การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย


การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย
วันนี้ครูอู๋อยากจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัยที่คนส่วนหนึ่งมักไม่ค่อยให้ความสำคัญ คิดว่าเป็นเรื่องกล้วยๆ จับโน่นชนนี่ออกมาก็ได้เรื่องแล้ว 

    ครูอู๋เชื่อว่าทุกคนคงเข้าใจสอดคล้องกันว่า การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้  ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย ข้อคำตอบที่ค้นพบควรมีลักษณะของการเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมจากข้อค้นพบจากงานวิจัยในอดีต เป็นองค์ความรู้ใหม่ ประเด็นของปัญหาวิจัยไม่มีข้อความเกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือความคิดเห็น  ต้องมีการแสดงแหล่งหรือที่มาของข้อมูลที่นำมาอ้างอิงหรือสนับสนุนเหตุผลความจำเป็นในการโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามว่าสมควรทำวิจัยเรื่องดังกล่าวด้วย และแหล่งข้อมูลดังกล่าวต้องตรวจสอบได้

   แต่ทั้งๆที่รู้นะ เวลาเขียนจริงๆไม่ใช่เรื่องกล้วยๆอย่างที่คิด เพราะบางคนเขียนหนาเป็นปืก แต่คนอ่านที่อ่านจบแล้วก็ไม่สามารถทราบว่า ทำไมผู้เขียนจึงต้องทำวิจัยเรื่องนี้ ต้องการคำตอบอะไรจากการวิจัยเรื่องนี้ มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด คุ้มค่าที่จะทำหรือไม่ ... เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ผู้เขียนมักแสดงให้ผู้อ่านสงสัยว่า เอ คุณนี่ รู้จักโลกทั้งใบอย่างดีเลยนะ แต่ทำไมรู้จักประเทศไทยน้อยจัง แล้วพื้นที่ที่จะทำวิจัย คุณรู้จักหรือไม่ เพราะอ่านแล้วไม่พบ สรุปดื้อๆว่าจะทำวิจัยตรงนี้แหละ

   ผู้อ่านเคยเป็นแบบนี้หรือไม่ หรือเคยเห็นข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีลักษณะแบบนี้หรือไม่คะ

หมายเลขบันทึก: 261202เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2009 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นด้วยกับครูอู๋มากเลย ตัวเองก็เป็นแบบนี้ เพราะอุตส่าห์นำสิ่งที่อ่านมาเรียบเรียงแบบที่คิดว่าสุดยอดแล้ว แต่นำไปส่งอาจารย์ ถูกตีเละแบบที่ครูอู๋บอกเลยค่ะ

เป็นข้อเตินใจที่ดีมาก ขอบคุณค่ะ

หนูก้อย

บางครั้งเราก็พยายามเขียนสรุปประเด็นจ ากหนังสือที่ค้นคว้าให้มากที่สุด และเข้าใจว่าพื้นที่วิจัยจะเขียนในรายละเอียดภายหลัง แต่ก็ดีนะครับที่ได้อ่านของอาจารย์ ต่อไปผมขอให้ช่วยอ่านโครงการบ้างได้หรือไม่

สุชัย

คุณหนูก้อยอย่าเพิ่งท้อนะคะ ความจริงการเขียนทุกเรื่องรวมทั้งองค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย แม้จะไม่กล้วย แต่ก็ไม่ยาก ใจรักมาก่อน ตามด้วยความพยายาม ไม่ท้อ อดทน เป็นกำลังใจให้ประสบความสำเร็จในการเรียนค่ะ ถ้าจบแล้วก็ยินดีด้วยค่ะ

ยินดีช่วยอ่านค่ะคุณสุชัย

ครูอู๋

ขอบคุณครับ ดูเหมือนง่าย แต่ความจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด

  • แวะมาเยี่ยมอาจารย์ครับ

ขอแลกเปลี่ยนในฐานะที่เคยไปได้ดีกรีดุษฎีบันฑิตมาครับ เห็นด้วยครับว่าการเขียนส่วนนี้ยากจริงๆ ครับ

 

ถ้าเป็นวิทยานิพนธ์ไม่ว่าจะเป็นระดับโทหรือเอก บอกได้เลยว่า ไม่ใช่กล้วยธรรมดาแต่เป็น กล้วยหิน กินยาก

 

ส่วนนี้เขียนก่อนเพื่อน แต่เสร็จท้ายสุด เพราะนอกจากจะมีเหตุผลดีๆ แล้ว ยังต้องปรับปรุงให้ทันสมัยด้วยครับ

 

ขอบคุณมากๆๆครับครูอู๋  ผมพึ่งได้มีโอกาสทำวิจัยครั้งแรก เพื่อเสนอทางมหาลัยก่อนลงเรียนโทครับ ว่าผ่านหรือไม่ถ้าไม่ก็อดเรียนกันเลยทีเดียว....ตรงที่ติดในการทำโครงวิจัย...ตรงนี้แหระครับ 

สำหรับของผม  อาจารย์ที่สอนเข้มมาก  แก้หลายรอบมาก  ขอบคุณที่ไห้ความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท