โครงการหนังสือเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ


รูปแบบการจัดการกับหนังสือเรียนตามโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพของโรงเรียนร่องคำ

เริ่มตั้งแต่

1. การให้ร้านหนังสือต่างๆ มานำเสนอหนังสือ

2. ให้ครูผู้สอนแต่ละวิชาคัดเลือกหนังสือของสำนักพิมพ์ต่าง ๆให้เนื้อหาตรงกับหลักสูตรที่สุด

3. ครูเสนอรายชื่อหนังสือที่ได้แก่หัวหน้ากลุ่มสาระ

4. ให้กรรมการ ภาคี 4 ฝ่ายรับทราบและลงมติเห็นชอบตามรายชื่อหนังสือที่เสนอ

5. ตั้งคณะกรรมการคัดเลือกหนังสืออีกครั้งเพราะที่คัดเลือกไว้เกินงบ(ประกอบด้วยหัวหน้ากลุ่มสาระและหัวหน้างาน) หนังสือที่อยู่ในงบเรียนฟรีต้องเลือกหนังสือที่เป็นวิชาพื้นฐานก่อนเป็นสำคัญ

6. สั่งซื้อหนังสือกับร้านหนังสือ

หนังสือวิชาอื่น ๆที่เป็นสาระเพิ่มเติมที่ไม่ได้อยู่ในโครงการจะทำอย่างไร 

ปัญหาที่ตามมา คือ

1. รัฐห้ามโรงเรียนบังคับการจำหน่ายหนังสือเรียน  หากจะซื้อต้องโดยสมัครใจของผู้เรียนเอง ไม่เข้าใจถ้านักเรียนไม่มีหนังสือเรียนจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

2. หากครูจะทำเอกสารประกอบการสอนก็ห้ามบังคับขายเด็กอีก เหตุผลข้อนี้พอจะรับฟังได้ เพราะรัฐคงกลัวปัญหาการบังคับขายเอกสารประกอบการเรียนของครูที่ทำธุรกิจกับการศึกษา  แต่มองอีกแง่หนึ่งก็สงสารครูผู้สอนที่ตั้งใจทำสื่อเพื่อการสอนจริงๆโดยไม่ได้หวังค่าตอบแทนหากต้องการใช้เพื่อการเรียนการสอนจริงๆ

3. หนังสือที่อยู่ในโครงการ โรงเรียนจัดให้เป็นหนังสือยืมเรียนมีเงื่อนไขแยอะแยะ เช่น ห้ามขีดเขียน ทำลายให้เกิดความเสียหาย เมื่อสิ้นสุดการเรียนต้องส่งคืน  นักเรียนหลายคนไม่ชอบ  เพราะการเรียนบางครั้งจำเป็นต้องโน้ตย่อลงหนังสือเลยไปจัดซื้อหนังสือเองดีกว่า

4. ขั้นตอนการรับหนังสือโครงการเรียนฟรี 15 ปี

    -  พัสดุ รับหนังสือจากร้านหนังสือ ส่งต่อให้ห้องสมุด

    -  ห้องสมุดแจ้งให้ครูกลุ่มสาระทราบว่าหนังสือเล่มใดมาแล้ว

    -  ครูกลุ่มสาระรับหนังสือไปประทับตรา ลงทะเบียนหนังสือ

    -  ทำทะเบียนการยืมหนังสือของนักเรียน จัดทำสำเนาส่งห้องสมุดอีกรอบ

    -  นอกจากนั้นนักเรียนต้องทำสัญญาการยืมหนังสือกับห้องสมุดโดยให้ผู้ปกครองรับรองการยืมและสัญญาว่าจะส่งคืนเมื่อสิ้นสุดการเรียน

   ในฐานะ

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือเรียน
หมายเลขบันทึก: 263538เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2009 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นกำลังใจให้คุณครูนะค่ะ...วันนี้ฟังข่าว...แหล่งข่าวระบุว่า รมว.บอกว่า นักเรียนสามารถเขียนลงในหนังสือได้...และกรณีหนังสือหายต้องไม่ลงโทษนักเรียน....เป็นนโยบายที่ดีและจริงใจที่สุดค่ะ..ในความเห็นของตนเอง

ขอบคุณสำหรับ กำลังใจที่ส่งมา ดู Tv เหมือนกันบอกว่าให้เขียนได้แล้ว

เชื่อว่า.. เด็กหลายคนที่ลังเลไม่อยากยืมหนังสือ เพราะกลัวอดใจที่จะเขียนไม่ได้

คงอยากได้หนังสือขึ้นมาบ้าง

เป็นกำลังใจให้คุณนะ

ผมก็บอกให้นักเรียนสามารถขีดเขียนได้แล้วนะครับ แต่ขอให้ใช้ดินสอขีดเขียนในหนังสือ เพื่อสะดวกในการลบออกได้ง่าย แต่ถ้าเป็นแบบฝึกหัดก็ให้เด็กใช้ปากกาได้เลย เพราะแบบฝึกหัดใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้นะครับ

หายเป็นทุกข์กับหนังสือยืมเรียน..นักเรียนจะได้ขีดเขียนข้อความสำคัญกับดินสอ ได้อ่านเรียนอย่างตั้งใจ

เขียนลงในหนังสือยืมเรียนได้ด้วยเหรอครับ

ทำไมทางโรงเรียนของผมเขาไม่อนุญาติให้เขียดละครับ

และเขาบอกว่าถ้าขีดเขียนลงบนหนังสือจะต้องสือหนังสือเล่มใหม่คืนให้กับรัฐบาล

หรือไม่ก็คืนเงินแล้วทางโรงเรียนจะไปซื้อใหม่ให้กับรัฐ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท