การทำงานวิจัยกับบุคลากรในมหาวิทยาลัย


ข้อที่น่าสังเกตและเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยมิสซูรี – เซนต์หลุยส์ แม้เพียงการสัมผัสจากคณะผู้บริหารระดับสูง คือ การให้ความสนใจสนับสนุนด้านการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารด้านการทำงานวิจัย กล่าวคือ ในหัวข้อการบรรยายทุกเรื่องจะต้องกล่าวถึงเรื่องการทำงานวิจัยแทรกซึมอยู่ตลอด เสมือนงานวิจัยเป็นหัวใจ และเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตของงานต่างๆของบุคคลในมหาวิทยาลัย

ครูอู๋ได้ไปเข้ารับ การอบรมผู้บริหารที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อต้นปี ๒๕๔๙ และกลับมาเขียนบทความเรื่อง "ประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี เซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกากับการวิจัยในมหาวิทยาลัยไทย" อาจนานไปหน่อย แต่ขอหยิบยกข้อความบางตอนที่คิดว่ายังไม่ล้าสมัยมาถ่ายทอดให้เพื่อนได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของประเทศไทยดังต่อไปนี้คะ

ข้อที่น่าสังเกตและเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยมิสซูรี เซนต์หลุยส์ แม้เพียงการสัมผัสจากคณะผู้บริหารระดับสูง คือ การให้ความสนใจสนับสนุนด้านการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารด้านการทำงานวิจัย กล่าวคือ ในหัวข้อการบรรยายทุกเรื่องจะต้องกล่าวถึงเรื่องการทำงานวิจัยแทรกซึมอยู่ตลอด เสมือนงานวิจัยเป็นหัวใจ และเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตของงานต่างๆของบุคคลในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาชุมชน การพัฒนานักศึกษา การประเมินบุคลากร หรือแม้แต่การอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม สำหรับแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารด้านการทำงานวิจัยนั้น ตัวอย่างท่านอธิการบดีเพียงคนเดียวก็อธิบายภาพของมหาวิทยาลัยมิสซูรี เซนต์หลุยส์ ได้ชัดเจนเกินพอแล้ว  ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยมิสซูรี เซนต์หลุยส์  ศาสตราจารย์ โทมัส เอฟ จอร์จ (Professor Tomas F. George) นั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากจะเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของUM-SL ซึ่งต้องมีบทบาทของอธิการบดี ผู้นำชุมชน และผู้บริหารที่หางบประมาณให้มหาวิทยาลัยเป็นหลักแล้ว ยังมีการทำงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ ท่านเป็นศาสตราจารย์ด้านเคมีและฟิสิกส์ รวมทั้งเป็นนักวิจัยที่มุ่งมั่นกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อพัฒนาทฤษฎีและเทคนิคทางคณิตศาสตร์ ผสมผสานกับคอมพิวเตอร์ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ ด้าน Chemical / materials Laser physics    ซึ่งประยุกต์ไปสู่วิทยาการด้านนาโนเทคโนโลยี

หมายเลขบันทึก: 260800เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2009 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถ้าบุคลากรในมหาวิทยาลัยไทยโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล มีความคิดและการปฏิบัติแบบนี้ก็วิเศษเลยนะ ขณะนี้นะมีบางคนไม่ทำวิจัยแล้วชอบว่า(นินทา)คนทำวิจัยด้วย

จุ๋งเองค่ะ

นั่นซิคะ คงต้องขอให้อาจารย์รุ่นใหม่(ไม่เกี่ยวกับอายุนะคะ) ช่วยกันทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ได้แล้ว

เมื่อประมาณ ปี 1996 ผมนำทีมเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณอีก 3 คน ไปที่มหาวิทยาลัยวิสคอนสิน เมืองเมดิสัน อยู่ที่นั่นประมาณ 1 เดือน และได้และได้บรรยายเรื่องเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่วนจนท.ลูกทีมผมอีกคนบรรยายเรืองระบบงบประมาณของประเทศไทย ที่ห้องบรรยาย คณะ School of Extention Education ของ Wisconsin University มีคนถามว่าประเทศไทยมีระบบการศึกษาฟรีไม่ต้องจ่ายเงินเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ หรือไม่ และฟรีถึงชั้นใหน  ตามความเป็นจริงแล้วระบบการศึกษาของเรานั้นไม่ได้เรียนฟรีจริงๆเหมือนของเขา สหรัฐอเมริกา จะฟรีจริง รถรับส่งนักเรียนสีเหลือง ตำราเรียน ทั้งไม่ต้องแต่งเครื่องแบบ ฯลฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท