ทักษะชีวิต จิตอาสา พัฒนาอาชีพ..ตามไปดูการเสริมสร้างการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชนภาคใต้(๑)


สะพานชีวิตที่ทอดยาวสู่ความรักและความอบอุ่น
 
   

                                

                                          20090518113252_142

   หนังสือเล่มเล็กชุดถอดบทเรียนตามโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ ของ สรส.โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากตลาดนัดความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นภาคใต้  ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๖ - ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ โรงแรมลิกอร์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดเป็นห้องย่อยๆในหัวข้อหลายหลาก ซึ่งในตอนที่ ๑ นี้ จะได้สรุปบทเรียนจากห้องย่อย : เยาวชนกับทักษะชีวิต " ประสบการณ์โดดเด่น จากโครงการสะพานชีวิต สงขลาฟอรั่ม "

     ห้องนี้ มีสมาชิกร่วมเรียนรู้ ดังนี้

         1. เยาวชนจากหลายโรงเรียน คือ รร.วัดโพธิทอง รร.สว่างอารมณ์ รร.เตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ กศน.ชะอวด กศน.เมืองนคศรีธรรมราช วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคนิคสถาปัตย์ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช สภาเด็กและเยาวชน อ.เชียรใหญ่ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กนครศรีธรรมราช

        2. อบต.ท้ายสำเภา อบต.นาหมอบุญ

        3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

        4. สถาบันเรียนรู้และพัฒนาเครือข่ายประชาสังคม นครศรีธรรมราช

        5. ทีมวิทยากรจากศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนและเด็ก สงขลาเขต 9 โครงการสะพานชีวิต สงขลาฟอรั่ม

                                20090518145424_197

        สะพานชีวิต ถือกำเนิดจากประสบการณ์การศึกษา และร่วมทำงานในการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดสงขลา ได้พบว่า..

            --  เยาวชนต้องการบ้านกึ่งวิถี หรือหน่วยงานช่วยแนะแนวชีวิต ช่วยฝึกทักษะอาชีพ เมื่อได้รับการปล่อยตัวจากสถานพินิจและศูนย์ฝึกอบรมฯ

            -- เยาวชนส่วนใหญ่บอกว่า ขาดความมั่นใจในตนเอง ขาดทักษะชีวิต และขาดทักษะในการทำมาหากิน

            -- สถานะการณ์เด็กและเยาวชนในสังคม เผชิญหน้ากับวิกฤตทางสังคมหลายด้านที่มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเด็ก เช่น ปัญหาสื่อที่ไม่เหมาะสม การขาดคุณธรรม จริยธรรม การศึกษาแบบแพ้คัดออก เป็นต้น เหล่านี้ล้วนส่งเสริมให้เยาวชน เดินเข้าสู่การกระทำผิดโดยง่าย

              ตามสาเหตุที่กล่าวข้างต้น สงขลาฟอรั่ม จึงมีความพยายามที่จะมุ่งสร้าง สะพาน..ปลายทางเพื่อเยาวชนและสังคม....

               - โดยการดำเนินกิจกรรม ด้วยยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไข โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ผ่านขั้นตอนการเรียนรู้หลายรูปแบบให้แก่เด็กที่เคยกระทำความผิด ให้มีทักษะชีวิตที่ถูกต้อง ทั้งในศูนย์ฝึกอบรม และเมื่อกลับออกไปสู่สังคมภายนอก

               - ช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนที่ไม่เคยกระทำความผิด และเด็กที่อยุ่ในภาวะเสี่ยงต่อการก้าวพลาด

              สงขลาฟอรั่ม ได้จัดทำเป็นโครงการ ๓ ปี ( พ.ศ.๒๕๔๙ - ๒๕๕๑ ) ซึ่งดำเนินการแนวรุกและแนวตั้ง ตลอดทั้งสร้างพื้นที่ๆเหมาะสมต่อการเรียนรู้ สู่การเป็นพลเมืองที่มีสติปัญญา รู้เท่าทันสังคม และมีพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาบ้านเมือง ดังนี้...

                  --- โครงการสะพานชีวิตที่ ๑ ( พ.ศ. ๒๕๔๙ ) ดำเนินการโดยใช้กระบวนการละคร เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะ ๕ ด้าน ประกอบด้วย

                     - กระบวนการคิดและการตัดสินใจ การคิดวิเคราะห์ วิจารณ์

                     - ความเข้าใจตนเองและผู้อื่น

                     - การจัดการทางอารมณ์และความเครียด

                     - การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร

                     - ความรับผิดชอบต่อสังคม

             การแสดงละครและเนื้อหาที่สะท้อนออกมา เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า.....ดีมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต จนกระทั่งโครงการสามารถพัฒนารูปแบบ หรือกระบวนการละคร เพื่อการพัฒนาทักษะชีวิตขึ้นมา ๑ รูปแบบ คือ " เติมชีวิตให้เต็มชีวิต " โดยใช้สื่อละครง่ายๆ จัดในกลุ่มเล็กๆตรงตัว ให้ผลในเชิงลึก สะท้อนชีวิตจริง คนที่ทำผิด ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเลวเสมอไป เมื่อออกจากศูนย์ฝึกไปแล้ว ไม่มีพื้นที่สายตาจากสังคมภายนอกที่มองมายังตัวเด็กมีภาพลบ ละครจะเป็นสื่อสะท้อนให้กับเขา เหมือนเรามองกระจก และสร้างความั่นใจในการอยู่กับสังคม.....สื่อจึงเป็นแหล่งบ่มเพาะพฤติกรรมที่ดีประเภทหนึ่ง..

           --- โครงการสะพานชีวิตที่ ๒ ( พ.ศ. ๒๕๕๐ ) เน้นกระบวนการเรียนรู้สื่อ เป็นหลัก ด้วยเนื้อหาต่างๆ คือ การคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ ความคิดสร้างสรรค์ การผลิตรายการวิทยุเพื่อชุมชน การเสริมสร้างศักยภาพภายในด้านจริยธรรม ศีลธรรม และการเสริมสร้างศักยภาพด้านศิลปะที่สะท้อนความอ่อนโยนทางจิตใจ คุณค่าของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งการสร้างงานอาชีพอิสระ..

         ---  โครงการสะพานชีวิตที่ ๓ ( พ.ศ.๒๕๕๑) สร้างกระบวนการติดตามดูแลเด็กและเยาวชนที่ออกไปจากศูนย์ฝึกอบรมฯ ไปสู่สังคมภายนอก เพื่อการตอบรับในทางที่ดีอย่างยั่งยืน

                         ( โปรดติดตามเรื่องเล่า ตอนที่ ๒ ต่อไปค่ะ)

                 

           

หมายเลขบันทึก: 261887เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

* ทักษะชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กๆ

* เป็นกำลังใจให้ค่ะ

* สุขกายสุขใจนะคะ

ขอบคุณค่ะคุณ P นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง) ที่ให้ความสนใจเรื่องนี้..พี่จะได้นำเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมาเล่าสู่กันฟังอย่างต่อเนื่องค่ะ

 

สวัสดีครับ

  • สนใจหนังสือเล่มที่ว่า จังครับ

ขอบคุณคุณ P หนุ่ม ร้อยเกาะ ที่สนใจหนังสือนี้ แนะนำให้ขอที่ :

คุณทรงพล เจตนาวณืชย์ สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) โทร. 0-2513-8823


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท