สอนภาษาไทยตามวิธีวิทยาศาสตร์


แต่ที่ครูต้องการทราบก็คือเธอรู้ เธอสังเกตได้อย่างไร เธอมีวิธีการอธิบายเพื่อนที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ ได้อย่างไร

              หลังจากที่ครูภาทิพได้ประเมินผลก่อนเรียน  และได้ทราบผลแล้วว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานในระดับไหน  นักเรียนยังขาดความรู้ในเรื่องใด   นักเรียนควรจะมีความรู้ในเรื่องใดบ้าง  ก็จัดกลุ่มประเด็นความรู้ที่เขาควรจะรู้ เช่น

                   ๑. วรรณกรรม  วรรณคดี

                   ๒. ร้อยแก้ว  ร้อยกรอง

                   ๓. สารคดี  บันเทิงคดี  บทความ

                   ๔. สัมผัสนอก  สัมผัสใน  สัมผัสสระ  สัมผัสอักษร

                  ๕. ฉันทลักษณ์

                  ๖. คำเป็นคำตาย

                 ๗. อักษรนำอักษรควบ

                ๘. กลอนสุภาพ  กาพย์ยานี๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖  กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘  โคลงสี่สุภาพ

                ๙. คำเอก  คำโท   เอกโทษ  โทโทษ

                ๑๐. วรรณยุกต์

 

             ครูเขียนประเด็นทั้งหมดนี้บนกระดาน   แล้วให้นักเรียนที่รู้หรือเข้าใจยกมืออธิบายก่อน แล้วครูจึงจะอธิบายเพิ่มเติม  หากประเด็นใดที่ไม่มีใครอธิบายได้  ครูก็อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง   จากนั้นให้นักเรียนสรุปบันทึกตามความเข้าใจของตนเอง

กิจกรรมคิดวิเคราะห์

            จากการประเมินความรู้เรื่องเสียงวรรณยุกต์  พบว่านักเรียนส่วนหนึ่งสามารถบอกเสียงวรรณยุกต์ได้ถูกต้องทุกเสียง  ขณะเดียวกันก็มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งยังบอกเสียงวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง  ครูภาทิพ  ต้องการทราบว่านักเรียนกลุ่มที่บอกเสียงวรรณยุกต์ถูกต้องนี้เขาคิดได้อย่างไร  จึงนำ ๓ กลุ่มมาเขียนเรียงบนกระดาน ดังนี้


 ปลัก             มาก                  รัก

 บวช              ลูก                  นัด

 จีบ               ชอบ                 นิด

 อวบ             พูด                   เพราะ

 โกรธ            ชาติ                  นิด

 ออด             วาด                  นะ

 หยุด             ยืด                    ยึด

 แอบ             ลาก                  รถ

 ถีบ               ธาตุ                  ทิศ

 เบียด            ลวด                  นุช

              ครูภาทิพให้นักเรียนสังเกต   คำทั้ง ๓ กลุ่ม  แล้วถามว่า    คำทั้ง ๓ กลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องใด  ครั้งแรกมีเสียงแว่วมาว่า   “ คำตาย”   ก็ถูกนะ   ครูภาทิพ  ยังเงียบอยู่  ต่อมามีเสียงแทรกมาหลายเสียงว่า  “เสียงเอก   เสียงโท    และเสียงตรี”  อืม!  เก่งนะ   ครูก็บอกว่าถูกต้อง   แต่ที่ครูต้องการทราบก็คือเธอรู้  เธอสังเกตได้อย่างไร     เธอมีวิธีการอธิบายเพื่อนที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ ได้อย่างไร   ก็มีเจ้าหนุ่มคนหนึ่งยกมือตอบฉาดฉานว่า

               “แถวที่๑ อักษรกลางคำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก

               แถวที่ ๒ อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาวพื้นเสียงเป็นเสียงโท

               แถวที่ ๓ อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงตรีครับ”

              เพื่อนๆ ต่างส่งเสียงอ๋อ !   .......

                ครูภาทิพก็อธิบายอีกครั้ง แล้วก็ให้นักเรียนบันทึกสรุปตามที่เขาเข้าใจ

 

ความดีงามใดๆ ของบันทึกนี้ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณของคุณพ่อคุณแม่และครูบาอาจารย์
หมายเลขบันทึก: 262433เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ตามเข้ามาอ่าน  น่าสนใจ และ ดีมากเลยนะครับ

    สอนภาษาไทย  โดยวิธีวิทยาศาสตร์

        ได้ทั้งเนื้อหา และ กระบวนการ

สวัสดีค่ะ พี่จุ๋ม

.ตามเข้ามาอ่านบันทึก ชอบบันทึกนี้มาก วิธีนี้เป็นวิธีวิทยาศาสตร์ทำให้นักเรียนได้รู้จักสังเกต สรุปและที่สำคัญก็คือทำให้นักเรียนที่ขาดการสังเกตได้เรียนรู้ไปด้วย

.ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ดีๆ จะนำไปประยุกต์ใช้บ้างนะคะ

สวัสดีค่ะsmall man   แนะนำงานเขียนมาบ้านนะคะ

 

สวัสดีค่ะน้องติ่ง  วันนี้เล่นเกมวรรณยุกต์  ต่อยอดจากความรู้เรื่องนี้  สนุกทั้งครูทั้งเด็กค่ะ  ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

ครูนิตย์ น้อยนงเยาว์

ดีมากจริง ๆค่ะ ขออนุญาต นำวิธีการไปใช้กับนักเรียนนะคะ

ด้วยความยินดีค่ะครูนิตย์  ได้ฟังผลอย่างไรเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ขอศึกษาด้วยคนนะคะ อ่านเรื่องของคุณครูแล้วทำให้เข้าใจและเป็นประโยชน์สำหรับเด็กมากๆเลย

สวัสดีค่ะ  ครูรัตน์ ขอบคุณค่ะ  หากมีวิการดีๆก็มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ชอบเข้าชมผลงานของคุณครูมากเลยค่ะ  ได้ความรู้ใหม่ๆและมีประโยชน์มากเลยค่ะ  ติดตามมา 2-3  ปีแล้ว

ขอบคุณค่ะคุณครูสมพิศ   มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้างสิคะ

ติดตามงานคุณครูมาโดยตลอด และนำไปใช้สอนเด็ก สุดยอดเลยค่ะ

สวัสดีค่ะครูเบญ วิธีการหนึ่งอาจจะใช้ได้กับเด็กกลุ่มหนึ่ง รุ่นหนึ่ง

แต่พอเปลี่ยนกลุ่มเด็ก วิธีการนี้ก็อาจจะใช้ไม่ได้   บันทึกจากห้องเรียนของครูภาทิพ

ก็คือสิ่งที่ค้นพบ  กระบวนเรียนรู้กับเด็กเฉพาะกลุ่ม  และก็มีที่ครูภาทิพนำไปใช้แล้ว

ล้มเหลว  แต่ที่ล้มเหลวครูภาทิพไม่ได้นำมาเล่าค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำชม   ครูภาทิพอยากให้เพื่อนครูนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

บ้างนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท