อาจารย์ดวงสมร (ท่านรอง ผอ. พรพ.) เปิดใจถึงโครงการ SHA


โครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นโครงการที่สถาบันฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเลือกโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพต่อยอดการพัฒนาด้านมิติ จิตใจ สังคม ปรับเปลี่ยนระบบการดูแลผู้ป่วยให้อยู่บนพื้นฐานความรัก เป็นโรงพยาบาลที่เป็นแบบอย่างการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรของออตตาวา เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม สามารถร่วมวางแผนและออกแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้ outcome mapping เป็นเครื่องมือ

อาจารย์ดวงสมร (ท่านรอง ผอ. พรพ.) เปิดใจถึงโครงการ SHA

                                     บ่ายวันฝนตกหนักตอนเช้า   ณ โรงแรมนารายณ์ ถนน สีลม  วันนี้ออยจะได้พบอาจารย์เป็นวันแรกหลังจากพบกันวันสัมภาษณ์งานวันนั้น  (เนื่องจากท่านไปประชุมที่ประเทศกรีซ)  ออยรู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก เพราะพี่พอลล่าบอกว่าท่านอาจารย์ดวงสมรจะนิเทศน์งานให้ออยวันนี้ล่ะ  หลังจากท่านนิเทศน์งานออยเสร็จ  ออยสัมผัสได้ว่า ท่านอาจารย์ใจดีมาก  เป็นกันเอง  และตัวจริงสวยมาก จริง ๆ นะ

และวันนี้ได้มีนักข่าวจาก สสส. มาสัมภาษณ์ท่านอาจารย์   ออยได้มีโอกาสฟังการสัมภาษณ์ในวันนั้นจึงขอนำมาเป็นเรื่องเล่า ท่านอาจารย์ดวงสมรได้ให้คำอธิบายถึงโครงการ SHA  มีชื่อเต็มว่า โครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการที่สถาบันฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)   โดยเลือกโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพต่อยอดการพัฒนาด้านมิติ จิตใจ สังคม ปรับเปลี่ยนระบบการดูแลผู้ป่วยให้อยู่บนพื้นฐานความรัก เป็นโรงพยาบาลที่เป็นแบบอย่างการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรของออตตาวา เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม สามารถร่วมวางแผนและออกแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้ outcome mapping เป็นเครื่องมือ  โครงการฯได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 300 แห่ง ได้รับการตอบรับเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 102 แห่ง ทางสถาบันฯได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ คัดเลือกโรงพยาบาล กระจายครบสี่ภูมิภาค จำนวน 60 แห่ง ตามเกณฑ์การคัดเลือก

               โดยโรงพยาบาลที่ได้รับคัดเลือก ผู้บริหารและทีมนำมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ มีเครือข่ายสุขภาพระหว่างโรงพยาบาลหรือระหว่างชุมชนที่เข้มแข็ง มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ติดกรอบและมีความต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้นำและทีมมีความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงพยาบาลในจังหวัดและชุมชน มีเครือข่ายสุขภาพระหว่างโรงพยาบาล หรือชุมชน มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้นำและทีมงานทุกระดับมีความพร้อมในการพัฒนาเพื่อสร้างภาพโรงพยาบาลในฝันร่วมกัน และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใช้ outcome mapping เป็นเครื่องมือ 

                ท่านนายแพทย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล    ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล   ได้เข้าร่วมให้สัมภาษณ์และได้กล่าวถึงความคาดหวังในโครงการนี้ว่า  ท่านได้คาดหวังให้เกิดความเชื่อมโยงความคิดการสร้างเสริมสุขภาพคนให้บริการ  และมองการดูแลคนไข้แบบองค์รวม  ตอบสนองความต้องการของคนไข้ในมิติการส่งเสริมสุขภาพ  มองปัญหาพฤติกรรม  มุ่งเน้น Holistic spiritual  ซึ่งอุปสรรคสำคัญของโครงการนี้  การทำความเข้าใจ  แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  ความคุ้นเคย ที่นำไปสู่การเปลี่ยนทัศนคติเพื่อนำไปสุ่การเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเกิดการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต่อไป

โครงการฯ คัดเลือกและเชิญชวนที่ปรึกษาเข้าร่วมประชุมร่วมกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั้ง 60 แห่ง ร่วมประชุมสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันในวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2550  ที่โรงแรมหลุยส์ แทเวิร์น อีกด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 262193เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ น้องออย

รูป มีไหม จ๊ะ อิอิ

สวัสดีค่ะ พี่พอลล่า ไม่มีรูปเลย ล่ะเพราะวันนั้นไม่ได้เอากล้องถ่ายรูปไป และลืมบอกพี่ชมภู่ ด้วยล่ะ  เลยไม่มีรูปสวย ๆ มา show เลย ว้าแย่จัง ไว้โอกาสหน้าจะไม่พลาดแน่นอน

แม่ต้อยชวนพี่กุ้งมาเป็นกำลังใจให้น้องออยคนเก่งค่ะ

เชียร์ค่ะ เชียร์

ขอบคุณพี่กุ้ง สำหรับกำลังใจดี ๆ ค่ะ อยากให้ถึงวันประชุมเร็วๆจังจะได้คุยกับพี่กุ้ง ตัวเป็น ๆอิอิ

Concept ในการพัฒนาสุขภาพแนวใหม่เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนนั้น..ความจริงเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินความสามารถของบุคคลากรด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะบุคคลากร/เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนในชุมชนซึ่งประกอบไปด้วยประชาชนกลุ่มแข็งแรง/กลุ่มสุขภาพดี กลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง (หลายปัจจัยเสี่ยง) และกลุ่มป่วยโดยเฉพาะป่วยจากโรคหลายโรคและโรคเรื้อรัง(NCD) เนื่องจากบุคคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่จะทำงานในลักษณะนี้อยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้จับกระบวนการทำงานมาร้อยเรียงให้เห็นเป็นกระบวนการที่ทำในลักษณะเชื่อมโยงและวัดผลลัพธ์ในเชิง System และวัดผลลัพธ์เชิงความสัมพันธ์ หรือบางครั้งแต่ละรพ.หรือ PCU ได้มีกระบวนการทำงาน OM ในหน่วยงานหรือในองค์อยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อผ่านการอบรม OM ของปรมาจารย์ดวงสมร และอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ทั้ง 2 ท่านในหัวข้อ "รู้จัก รู้หลัก แล้วจะรัก OM" ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำและผู้ปฏิบัติงานด้านคุณภาพได้มากยิ่งขึ้นทำให้ทีมงานของ เปิ้ล รพ.บ้านลาด มีความมั้นใจโดยเริ่มที่การสร้าง Vision Mision ไปสู่ WHOsอันจะส่งผล ผล utcome Challenge1, Outcome Challenge2 ฯลฯ ส่งผลให้เกิด Sucess outcome Markers (SOMs)ซึ่งนำไปสู่ Expect to see คือ การทำงานที่เกิดความร่วมมือของ DP มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของDP, DPได้แนวทางได้ข้อตกลง Like to see โดย DP นำความรู้ นำข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติโดยทุกคนมี Outcome ซึ่งเป็นภาพฝันร่วมกัน Love to see เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะโครงการ/กิจกรรมภาพฝันที่เป็นรูปธรรมและทุกคนร่วมกันทำภารกิจภาพฝันนั้นอย่างมุ่งมั่นทุ่มเทและทำแล้วทุกคนมีความสุขทั้ง DP และ SP สรุป Win-Win ทั้งผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหารจากหน่วยงานต่าง ๆ และสุขภาพของประชาชน ช่วยกันทำความดีเพื่อความดีนะคะ

Concept ในการพัฒนาสุขภาพแนวใหม่เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนนั้น..ความจริงเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินความสามารถของบุคคลากรด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะบุคคลากร/เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนในชุมชนซึ่งประกอบไปด้วยประชาชนกลุ่มแข็งแรง/กลุ่มสุขภาพดี กลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง (หลายปัจจัยเสี่ยง) และกลุ่มป่วยโดยเฉพาะป่วยจากโรคหลายโรคและโรคเรื้อรัง(NCD) เนื่องจากบุคคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่จะทำงานในลักษณะนี้อยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้จับกระบวนการทำงานมาร้อยเรียงให้เห็นเป็นกระบวนการที่ทำในลักษณะเชื่อมโยงและวัดผลลัพธ์ในเชิง System และวัดผลลัพธ์เชิงความสัมพันธ์ หรือบางครั้งแต่ละรพ.หรือ PCU ได้มีกระบวนการทำงาน OM ในหน่วยงานหรือในองค์อยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อผ่านการอบรม OM ของปรมาจารย์ดวงสมร และอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ทั้ง 2 ท่านในหัวข้อ "รู้จัก รู้หลัก แล้วจะรัก OM" ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำและผู้ปฏิบัติงานด้านคุณภาพได้มากยิ่งขึ้นทำให้ทีมงานของ เปิ้ล รพ.บ้านลาด มีความมั้นใจโดยเริ่มที่การสร้าง Vision Mision ไปสู่ WHOsอันจะส่งผล ผล utcome Challenge1, Outcome Challenge2 ฯลฯ ส่งผลให้เกิด Sucess outcome Markers (SOMs)ซึ่งนำไปสู่ Expect to see คือ การทำงานที่เกิดความร่วมมือของ DP มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของDP, DPได้แนวทางได้ข้อตกลง Like to see โดย DP นำความรู้ นำข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติโดยทุกคนมี Outcome ซึ่งเป็นภาพฝันร่วมกัน Love to see เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะโครงการ/กิจกรรมภาพฝันที่เป็นรูปธรรมและทุกคนร่วมกันทำภารกิจภาพฝันนั้นอย่างมุ่งมั่นทุ่มเทและทำแล้วทุกคนมีความสุขทั้ง DP และ SP สรุป Win-Win ทั้งผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหารจากหน่วยงานต่าง ๆ และสุขภาพของประชาชน ช่วยกันทำความดีเพื่อความดีนะคะ

สวัสดีพี่ ๆน้อง ๆชาวทีมSHAที่รัก...ทุกคน

 

วันนี้ P’Pleขอ พูดคุยเรื่อง สุขภาพดี...ที่ทำได้....ด้วยตัวเรา....ขอนิยาม (Definite) คำว่า เรา = หมายถึง ทีมเครือข่ายสุขภาพทั้งหมด + ชุมรมสร้างสุขภาพของเครือข่ายรพ.บ้านลาด(CUP รพ.บ้านลาด)ด้วยนะค่ะ โดยในวันที่30-31ก.ค.52 ที่ผ่านมา ทีมเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพรพ.บ้านลาดได้ดำเนินโครงการ วัดสมรรถนะทางกาย ให้กับ กับประชาชน + จนท.PCU.เครือข่าย+ จนท.รพ.บ้านลาด+ ผู้นำชุมชน (กำนันผู้ใหญ่บ้าน) + อบต. เครือข่าย ใน อ.บ้านลาด + ชมรมผู้สูงอายุ รพ.บ้านลาด ซึ่งได้รับ ความร่วมมือ อย่างม๊าก.......มาก....จาก การกีฬาประจำจังหวัด เพชรบุรี ทั้ง

            @ เครื่องมือสำหรับ วัดสมรรถนะ + อุปกรณ์ในการช่วยต่าง ๆ

            @ บุคลากรจาก การกีฬา ที่มาเป็นผู้ Manager + Monitoring + Coaching ให้งานออกมาเรียบร้อย....Performance + Outcome ดีเยี่ยมตามแผนที่วางไว้ (Planที่ไม่นิ่ง ๆๆๆ)

            @ ที่สำคัญที่สุดคือ......ผู้เข้าร่วมโครงการ วัดสมรรถนะทางกาย ที่มากันมากมาย.....แสดงถึง....การตระหนัก (Awareness) ในเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะ ชุมรมสร้างสุขภาพ ในตำบลต่าง ๆของเครือข่าย รพ.บ้านลาดนะคะ

            @ สุดท้ายทีมงานได้ ผลลัพธ์ ทางด้าน สมรรถนะ ของบุคคลกลุ่มแข็งแรง ในชุมชน+คนแข็งแรง

            @ ทีมงานที่รับผิดชอบ การประเมิน+ประเมินผลลัพธ์ (Assessment + Evaluation) กำลังใช้ ระบบ IT (โปรแกรมSPSS) เพื่อสรุปผลของข้อมูลสุขภาพ กลุ่มสุขภาพดี + แข็งแรง........ว่าผลจะมีลักษณะใดบ้าง???

            @ เดือนสิงหาคมนี้.....จะ คืนข้อมูล สุขภาพดีให้กับ.....ชุมชน + กับบุคคล ...ทุกคนจะได้รับรู้ สมรรถนะทางกายของตนเอง (Individual) นะคะ…..

            วันนี้ขอพูดคุยแค่นี้ก่อนนะคะ...... รองผอ.ดวงสมร อ่านแล้ว OK……OK….OK ไหมเอ่ย??...ตอบด้วยนะคะ....

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี..

Tel. 081-9435033

สวัสดีพี่ ๆน้อง ๆชาว....ทีมSHAที่รัก...ทุกคน

 

วันนี้ P’Pleขอ พูดคุยเรื่อง รู้จัก....รู้หลัก....แล้วจะรัก....OM…OM” = Outcome Mapping

Concept ใน การพัฒนาสุขภาพแนวใหม่ เพื่อให้ เกิดความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน(Continuous & Sustainable ) นั้น.........ความจริงเป็นเรื่องที่ ไม่ยากจนเกินความสามารถของบุคลากรด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะบุคคลากร/เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงาน เชื่อมโยง(Linking) กับประชาชนในชุมชนซึ่งประกอบไปด้วย

@ ประชาชนกลุ่มแข็งแรง/กลุ่มสุขภาพดี(Normal[)

@ กลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง (หลายปัจจัยเสี่ยง (Risk)

@ กลุ่มป่วยโดยเฉพาะป่วยจากโรคหลายโรคและโรคเรื้อรัง (NCD)

เนื่องจากบุคคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่จะทำงานในลักษณะนี้อยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้จับกระบวนการ(Process)ทำงานมา.....ร้อยเรียงให้เห็นเป็นกระบวนการที่ทำในลักษณะเชื่อมโยงและวัดผลลัพธ์/ประเมินผล ในเชิง System Approach และวัดผลลัพธ์เชิงความสัมพันธ์ หรือบางครั้งแต่ละรพ.หรือ PCU ได้มีกระบวนการทำงาน OM ในหน่วยงานหรือในองค์อยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้นเมื่อผ่านการอบรม OM ของปรมาจารย์ รอง ผอ. ดวงสมร และ อาจารย์ ดร. ประพนธ์ ทั้ง 2 ท่านในหัวข้อ "รู้จัก รู้หลัก แล้วจะรัก OM" ทำให้เกิด ความรู้ความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำและผู้ปฏิบัติงานด้านคุณภาพได้มากยิ่งขึ้นทำให้ทีมงานของ เปิ้ล รพ.บ้านลาด มีความมั่นใจโดยเริ่มที่ การสร้าง Vision , Mission ไปสู่ WHOs อันจะส่งผล ผล Outcome Challenge1, Outcome Challenge2 ......ฯลฯ ส่งผลให้เกิด..... Success  Outcome Markers (SOMs)ซึ่งนำไปสู่

Expect to see คือ การทำงานที่เกิดความร่วมมือของ DP มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของDP, DPได้แนวทางได้ข้อตกลง

Like to see โดย DP นำความรู้ นำข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติโดยทุกคนมี Outcome ซึ่งเป็นภาพฝันร่วมกัน

 Love to see เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะ โครงการ/กิจกรรมภาพฝันที่เป็นรูปธรรมและทุกคนร่วมกันทำภารกิจภาพฝัน นั้นอย่าง มุ่งมั่นทุ่มเท (Commitment) และทำแล้วทุก คนมีความสุข (Happiness) ทั้ง DP (Direct Partnership) และ SP (Strategic Partnership)

 สรุป Win-Win ทั้ง ผู้บริหาร, ผู้ปฏิบัติงาน จากหน่วยงานต่าง ๆ และ สุขภาพของประชาชน ช่วยกัน ทำความดี....ทำความดี... .... เพื่อความดี นะคะ เพราะ....ความดีเท่านั้น....ถึงจะเกิดคุณภาพที่ยั่งยืน “Continuous & Sustainable”  ตลอดไป  สวัสดีค่ะ

 

สมศรี  นวรัตน์(P’Ple) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081-9435033

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท