สำนึกฮักแผ่นดินถิ่นเกิด...จิตวิญญาณฮักเมืองน่าน


"ฮัก" มาจากคำว่า "รัก" เป็นความรักที่เกิดจากความเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา

เมื่อราวปี ๒๕๑๘ กลุ่มคนบ้านหลวงลุกขึ้นมาปกป้องผืนป่าจากการเข้ามาสัมปทานป่าของนายทุนและรัฐ และร่วมกันดูแลอนุรักษ์ป่าไว้ในนาม “กลุ่มบ้านหลวงหวงป่า” จนสามารถรักษาผืนป่าบ้านหลวงไว้จวบจนทุกวันนี้

และในปี๒๕๑๙ เกิดความแห้งแล้งอย่างมาก ชาวตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จึงได้ร่วมกันดูแลปกป้องผืนป่าจากการบุกรุกเข้าไปทำไร่ของชาวบ้านและคนพื้นที่สูง จนสามารถปกป้องผืนป่าไว้ได้กว่าสามหมื่นหกพันไร่ เกิดกลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์ป่าชุมชนในชื่อว่า “กลุ่มอนุรักษ์ป่าศิลาแลง” สืบต่อมา

ในขณะที่ชาวบ้านหลายๆ กลุ่ม หลายพื้นที่ก็ได้มีการดูแลป่าใช้สอยของชุมชนไว้เป็นป่าอนุรักษ์ เช่น กลุ่มขุนสมุนขุนสะเนียน เป็นต้น

          พระปลัดสงวน จารุวัณโณ (พระครูพิทักษ์นันทคุณ) ได้มีความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เด็กเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ได้มีโอกาสเข้ารับอบรมพระธรรมทายาทที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เมื่อปี ๒๕๒๖ ทำให้ได้รับประสบการณ์ต่างๆ ทั้งจากวิทยากรและจากการไปดูงานอนุรักษ์ป่าและน้ำของพระนักอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงเช่นหลวงพ่อประจักษ์ที่จังหวัดบุรีรัมย์พระครูมนัสนทีพิทักษ์ที่จังหวัดพะเยาและได้นำสิ่งดีดีที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่จังหวัดน่าน ได้รวมกลุ่มพระภิกษุสามเณรจัดตั้งกลุ่มพระธรรมทายาทขึ้น เพื่อร่วมกันออกไปทำงานเผยแผ่ธรรมะและให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ป่าแก่ชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ โดยมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานพระธรรมทายาทประจำจังหวัดน่านขึ้นที่วัดอรัญญาวาส และรวมทั้งมีการเพาะกล้าไม้ขึ้นในวัดเพื่อแจกให้ชาวบ้านนำไปปลูกในพื้นที่ป่าชุมชนของตนเอง

 พระครูพิทักษ์นันทคุณ(ซ้าย) พระปลัดสามารถ ถาวะโร(ขวา)

         

การออกไปเผยแผ่ธรรมะในพื้นที่ต่างๆ ทำให้มีโอกาสพบปะผู้คนในพื้นที่ต่างๆ ทั้งชนพื้นราบและชนพื้นเมือง ได้เห็นตัวอย่างดีดีของคนในท้องถิ่นต่างๆ ที่ช่วยกันดูแลป่า ดูแลแม่น้ำ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น รวมถึงกลุ่มบ้านหลวงหวงป่า กลุ่มศิลาแลง กลุ่มอนุรักษ์ปาบ้านดอนแก้ว และกลุ่มลูกหลานชาวบ้านที่ทำงานร่วมกับองค์การออคเคนเดนเวนเจอร์(TheOckenden Venture)ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนจากประเทศอังกฤษที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ในจังหวัดน่านเช่นการป้องกันยาเสพติดการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์การจัดทำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กการส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้านและการทำเกษตรบนพื้นที่สูง

นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร และคุณสำรวย ผัดผล

 

  เมื่อความคิดในการที่จะช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ให้ลูกหลานคนเมืองน่านได้ตกผลึกในกลุ่มแกนนำต่างๆ ที่จะร่วมกันฟื้นฟูจิตสำนึกของชาวบ้านและฟื้นฟูสภาพป่า ด้วยการใช้กุศโลบาย“การบวชป่า”โดยเริ่มต้นที่บ้านเกิดของท่านเองเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดี พระปลัดสงวนจารุวัณโณคณะพระธรรมทายาทและกลุ่มผู้ที่ทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มชาวบ้าน จึงได้ร่วมกันจัดพิธีบวชป่าขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดน่านบ้านกิ่วม่วงอำเภอสันติสุขในเดือนพฤษภาคม.ศ.๒๕๓๓ รวมทั้งได้เชิญชวนกลุ่มบ้านหลวงหวงป่ากลุ่มอนุรักษ์ป่าศิลาแลง และกลุ่มขุนสมุนขุนสะเนียน มาร่วมงานบวชป่าครั้งนี้ด้วย

ในปลายปีนี้เองกลุ่มต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันในการบวชป่าได้มีการจัด“เวทีชาวบ้าน”ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดน่าน(กศน.) โดยมีการเชิญพระสงฆ์ตัวแทนชาวบ้านและหน่วยงานราชการที่สนใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติมาเข้าร่วมประชุม ซึ่งในเวทีแห่งนี้เองที่คำว่า“ฮักเมืองน่าน” ได้ปรากฏขึ้น โดยการเสนอของชาวบ้าน และที่ประชุมจึงได้เลือกให้พระปลัดสงวนจารุวัณโณเป็นประธานกลุ่ม และเลือกนายสำรวยผัดผลเป็นเลขานุการกลุ่ม กลุ่มฮักเมืองน่านจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในจังหวัดน่านจากเวทีชาวบ้านแห่งนี้เอง

          หลังจากนั้นกลุ่มฮักเมืองน่านก็ได้ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบวชป่าแห่งอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดน่าน

 

 

 

“ฮักเมืองน่าน เริ่มต้นจากเจตจำนงของคนเมืองน่าน ที่จะทำงานแทนคุณแผ่นดินถิ่นเกิด โดยมุ่งหมายพัฒนาความสามารถของคนเมืองน่านในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปลุกสร้างสำนึกในฐานะคนต้นน้ำให้มีความสำคัญต่อเส้นชีวิตของประเทศไทย ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องดูแลรักษาต้นน้ำ โดยใช้ภูมิปัญญาการจัดการท้องถิ่น การประสานพลังวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน”

พระครูพิทักษ์นันทคุณ

 

    และในปี ๒๕๓๕ พระปลัดสงวนจารุวัณโณได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ให้เป็น “พระครูพิทักษ์นันทคุณ” กลุ่มฮักเมืองน่านและลูกศิษย์ลูกหาจึงมีแนวคิดที่จะจัดงานฉลองพัดยศ โดยจะถือโอกาสนี้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเมืองน่าน ประกอบกับในช่วงเวลานั้นแม่น้ำน่านเกิดการปนเปื้อนและตกค้างของสารเคมี และขยะมูลฝอยต่างๆ เป็นจำนวนมากจนเข้าขั้นวิกฤต จึงได้วางแผนที่จะจัดงานฉลองพัดยศไปพร้อมกับการจัด“พิธีสืบชะตาแม่น้ำน่าน”เพื่อเป็นการต่ออายุให้กับแม่น้ำน่าน พระครูพิทักษ์นันทคุณได้ร่วมกับพ่อทองผล  มหาวงศนันท์ และนักศึกษา ร่วมกันเก็บข้อมูลเกี่ยวกับขยะ สารพิษ และการดูแลแม่น้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำน่านจนถึงปลายทางที่ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้ได้พบสิ่งดีดีที่ชุมชนได้ร่วมกันดูแลแม่น้ำหลายพื้นที่ และในปี ๒๕๓๖ จึงได้จัดพิธีสืบชะตาแม่น่านขึ้นที่ริมแม่น้ำน่านบริเวณหน้าค่ายสุริยพงศ์อำเภอเมืองน่าน ซึ่งงานครั้งนั้นได้มีผู้สนใจเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมากและสามารถรวบรวมเงินบริจาคจากการจัดกองผ้าป่าได้ราว80,000บาท และได้นำไปเป็นกองทุน“เพื่อก่อตั้งมูลนิธิฮักเมืองน่าน” และได้ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นหลากหลายรูปแบบ  โดยการสนับสนุนขององค์กรระหว่างประเทศ และมีอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาร่วมทำงานด้วยเป็นจำนวนมาก

หลังจากนั้นงานของฮักเมืองน่านได้มีการเชื่อมและขยายเครือข่ายการทำงานในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง และชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการทำงานมากขึ้น เกิดการทำงานในรูปแบบประชาคม เกิดกลุ่มตัว “ฮ” (กลุ่มฮักอำเภอท้องถิ่น) เช่น กลุ่มฮักบ้าน ฮักนาน้อย ฮักเมืองปอน รักษ์สันติสุข ฮักบ้าน ฮักถิ่นฮักไทย ฯลฯ และในปี ๒๕๓๗ ได้ร่วมกันคนเมืองน่านและส่วนราชการต่างๆ รณรงค์เพื่อให้จังหวัดน่านมีมหาวิทยาลัย จนภายหลังได้มีการจัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่านขึ้นในปี ๒๕๓๙เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชาคมในระดับอำเภอ ตำบล รวมทั้งการศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาประชาสังคม เป็นโอกาสในการทำงานร่วมกับข้าราชการท้องถิ่นและกลุ่มคนต่างๆ ในเมืองมากขึ้น ทำให้กลุ่มฮักเมืองน่านเป็นที่รู้กันกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

          ในปี ๒๕๔๑กลุ่มฮักเมืองน่านได้ระดมทุนเพียงพอจึงได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็น“มูลนิธิฮักเมืองน่าน” และยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตรผสมผสาน การออมทรัพย์เอดส์ ยาเสพติด เยาวชน สื่อ ศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ อย่างหลากหลาย

 

ไม่แยกคนออกจากป่า

ไม่แยกปลาออกจากน้ำ

ไม่แยกพืชออกจากการเกษตร

“เราจะไม่แยกคนออกจากป่า เราจะให้คนอาศัยป่า พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน...นอกจากการอนุรักษืป่าแล้ว ยังมีการอนุรักษ์แม่น้ำ......พยายามให้วัดต่างๆ ที่อยู่ติดกับแม่น้ำและชุมชนที่อาศัยลำน้ำอยู่ พยายามตั้งกลุ่มองค์กรตัวเองขึ้นมาอนุรักษ์พันธุ์ปลาเป็นจุดๆ ไป ...พยายามให้ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แม่น้ำน่านของเรา ปลาของเรา ใครจะทำลายไม่ได้ อันนี้เป็นพลังที่จะช่วยดูแลรักษาแม่น้ำน่าน.....พยายามไม่แยกปลาออกจากน้ำ  .....อีกงานหนึ่งที่ทำคือ ไม่แยกพืชออกจากการเกษตร คือ ไม่พยายามเอาพันธุ์ใหม่ไปยัดเยียดให้ชาวบ้าน ไม่พยายามเอาปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือ ยา หรือสารเคมีต่างๆ ไปแนะนำให้ชาวบ้านทำ....แต่พยายามให้ใช้ที่ผลิตเองขึ้นมาในไร่สวนของเขาเอง  แม้แต่พืชผักพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก คือ ใช้พืชธรรมชาติพืชดั้งเดิมที่ชาวบ้านเขามีอยู่แล้ว” 

พระครูพิทักษ์นันทคุณ

 

 

          “ฮักเมืองน่าน” ในวันนี้ จึงมิเพียงเป็นมูลนิธิฯ หากแต่เป็นกระบวนการของคนเมืองน่าน ที่จะช่วยกันดูแลปกป้องและพัฒนาผืนแผ่นดินถิ่นเกิด

          ฮักเมืองน่าน คือกลุ่มคนที่รักและปรารถนาดีต่อเมืองน่าน

          ฮักเมืองน่าน คือกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิด

          ฮักเมืองน่าน คือ เวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          ฮักเมืองน่าน คือ ศูนย์ประสานการเรียนรู้ของคนเมืองน่าน

          ฮักเมืองน่าน คือ ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน

          ฮักเมืองน่าน คือ ที่พักพิงกายและใจ

          ฮักเมืองน่าน คือ ที่เป็น และไม่เป็นอะไรอีกหลายอย่าง

          สุดท้าย ฮักเมืองน่าน คือ ความว่างเปล่า (สุญญตา)

 

ปรัชญาฮักเมืองน่าน 

สัญลักษณ์ “ฮักเมืองน่าน” คือ ตะแหล๋ว ห้าแฉก มีอักษร “ฮ” อยู่ตรงกลาง

อักษร ฮ.ในรูปห้าเหลี่ยมสื่อความหมายว่า เป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายในภาษาไทย แสดงความเป็นเอกลักษณ์ด้านภาษา นอกจากนี้ยังเน้นความเป็นที่สุด การให้ความร่วมมือกันทำงานอย่างเสมอภาคในการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในลักษณะเบญจภาคี

 “ฮ” มาจากคำว่า “ฮัก” เป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า “รัก” เป็นความรักแผ่นดินถิ่นเกิด รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม รวมทั้งความรักผูกพันกันของคนที่หลากหลาย แม้จะอยู่ต่างชนเผ่าและต่างเชื้อชาติ แต่มีหัวใจเดียวกันคือความรักและศรัทธาต่อสิ่งแวดล้อม ต่อถิ่นฐานบ้านเกิด

เป็นความรักที่เกิดจากความเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา

เมตตา คือ ความปรารถนาให้ผู้คนในท้องถิ่นมีความสุข

กรุณา คือ ความปรารถนาที่จะให้ผู้คนในท้องถิ่นพ้นจากความทุกข์ยากลำบาก

มุฑิตา คือ ความชื่นชมยินดีต่อการกระทำความดีเพื่อถิ่นฐานบ้านเกิด

อุเบกขา คือ การปล่อยวางไว้ซึ่งความเป็นตัวตน อัตตา หรือความเป็นเจ้าของ

กรอบรูปห้าเหลี่ยม หมายถึง กรอบของศีลธรรมอันดีงามและกรอบกติกาที่จะใช้ยึดโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ กรอบห้าด้านที่เท่ากัน หมายถึง ความเสมอภาคระหว่างคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา

ขีดเส้นลากจากมุมของกรอบ หมายถึง เส้นสายแห่งความสัมพันธ์ที่จะยึดโยงเอาผู้คน กลุ่มคน องค์กร และภาคีการทำงานต่างๆ เข้าเป็นเครือข่าย พร้อมที่จะถักทอและขยายความสัมพันธ์กันออกไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

นอกจากนี้ตัวกรอบห้าเหลี่ยมและเส้นที่ขีดออกจากมุมนั้น เป็นสัญลักษณ์ของ “ตะแหล๋ว”

          ตะแหล๋ว แสดงถึงความเป็นศิริมงคลของชีวิต และเป็นสัญลักษณ์แห่งการเคารพและศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อผืนดิน ผืนป่า สายน้ำ บรรพบุรุษ และอำนาจเหนือธรรมชาติ

          ไม้ไผ่ที่สานกันเป็นตัวตะแหล๋วห้าแฉก หมายถึง การสานกันเป็นเครือข่าย ผสานกันเป็นหนึ่งเดียว

          ห้าแฉก หมายถึง พละทั้ง ๕ อันหมายถึง ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา

          ห้าแฉก หมายถึง ศีล ๕ อันเป็นข้อที่พึงปฏิบัติร่วมกัน

          “ฮักเมืองน่าน” จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ท่ามกลางความงามของธรรมชาติและจิตใจของผู้คน

          ธรรมชาติ พืชพันธุ์ และชีวิตคือสิ่งเดียวกัน มีเรา มีฮักเมืองน่าน มีธรรมชาติ มีชีวิต แต่มองให้ลึกซึ้ง ในการดำรงอยู่นั้นไม่มีทั้งเรา ไม่มีฮักเมืองน่าน ไม่มีธรรมชาติ ไม่มีชีวิต หากมีแต่ความว่างเปล่า

...........................................

ขอบคุณการเอื้อเฟื้อภาพดีดี

นพ.ชาตรี เจริญศิริ

คุณวุฒิกร พุทธิกุล

และกัลยาณมิตรเครือข่ายฮักเมืองน่าน

หมายเลขบันทึก: 263539เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2009 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นภาพ  นี้ชอบจังเลย  เจ้า   เพื่อน พี่ สอนที่ นารีรัตน์ แพร่  ทำหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องฟ้อนแง๊น เจ้า

  • copy  ที่ไปแสดงความคิดเห็น วันนี้ ที่บันทึกเมื่อต้องเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว  มา ค่ะ

P

7. ครูใหม่ บ้านน้ำจุน
เมื่อ อ. 26 พฤษภาคม 2552 @ 12:43
1310604 [ลบ] [แจ้งลบ]

  • สวัสดี เจ้า พ่อน้องซอม เข้าใจว่านี่คือ บันทึก ล่าสุด  ที่เพิ่ม  เลี้ยงเดี่ยวครั้งที่ 2 
  • คำถามแรกที่พี่จะตอบ  คือ  เรื่อง  น้องพอ  เรียน ชั้นป .1  เด็กหญิงศรุดา  มีชื่อ อยู่ในชั้นอนุบาล 2 ( น่าจะเท่ากับ อนุบาล 3 ของน้องซอมพอ )แต่เจ้าตัวมาเรียน ร่วมกับ ป.1 ซึ่งปีนี้ น้องพอ อยู่ ป.1 มาเป็นปีที่ 2 แล้ว นะคะ
  • เพราะคุณครูประจำชั้นของน้องพอ  คือ  คุณแม่ใหม่  เอง  เจ้า
  • พี่ไม่ได้ เคี่ยวเข็ญ บังคับลูก ให้เรียนชั้น ป.1  เน้อเจ้า 
  • และ ปีหน้า น้องพอ   ก็อยู่ ชั้น ป.1  จริงๆ เสียที  คราวนี้ น้องพอ  จะเข้าเรียนที่ โรงเรียนอนุบาลพะเยา  ค่ะ
  • ปัญหามีอยู่ว่า  น้องพอ  ไม่ค่อยชอบที่จะทำกิจกรรม  ของ เด็กอนุบาล   เช่น การลากเส้นตามรอย   จับคู่    เป็นต้น
  • เพราะสาวน้อยของพี่   ตอนนี้ ไม่ฟังนิทานที่พี่เล่า แล้วนะคะ  น้องพอ   อ่านหนังสือได้  คล่อง  แบบไม่ต้องสะกด แล้ว  (คุณตา  บอกว่า   อ่านได้  ยังกะ  คน  แต๊ ๆ   5555)  ด้วยความที่  มานั่งเรียน  ป.1 ปีที่ แล้ว  ทำให้น้องพอ  เป็นนักอ่าน  ตัวน้อย ไปแล้ว  นะคะ  ส่วน คำยาก  น้องพอ  ใช้ วิธี เดา  ก่อน แล้วมาถาม ทีหลังค่ะ
  • นอกจากการอ่าน  น้องพอ  เขียนได้ดี  แต่งประโยค เก่งทีเดียว  คิดคำนวณใช้ได้
  • ปัญหาที่ตามมา  คือ  น้องพอ  ไม่ชอบอยู่กับ   น้องอนุบาล  ที่มีอายุ  เท่าตัวเอง 
  • อีกปัญหาคือ  น้องพอ  ขอซื้อหนังสือ  อาทิตย์ละเล่ม เลยทีเดียว  ( เปลืองตังค์  แต่ยอม เพื่อ ลูก )  พี่ก็เลย  พาเข้าห้องสมุด บ้าง แต่ไม่บ่อย นัก ค่ะ
  • ผลงาน น้องพอ  เดือน กันยายน 2551 เจ้า

ยาว วววว จัง   หายกันไปนาน เลยนะคะ

  • เก่งจังเลยครับน้องพอ
  • น้องซอมพอก็ชอบทำการบ้าน วาดรูป และเต้นรำที่สุด
  • ก็เรื่องสนุกๆ จากโรงเรียนมาเล่าให้ฟังทุกวัน

เห็นรูปแล้วทำให้จิตวิญญานในการทำงานอย่างจริงจังก็กลับมา

เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ ฮักเมืองน่าน

ภาคภูมิใจในเมืองน่านครับ ^^

คนละไม้คนละมือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท