8 วิธีป้องกันอากาศเสียในบ้าน+ที่ทำงาน


 

...

ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพอากาศนิยมใช้ "กฎแห่ง 1,000" นั่นคือ อะไรที่ปล่อยออกสู่อากาศในบ้านมีโอกาสถูกหายใจเข้าไปประมาณ 1,000 เท่าของอากาศนอกบ้าน

ศ.ดร.เคิร์ค สมิต (Kirk Smith) ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมโลก แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ กล่าวว่า

...

แม้แต่ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีกฏหมายคุมเข้มด้านการสูบบุหรี่มากที่สุด และมีอัตราคนสูบบุหรี่น้อยที่สุดในสหรัฐฯ... คนที่นี่ก็ยังได้รับสารพิษหลักจากบุหรี่มากกว่าสาเหตุอื่นๆ เนื่องจากยังมีการสูบบุหรี่ในบ้าน หรือในอาคาร

การป้องกันอากาศเสียในบ้านหรืออาคารทำได้ดังต่อไปนี้

...

(1). ไม่จุดธูปหรือเทียนในบ้าน

  • ควันจากธูปหรือเทียนมีอันตรายพอๆ กับบุหรี่
  • ถ้าต้องการถวายแสงสว่างพระ... อาจใช้หลอดไฟประหยัดพลังงานแทน ถ้าต้องการถวายกลิ่นหอมบูชา... ควรใช้ดอกไม้ หรือน้ำหอมแทน

(2). ไม่ใช้สเปรย์ปรับอากาศ

  • การใช้สเปรย์ปรับอากาศเปรียบเสมือนการใช้ "สารเคมีดับกลิ่นสารเคมี"... ทางที่ดีคือ หาทางเพิ่มการระบายอากาศ และลดความชื้นในอาคารให้น้อยลง

...

(3). หมุนเวียนพืชในอาคาร

  • พืชช่วยทำความสะอาดอากาศ ทว่า... ควรระวังว่า ถ้าตั้งต้นไม้ไว้นานๆ จะทำให้เกิดการสะสมฝุ่นละออง และสารก่อภูมิแพ้ที่ใบหรือลำต้นของพืช
  • นอกจากนั้น... ดินที่ชื้นนานๆ ก็เพิ่มโอกาสเกิดเชื้อรา ทางที่ดีคือ หมุนเวียนต้นไม้ นำออกไปนอกห้องบ้าง หรือไม่ก็ใช้วิธีหมุนเวียนสับเปลี่ยนต้นไม้หลายๆ ชนิดไว้นอกอาคารบ้าง ในอาคารบ้าง

(4). ระวังควัน สี และกลิ่น

  • การทำอาหารอาจทำให้เกิดควัน หรือแก๊สจากการเผาไหม้, การทาสีทำให้เกิดไอระเหย, ส่วนพลาสติกหลายๆ ชนิดที่มีกลิ่นอาจปล่อยไอระเหยสารเคมีจำนวนมากออกมาเป็นเดือนๆ หรือปีๆ ได้
  • ทางที่ดีคือ ไม่นำของเข้าบ้านโดยไม่จำเป็น

...

(5). ลดพรม

  • พรมเป็นแหล่งสะสมฝุ่น ไรฝุ่น และสารก่อภูมิแพ้มากมาย

(6). ไม่ใช้ฟืน

  • การใช้ฟืนในบ้าน เผาขยะ หรือเผาใบไม้เป็นสาเหตุสำคัญของโรคทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรัง (COPD) โดยเฉพาะถุงลมโป่งพอง และทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง
  • สถิติมะเร็งปอดบ้านเราสูงสุดที่ลำปาง-เชียงใหม่พอจะบอกเป็นนัยได้ว่า การเผาขยะ เผาใบไม้อาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็งทั่วบ้านทั่วเมือง

...

(7). ไม่สูบบุหรี่

(8). ติดพัดลมดูดอากาศ

  • โรงพยาบาลแห่งหนึ่งมีเจ้าหน้าที่ติดวัณโรคจากคนไข้หลายสิบคน หอผู้ป่วยหนึ่งที่มีคนไข้เอดส์กลับไม่มีคนติดวัณโรคเลย
  • กลไกที่เป็นไปได้คือ หอผู้ป่วยคนไข้เอดส์ติดพัดลมดูดอากาศมากที่สุด ทำให้การระบายอากาศดี

...

  • โรงพยาบาลหลายแห่งติดพัดลมดูดอากาศไว้ใกล้หน้าต่างหรือประตู ทำให้การระบายอากาศไม่ได้ผล เนื่องจากลมก็เหมือนไฟฟ้า คือ จะหาทางลัดที่สั้นที่สุด (shortcut) เสมอ
  • การติดพัดลมดูดอากาศไว้ใกล้ประตูจะทำให้เกิดการระบายอากาศเฉพาะส่วนที่ใกล้หน้าต่างหรือประตูมากที่สุด ส่วนไกลออกไปจะมีการระบายอากาศน้อยมาก

... 

  • ทางที่ดีกว่า คือ การติดพัดลมดูดอากาศให้ไกลหน้าต่างหรือประตู เพื่อให้อากาศส่วนกลางห้องมีการระบายอากาศที่ดี

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 > Thank [ nytimes ] 

ที่มา                                                     

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 14 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 262146เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท