nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

อ่านแล้ว...โรงเรียนนอกกะลา


“อ่านไม่ง่าย” ค่ะ เพราะอ่านแล้วต้องคิดเยอะ

         

 

 

 

          คุณเอก (จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร)  กรุณาส่งหนังสือดีชื่อ โรงเรียนนอกกะลาไปให้  ทั้งได้เขียนบรรยายสรรพคุณไป ๓ ข้อ  

·        ทำให้  เข้าใจกระบวนการพัฒนาคนโดยใช้ การบูรณาการหลักสูตร และ การพัฒนาจิตใต้สำนึก

·        อ่านง่าย สนุก สร้างแรงบันดาลใจได้ดี

·        เหมาะสำหรับทุกอาชีพ  ไม่เฉพาะ ครูแต่อาชีพด้านสาธารณสุขก็จำเป็นเพราะรูปแบบงานต้องเกี่ยวข้องกับ Educator

ข้อสุดท้ายนี่พยายาม โน้มน้าวแกมบังคับให้ฉันอ่าน

โชคดีที่ได้อ่านหนังสือดีเล่มนี้ตอนสมองกำลังยุ่งเหยิง เพราะกำลังทำงานยากคือ

ถูกขอให้ช่วย ให้ความเห็นต่อหลักสูตรอบรมแกนนำมุมเพื่อนใจวัยรุ่นของศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี  หนังสือเล่มนี้ช่วยจุดติดความคิด  สรรพวิชาที่ลงหม้อถ่วงน้ำไปแล้วค่อยฟื้นคืนชีพ  ความยุ่งเหยิงของสมองบรรเทาลง

         

เป็นหนังสือที่อ่านจบแล้ว  ไม่สามารถเล่าเรียงร้อยเป็นบทวิจารณ์หนังสือเหมือนที่เคยทำ   จึงขอลอกโน้ตย่อที่แอบเขียนไว้ขณะอ่าน  ดังนี้

 

·        จับใจที่ชื่อ  โรงเรียนนอกกะลา  บอกสาระสำคัญของสิ่งที่หนังสือต้องการสื่อกับคนอ่านชัดเจนมาก

·        เขียนสารบัญได้คมเฉียบ   

o       ภาคหนึ่ง...กะลา

o       ภาคสอง....ความหวังและการงอกใหม่นอกกะลา

o       ภาคสาม....สมองกับการเติบโตนอกกะลา

o       ภาคสี่....เติบโตนอกกะลา

o       ภาคห้า...กะทิ

คุณต้องเข้าใจคำว่า กบนอกกะลาเสียก่อน  จึงจะเข้าใจว่าแต่ละภาคบรรจุเนื้อหาอะไรบ้าง

·        เป็น คู่มืออันล้ำค่าของครูที่ไม่ลงรายละเอียดของเนื้อหา ทฤษฏี เพราะไม่ใช่ตำราแต่บอกเล่าสิ่งที่น่ารู้  บอกเล่าสิ่งที่ทำ  เล่าไปเรื่อยๆ คุณต้อง ผูกโยงและสรุปความคิดรวบยอดเอาเอง  ต้องอ่านช้าๆ  จินตนาการ และค่อยละเลียด

·        เป็นหนังสือที่ไม่เบ็ดเสร็จ  เพียงจุดประกายให้คิดและเชื่อมโยง  จากความรู้เก่า (ถ้าคุณเป็นครู) ที่เรียนมานานแล้วและลืมไปแล้ว  หรือ  ถ้าคุณไม่เป็นครู  คุณอาจมีไฟที่จะไปหาตำราครูมาอ่านซะให้มันรู้เรื่อง

·        อ่านผ่านๆ จะจับสาระสำคัญไม่ได้  เพราะดูเหมือนผู้เขียนจะจับตัวหนังสือ หรือ วลี มาวางเรียงกันในที่ที่พอเหมาะพอเจาะ  ต้องอ่านอย่างใคร่ครวญ

 

ฉันแอบอ่านหนังสือเล่มนี้ในห้องประชุม  คงอ่านไปยิ้มไป  สลับกับจดยุกยิกๆ ในกระดาษ  ประชุม

เลิก  มีคนเดินเข้ามาถาม  พี่นุ้ยเป็นอะไร นั่งยิ้มคนเดียว

          อ่านหนังสือจบแล้ว  เห็นแย้งกับคุณเอกข้อเดียวที่ว่าอ่านง่าย  อ่านไม่ง่ายค่ะ  เพราะอ่านแล้วต้องคิดเยอะ

          คุณครูใน G2K คงอ่านกันหมดแล้ว

แนะนำให้ท่านอื่นๆ อ่านค่ะ  ไม่ผิดหวังนะคะสำหรับหนังสือดีเล่มนี้.

 

จันทร์ที่ ๔ พ.ค.๒๕๕๒

 

หมายเลขบันทึก: 259312เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

จะหาอ่านนะคะ

ขอบคุณที่แนะนำค่ะ

จะได้ยุกๆยิกๆบ้าง อิอิ

ที่ตั้งใจส่งไปให้เพราะ พี่นุ้ยเข้าไป พูดคุย แลกเปลี่ยนในประเด็น Humanized Educare ครับ ผมมองว่าประเด็นการศึกษาสำคัญ และคนนอกวงการสนใจ แสดงว่า เขา (เธอ) สนใจและอยากเรียนรู้จริงๆ

 

ดีใจครับ ที่พี่อ่านแล้ว "ยิ้ม"  (ผมรู้สึกว่ามีความสุขไปด้วย)

เรื่องจากหนังสือ เชื่อมโยงกับสังคมการศึกษา ทำให้เราคิดไปได้มากเหมือนกันครับ

ผมอยากให้นักการศึกษาได้อ่าน..เพราะ กระบวนการสร้างเด็ก โดยเฉพาะ การปลูกฝัง "จิตใต้สำนึก" ที่ดี เป็นกระบวนการที่ปราณีต ใส่ใจ และสำคัญมาก

"...ผู้เขียนจะจับตัวหนังสือ หรือ วลี มาวางเรียงกันในที่ที่พอเหมาะพอเจาะ  ต้องอ่านอย่างใคร่ครวญ..."

ผมเห็นด้วยนะครับกับประโยคนี้

โดยเนื้อหา เป็น Tacit knowledge ของนักการศึกษาท่านหนึ่ง (ครูวิเชียร ไชยบัง) ที่ผสาน Explicit+Tacit knowledge ได้อย่างลงตัวและมีพลังในแต่ละวรรคตอนครับ

 

กระผมยังยืนยัน ๓ ข้อนี้นะครับ

·        ทำให้  เข้าใจกระบวนการพัฒนาคนโดยใช้ การบูรณาการหลักสูตร และ การพัฒนาจิตใต้สำนึก

·        อ่านง่าย สนุก สร้างแรงบันดาลใจได้ดี

·        เหมาะสำหรับทุกอาชีพ  ไม่เฉพาะ ครู แต่อาชีพด้านสาธารณสุขก็จำเป็นเพราะรูปแบบงานต้องเกี่ยวข้องกับ Educator

 

ขอบคุณครับ

มีคนกร่อนความรู้จากหนังสือเล่มนี้ แทนผมแล้วคร้าบ ;)

ยินดีมาก ๆ ครับ ... แอบเห็น ๆ

อีกนิดนะครับ

 

พี่นุ้ยใช้คำบันทึกที่สวยงามครับ ชื่นชมครับ

 

Pสำหรับ comment ที่ 3

ผมก็ยังรอมุมมอง "โรงเรียนนอกกะลา" จากอาจารย์อยู่นะครับ..

เอาอีกแล้ว คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;) ...

(ขออภัยท่านเจ้าของบันทึกครับ อิ อิ ... แวะมาคุยกันในบันทึกคนอื่น)

ช่วงนี้ Project อ่านหนังสือมันมากมายครับ ... ช่วงนี้เป็นเรื่องของ "กรรม" "ตัดกรรม" "ฐานกรรม" "บุญกรรม" อะไรประมาณนี้ครับ

555

สวัสดีค่ะ krutoi

ไปหาอ่านนะคะ คุณครูจะมีความสุข เห็นลู่ทางไปสอนศิษย์

ที่ ยุกยิก ยุกยิก น่ะ ความคิดมันแล่น เลยต้องรีบโน้ตเอาไว้ (ใกล้แก่แล้ว ลืมเก่ง)

  • สวัสดีค่คุณเอก
  • กลับย้อนไปอ่านบันทึก เอ...ไม่มีตรงไหนซักที่ "ขอบคุณ" น้ำใจเจ้าของหนังสือ มันน่าตีมือ...ขอบคุณจากใจอีกครั้ง (หลังจากของคุณทางเสียงไปแล้ว)
  • "เรื่องจากหนังสือ เชื่อมโยงกับสังคมการศึกษา ทำให้เราคิดไปได้มากเหมือนกันครับ" นี่ละเป็นเหตุผลที่อ่านหนังสือช้า...มาก....เพราะอ่านไปคิดไปเรื่อย....จดยุกยิกไปเรื่อย
  • พี่จะลองฝึกเล่าเรื่องที่เป็น Tacit knowledge จากประสบการณ์ทำงานทักษะชีวิต การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (บังอาจมากนะเธอ) สักวัน (กำหนดว่าเลยวันที่ ๘ พ.ค ไปก่อน-ตอนนี้งกอ่านบันทึกของชาว G2K)
  • คุณเอกนี่ละที่เปิดความคิดเรื่อง Education ของพี่ หลังจากเรื้อไปนาน ๒ ปี  ขอบคุณอีกครั้ง
  • พี่กำลังตกผลึกความคิดเรื่อง Humanized Health Care เข้ามาหากัลยาณมิตรใน G2K ก็ได้เจอ คุณเอกเป็นหนึ่งในนี้
  • สุดท้าย ยังยืนยันว่า "อ่านยากค่ะ" ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า...
  • สัวสดีค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn
  • "มีคนกร่อนความรู้จากหนังสือเล่มนี้"  ต้องเป็นนักอ่านรุ่นโบราณเท่านั้นที่เอาคำนี้มาใช้
  • "ผมก็ยังรอมุมมอง "โรงเรียนนอกกะลา" จากอาจารย์อยู่นะครับ.."  รอด้วยค่ะ
  • ไม่ขัดข้องที่ ๒ เซียนหนังสือเข้ามาทุ่มเถียง..เอ๊ย..ทักทายกันในนี้  (เราจะได้แอบฟังด้วยไง)
  • ปี ๕๑ ทั้งปีเป็นช่วงเวลาของการเดินทางผ่านความทุกข์  ได้อ่านเรื่องทำนอง "กรรม" "ตัดกรรม" "ฐานกรรม" "บุญกรรม" มาก ทั้งอ่านและปฏิบัติ  ได้เรียนรู้มากมาย  การเข้าถึงเรื่องนี้ได้ต้องมีบุญบารมีเก่าพอสมควร
  • มีความสุขกับการอ่านนะคะ
  • อ่านไม่เก่ง ก็เลยมาอ่านรวบยอดที่นี่ละ อิอิ
  • ว่าแต่ เป็น นร. เกนะเนี่ยะ แอบอ่านในที่ประชุม
  • และช่วยสรุป ความเป็น Educator ให้ฟังหน่อยสิจ๊ะ

"มีคนกร่อนความรู้จากหนังสือเล่มนี้"  ต้องเป็นนักอ่านรุ่นโบราณเท่านั้นที่เอาคำนี้มาใช้ (1274351)

 

มาอมยิ้มกับประโยคนี้ครับ........

--------------------------------------------------------------------

ความจริงผมให้การบ้าน อ. Wasawat Deemarn ประเด็น "โรงเรียนนอกกะลา" เหมือนกันครับ ทำไมตอนนี้ไป "ตัดกรรม-สร้างกรรม" อะไรอีกก็ไม่รู้นะครับ

 

กรรมจากคนให้การบ้านครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ... ยังมิรู้ตัว 555 ... ตัดให้หมด งดให้นาน ..

เอ ! แต่ "สร้างกรรม" นี่ ผมไม่ได้เขียนลงไปนี่นา เอามาจากหว่า :)

อ. Wasawat Deemarn โอ...ผมทำกรรมแล้วเหรอครับเนี่ยะ..?!?!

ขออโหสิให้ผมด้วย วันที่ไปเชียงใหม่ ผมจะดับเบิล กาแฟลาเต้เย็น + มอคค่า(กาแฟที่ชื่อสุภาพ มอคค่าาาาา)  ให้นะครับ

ถือว่า "ตัดกรรม"  555

มันต้องอย่างนั้นสิครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร อิ อิ ... งานเข้าอีกแล้วครับพี่น้อง แง แง

... เอาบันทึกมาแลกกาแฟอีกแย้วผม ... ตัดกรรม แบบตาค้างอ่ะครับ

555

  • สวสัดีค่ะหมอนน
  • Educator เป็นคำของคุณเอกเขาค่ะ  ต้องให้เขามาขยายความเอง
  • สุภาพบุรุษ ๒ ท่านนี้เข้ามาตัดพ้อต่อว่าอะไรกัน ตัวเองอ่านแล้วรู้เรื่องมั๊ยเนี่ย
  • สบายดีหรือเปล่า  คิดถึงจ๊ะ
  • P
  • แหม ดีออก มีหนุ่มๆ มา ment กัน ในบันทึกของตัวเอง
  • เพราะว่า ตัวเอง เป็นนักอ่าน และนักสกัดความรู้ ที่ดีไง

คือผมอ่านหมดแล้วทุกบทนะครับ แต่สงสัยแค่บทที่ 5 บทเดียวว่าความหมายขอคำว่ากะทิมันคืออะไร ผมไม่แน่ใจในสิ่งที่ผมคิดอ่ะครับ

เรียนคุณ Kanz_JP_BeMine

ขอโทษจริงๆ ที่เพิ่งเข้ามาอ่าน ไปหาหนังสือมาอ่านใหม่อีกรอบแล้วจะเข้ามาคุยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท