้การศึกษา และต้องเป็นการศึกษาที่ดี  ที่ไม่ใช่การศึกษาแบบเก่า

การศึกษาแบบเก่าเรียนรู้แบบท่องจำทำให้คนคิดไม่เป็น เชื่อมโยงไม่เป็น คิดเป็นระบบไม่ได้ การศึกษาแบบนี้ทำให้คนว่านอนสอนง่าย อยู่ในระบบอุปถัมภ์ ถูกครอบงำ ไม่ตั้งคำถาม ไม่เถียง วิพากษ์ไม่วิจารณ์ไม่เป็น เพราะไม่เคยเรียนเรื่องการตั้งคำถาม ไม่เคยเรียนเรื่องการสร้างความรู้ใหม่ มีปัญหาจึงแก้ไขไม่ได้ ไม่ใช้เหตุผล ไม่ใช้ความรู้ ไม่ใช้ปัญญา แต่ใช้ความรุนแรง 

การเรียนรู้ใหม่ : กระบวนทัศน์การศึกษาใหม่   
      
การเรียนรู้ที่สร้างพลังการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการจัดระบบการศึกษาซึ่งมีกระบวนทัศน์ใหม่ กระบวนทัศน์หมายถึงวิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกความเป็นจริงแบบหนึ่ง  ซึ่งที่เขียนไว้บ้างบนก่อนหน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยชีวิต” 
        
สรุปโดยรวม ฐานคิดหรือปรัชญาของมหาวิทยาลัยชีวิตเป็นดังนี้

ก.
     คนไม่ได้เกิดมาโง่ จน เจ็บแต่ถูกทำให้โง่ จน เจ็บ และถูกครอบงำทำให้เชื่อสนิท  ว่าเป็นเช่นนั้นจริง (hegemony) แท้ที่จริง คนขาดโอกาสการเรียนรู้ โอกาสการพัฒนา สังคมไม่ให้ความเป็นธรรม ไม่ให้ความเสมอภาค ถ้ามีโอกาส คนจำนวนมากจะพัฒนาตนเองและมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อชุมชนท้องถิ่นและสังคม

ข.
     ไม่มีใครรู้ทุกอย่าง และไม่มีใครไม่รู้อะไรเลย มีแต่คนที่รู้บางอย่างและไม่รู้บางอย่าง” (เปาโล แฟรร์) มหาวิทยาลัยชีวิตเชื่อว่า ทุกคนมีประสบการณ์ มีความรู้อยู่ในตัว ถ้าหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น มีการจัดการความรู้อย่างมีหลักมีเกณฑ์ มีหลักวิชาประกอบก็จะกลายเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่า  มหาวิทยาลัยชีวิตจึงเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นการจัดการความรู้ ไม่ใช่การถ่ายทอดวิชาความรู้ และเคารพให้เกียรตินักศึกษาทุกคนในฐานะผู้รู้” (บางเรื่อง) ที่ต้องการเรียนรู้และพัฒนาตนเองร่วมกับอาจารย์และคนอื่นๆ

ค.
     การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งเกิดมาจากข้างในแต่ละคน เกิดจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เอาความรู้มือสองจากตำรา จากอาจารย์ จากเพื่อนมาประกอบกับข้อมูลดิบหรือข้อมูลมือสองที่ได้จากการรวบรวมเพื่อสร้างความรู้มือหนึ่งซึ่งมีพลังสูงมากในการเปลี่ยนแปลงผู้คนและสังคม

ง.
      มหาวิทยาลัยชีวิตเน้นการเรียนรู้จักตนเองของผู้เรียน การค้นหารากเหง้าของตนเอง ของชุมชน สืบค้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทำให้เกิดสำนึก เกิดความภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิด ภูมิปัญญาของปู่ย่าตายายบรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าคนไม่มีอดีตเป็นคนไม่มีอนาคต คนไม่รู้ว่าตัวเองมาจากไหนก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะไปไหน คนไม่มีรากเหง้าจะถูกเขาครอบงำและกำหนดอนาคตให้หมดเลย

จ.
     การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยชีวิตเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เอาชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานและเป็นทุน ไม่แยกการศึกษาและการพัฒนาออกจากกัน เรียนไปด้วยปฏิบัติไปด้วย เรียนแล้วชุมชนที่ขาดแคลนข้าวก็มีข้าวกิน มีหนี้สินก็มีทางออก มีปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ร่วมกันแก้ไข ช่วยกันสร้างเสริมสุขภาวะ มีกองทุนมีสวัสดิการ มีความมั่นคงในอาชีพการงาน เรียนแล้วทำให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินในท้องถิ่นของตนเอง

ฉ.
     มหาวิทยาลัยชีวิตสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ใหม่เพื่อให้การเรียนรู้เหมาะกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ซึ่งเป็นการค้นหาตนเอง ค้นหาศักยภาพ ค้นหาทุน ค้นหาปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของตนเองและของท้องถิ่น และนำไปสู่การพัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเองของนักศึกษาและของชุมชน การเรียนรู้แบบนี้ทำให้นักศึกษาเรียนแล้วช่วยตัวเองได้ ช่วยคนอื่นได้ไม่มีงานก็คิดงานใหม่ได้ ไม่ใช่นั่งรอให้คนมาจ้างอย่างเดียว

ช.
     การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยชีวิตทำให้คนรู้จักตนเอง รู้จักชุมชนท้องถิ่น และรู้จักโลกเปิดโลกทรรศน์ของตนเองให้กว้างไกล เชื่อมโยงกับโลกในยุคโลกาภิวัตน์ที่ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงในชุมชนเป็นผลที่มาจากการเปลี่ยนแปลงในโลกอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสามารถอยู่รอดและมีศักดิ์ศรีในโลกที่ไร้พรมแดนนี้

หมายเลขบันทึก: 263542เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2009 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาอ่านประดับปัญญาอันน้อยนิดของ "หญิง" คะ

ได้ความรู้ ขอบคุณมากคะ

 

 

ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน  หวังให้หลายคนได้เข้ามาอ่าน เพราะนี้เป็นการจัดการศึกษาแนวทางใหม่ เพื่อสังคม และท้องถิ่นที่น่าอยู่ของไทยเราต่อไปครับ

เกิดหรือยัง..มหาวิทยาลัยชีวิตนี้จะมีโอกาศจะได้เห็นไหมในชีวตนี้...เป็นเพียงทฤษฎีหรือความฝันเท่านั้นหรือเปล่า

ขอบคุณครับที่ถาม .... เพราะว่า เป็นคำถามสำคัญ มาก ณ ปัจจุบัน สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน อาจจะยังไม่ได้รับการอนุมัติจาก สกอ. เพราะต้องมีสิ่งปลูกสร้าง เกินกว่าร้อยละ ๘๐ ของสิ่งปลูกสร้างที่มีครับ.....

แต่ถ้าถามว่า การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบบผู้ใหญ่เรียนนี้ เกิดหรือยัง? ตอบได้ว่า ต่างประเทศเขามีมาหลายสิบปีแล้วครับ...

เมืองไทย เป็นประเทศที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบบนี้ เมื่อไม่นานนี้เองครับ โดยใช้ชื่อว่า "โครงการ มหาวิทยาลัยชีวิต" เป็นคำเรียกของนักศึกษา และกลุ่มอาจารย์ที่จัดการเรียนการสอน ตามศูนย์เรียนรู้ ที่เขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎ เช่น สุรินทร์ ,ชัยภูมิ,พระนคร เป็นต้น....

นักศึกษาเรียนจบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคุณ ประไพ ยงเพชร ที่กล่าวไว้ ในบันทึกแรก ๆ และจะมีอีกต่อไปครับ

ส่วนภาพ ดูเอาข้างล่างครับ......

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท