คำนิยามที่แสนจะน่ารักของ "ชุมชนคนวลัยลักษณ์" ในความคิดของข้าพเจ้า


ได้มีโอกาสอยู่ในก๊วนนี้ตั้งแต่เริ่มสุมหัวกันครั้งแรกและเริ่มเห็นพัฒนาการกลุ่มที่ขยาย โตขึ้น ๆ (เหมือน นน.น้องเมย์กับพี่เปี๊ยก) แต่ถ้าคุณได้มาสุมหัวกับเราแล้วจะรู้สึกเลยค่ะว่าอบอุ่นและได้พลังกลับไปเพียบ......เพียบจิง ๆ

มีความประทับใจในการได้ร่วมงานกับ เพื่อน พ้อง น้อง พี่ ในทีมงาน ชุมชนคนวลัยลักษณ์ จึงอยากจะหาคำนิยาม/คำจำกัดความที่น่ารัก ๆ มานิยามให้ทีมเรา  อย่าเครียดนะค่ะ แต่อยากให้อ่านแล้วเบาสมอง  เป็นกันเอง คำว่าชุมชนเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รวมตัวกัน ถ้าจะให้น่ารักและบ้าน ๆ(ภาษาปะกิดเรียกว่า very very home home) มากไปกว่านั้นก้อคือ  การสุมหัวกัน  เปี๊ยกได้มีโอกาสอยู่ในก๊วนนี้ตั้งแต่เริ่มสุมหัวกันครั้งแรกและเริ่มเห็นพัฒนาการกลุ่มที่ขยาย โตขึ้น ๆ (เหมือน นน.น้องเมย์กับพี่เปี๊ยก) แต่ถ้าคุณได้มาสุมหัวกับเราแล้วจะรู้สึกเลยค่ะว่าอบอุ่นและได้พลังกลับไปเพียบ......เพียบจิง ๆ

วันนี้...วันเสาร์...โอกาสก็ดี๊ดี.....เพราะลูกก้อหลับแล้ว  ข้าพเจ้าจะมาขอนำเสนอคำนิยามของ  ชุมชนคนวลัยลักษณ์...ชุมชนคนวลัยลักษณ์คือ กลุ่มคนที่มาสุมหัวกันเพื่อ ลปรร.แนวทางการทำงาน /ขับเคลื่อนงานที่รับผิดชอบอยู่ให้บรรลุตามเป้าหมาย  ซึ่งพวกที่มาสุมหัวกันประกอบด้วยตัวแทนจากชุมชนต่าง ๆ ในมวล. หลายชุมชน คนที่มาสุมหัวส่วนมากจะเป็นหัวหน้าเผ่าหรือคุณอำนวย คุณประสาน คุณกิจ คุณลิขิต มียายน้องเมย์กับตาอู๊ด OD เป็นผู้คอยจับยามสามตาและนัดแนะดูลาดเลาว่าจะเจอกันวันไหน ที่ใด  แต่ได้สัญญากันไว้ว่าต้องเจอกันให้ได้อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่ออะไร  เพื่อมาสุมหัวกันชาร์ตแบตเตอรี่ในตัวแต่ละคนให้มีพลังและไฟ   และมาหาอาหารสมอง (food for brain) ซึ่ง food for brain นี้เราเชื่อกันว่ามีไม่เท่ากัน คนมีมากต้องแบ่งปันคนอื่น ๆ ถ้าเก็บไว้คนเดียวหัวท่านจะโต ตัวท่านจะเล็ก  (เดี๋ยวเข้าจะข่ายสุภาษิต  ความรู้ท่วมหัว เอาตั๋วบ่รอด) คนที่หัวเล็กตัวโตก็ต้องหาอาหารให้สมอง ทั้งหาเองและเพื่อนให้  แต่เพื่อนให้จะดีหน่อยคือกินได้เลยไม่ต้องปรุงแต่งอะไรเยอะ บางครั้งหาอาหารเองปรุงเองกว่าจะได้กินและมีรสชาติดีก็ต้องฝึกกันอีกนาน สู้เอาที่เพื่อนทำไว้แล้วอร่อยด้วยดีกว่าด้วยใช่มั๊ยค่ะ  บางครั้งแค่มาเติมนี้นิด ใส่นี้หน่อยก็เลิศแล้ว  ถ้าคนใดประยุกต์เก่งหน่อยอาจจะได้อาหารเมนูใหม่ไปเลยก็ได้ค่ะ   ที่สำคัญถ้าเราได้อาหารสมองที่พอเพียงทุกคนจะ  smart  ค่ะ  (คนอ่านจะรู้เรื่องมั๊ยเนี๊ย อย่า...อย่าเพิ่งงงว่าทำไมอยู่ ๆ ออกเรื่องอาหาร เพราะจะโยงเข้าเรื่องการจัดการความรู้ค่ะ เอาเป็นว่าเรื่องการแบ่งปันความรู้ กับการต่อยอดหรือสร้างองค์คามรู้ใหม่ละกันจะขอเล่าในคราวหน้านะค่ะเรื่องนี้)  เข้าประเด็นคำนิยามต่อค่ะที่สำคัญการนัดสุมหัวกันแต่ละครั้งจะไม่ค่อยซ้ำสถานที่ค่ะ  เหมือนผีตองเหลืองยังงัยก้อยังงั้นแหละ ย้ายไปเรื่อย ๆ และจะไม่ค่อยอยู่ประจำที่(ยายน้องเมกับตาอู๊ดเข้ามาเฉลยเองนะค่ะว่ามีเคล็ดลับอะไรที่ต้องเปลี่ยนที่ไปเรื่อย  ไม่งั้นจะเปลี่ยนชื่อเป็นชุนชนผีตองเหลืองน๊า) 

หากย้อนเวลาไปตอนที่เรานัดสุมหัวกันครั้งแรก  จำไม่ลืมเลย ไปเจอกันที่ห้องประชุมส่วนอาคารฯ ตอนนั้นนั่งกันหน้าแห้ง ใจเหี่ยว คอยกันแล้วคอยกันอีก  กว่าจะมาถึงกัน  (จำได้ว่ามีน้องเม อู๊ด พี่โจ๊ก น้องเสก พี่เอ๋ พี่ต้อย และตัวข้าน้อยเอง) ไปนั่งปรับทุกข์กันมากกว่าแลกเปลี่ยน ถ้าจะได้สาระมั้งก็มาจากพี่โจ๊ก  แต่มาถึงวันนี้..................ไม่อยากจะเชื่อเลยค่ะน้องเมย์น่ะ/ อู๊ดน่ะ  นัดสุมหัวกันทีไรมากันตรึมมมมม......ทุกชุมชน  แต่ละชุมชนไม่น้อยกว่า 2 คนโดยซะเพาะ eOffice ที่ข้าน้อยสังกัดอยู่ยกกันไปครบทีม คุณอำนวย คุณประสาน คุณกิจ คุณลิขิต และทีมสนับสนุน ทั้งหมด 7 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเล่าระสบการณ์กัน  ได้สาระมากมาย และในคราวต่อไปน้องเมย์กับอู๊ดคงต้องหาสถานที่นัดใหม่ที่กว้างขวางหน่อยนะค่ะ  (สงสัยจะต้องเป็นลานเอนกประสงค์หน้าอาคารไทยบุรีซะละมั้ง....ล้อเล่นนะ...แตถ้าเป็นจริงก็สุดยอดเลยค่ะ)

น่าปลื้มใจจริง ๆค่ะ กับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ของเรา  พวกเราร่วมเรียนรู้และแบ่งปันความรู้กันมากขึ้น เนื่องจากเราเป็นกันเองกันมากขึ้น  คุยกันมากขึ้น  จากการที่คนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน  ทำงานในลักษณะงาน และ  work process เดียวกันมารวมตัวกันเป็นชุมชน ทำให้เราวางเป้าหมายการทำงานของกลุ่ม โดยใช้องค์ความรู้ของสมาชิกในชุมชนมาขับเคลื่อนให้เป้าหมายที่วางไว้สำเร็จ  และเมื่อมีปัญหาอุปรรคในการทำงานเราร่วมคิดร่วมแก้ไขไปพร้อมกัน  ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่ได้ทำงานโดดเดียวลำพัง  และเพื่อเราได้สร้างระบบงานใดขึ้นมาในองค์ของเรา ก็ไม่ได้เป็นระบบงานที่ใครสั่งให้ใครทำตาม   แต่เป็นระบบงานที่ใจของพวกเราทุกคนสั่งให้ทำเอง  "เรียกว่าทำด้วยใจสั่งมา" คงต้องขอบคุณ KM ที่ทำให้อะไร ๆ ก็ดีขึ้นไปหมดค่ะ  โดยเฉพาะทำให้ความรู้สึกของคนใน มวล.หลายคนดีขึ้น

 เหมือนกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในชุมชนคนทำ eOffice ตอนนี้คือหลายคนรู้สึกว่าทำงานเป็นทีมกับเพื่อน ๆ  แล้วมีพลัง  มองเห็นเป้าหมายอยู่ข้างหน้าไม่ไกลแล้ว เพียงเราพยายามเดินหน่อยก็จะถึงอยู่แล้ว เป็นการเดินไปยังจุดหมายที่ไม่ได้เดินเพียงลำพัง ระหว่างทางถ้าเจอขวากหนามอุปสรรคต่าง ๆ ก็มีคนช่วยคิด ช่วยแก้ไขอยู่ข้าง ๆ ตลอด และเมื่อเราเดินถึงจุดหมายแล้วหรือประสบความสำเร็จแล้ว นับว่าเป็นคามสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของทุกคนในชุมชนฯ และเพื่อนสมาชิกรายรอบชุมชนของเรา และส่งผลให้เกิดระโยชน์สูงสุดต่อองค์กรของเราด้วย

อยากจะให้" ชุมชนคนวลัยลักษณ์ " เป็นที่ชารต์แบตฯและแบ่งปันอาหารสมอง

ของคนทำ CoPs ตลอดไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 26088เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
บรรจงวิทย์ ยิ่งยงค์

สวัสดีครับพี่เปี๊ยก

ตั้งใจจะเข้ามาชมบล็อก /ลปรร.ตั้งแต่วันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา  แต่เปิดเน็ตจากที่บ้านไม่ได้ (ไม่ทราบว่าเครือข่ายล่มหรือ  อย่างไร) จึงเข้ามา ลปรร.ในวันนี้

ขอให้ข้อมูลในส่วนที่ถูกพาดพิงไว้  คือทำไมถึงต้องเปลี่ยนสถานที่ในการ ลปรร.ในแต่ละเดือน   เหตุผลเท่าที่คิดกันได้ในขณะนั้น  ก็คือ 1.หมุนเวียนให้แต่ละชุมชนฯเป็นเจ้าภาพ(ด้านสถานที่ /ส่วนด้านอาหารว่าง  OD รับผิดชอบ)  2.เปลี่ยนบรรยากาศในการลปรร./ไม่จำเจ  3.การไปจัดที่หน่วยงานอื่นๆ จะเห็นถึงจุดเด่น/ข้อควรเอาอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนเอง ( เช่นการจัดสถานที่  วัฒนธรรมการทำงาน เป็นต้น) 4.เพื่อจูงใจให้พนักงานในหน่วยงานเจ้าภาพกระตือรือล้นและสนใจในการจัดการความรู้มากยิ่งขึ้น  และอื่นๆอีก(แล้วแต่จะหยิบยกเหตุผลมาอ้าง)

    อย่าลืมเข้ามาสร้างบันทึกสำหรับการลปรร.บ่อยๆนะครับ ขอให้กำลังใจและขอสมัครเป็นสมาชิกประเภทประจำได้มั๊ยครับ

เปี๊ยก มวล.(ประไพ ศรีบุญเอียด)

ขอบคุณที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนค่ะ  ยินดีรับสมัครเป็นสมาชิกประเภทประจำค่ะ  แต่ต้องทำใจยอมรับหน่อยนะค่ะเพราะจะถูกใช้งานบ่อยหน่อยนะ คุณลิขิตกิตติมศักดิ์แห่งชุมชนคนทำ eOffice     จากเหตุผลของการย้ายที่นัดสุมหัวกันไปตามที่ต่าง ๆ แบบไม้ซ้ำซากจำเจ ที่อู๊ดเล่ามานับว่าเป็นกลยุทธ์การทำงาน CoPs ที่เลิศล้ำ  ข้าน้อยขอโกปี่ (copy) แนวคิดท่านเลยนะค่ะ  เพราะเริ่มคิดถึงเพื่อนสมาชิกชุมชนคนทำ eOffice อีกแร้วววววค่ะ  ไม่รู้เป็นไร ช่วงนี้คิดถึงเพื่อนบ๊อยบ่อย  อยากเจอบ่อย ๆ ค่ะ  คิดเอาไว้ในสมองน้อย ๆว่ าพ้นวันพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา ฯ สกอ. เมื่อไหร่ (01/05/49) จะโทรนัดวัน เพื่อ face 2 face เป็นกลุ่มย่อย ค่ะ แบ่งตามลักษณะหน่วยงาน และเรียงลำดับจากหน่วยงานที่เป็นศูนย์รวมของการบบริการ ประสานภารกิจก่อนตามลำดับดังนี้ 1)ส่วน/หน่วย ใน สำนักงานอธิการบดี และเลขานุการรอง/อธิการบดี  2)ศูนย์/สถาบัน  3.สำนักวิชา 4.ศูนย์วิทยบริการ/นปม.กท.  ในเรื่องการกำหนดวัน เวลา น้องหนิง(สุภักดิ์) ซึ่งเป็นฝ่ายเลขาฯของชุมชนคนทำ eOffice จะนัดกับเพื่อน ๆ อีกครั้งหนึ่งค่ะ และคงจะเวียนไปตามที่ต่าง ๆ ไม่ซ้ำที่เหมือนกับ ชุมชนคนวลัยลักษณ์นั่นล่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท