การประชุมการดูแลรักษาความปวดในเด็กระยะสุดท้าย ณ สถาบนสุขภาพเด็กมหาราชินี


Pain Management in Pediatric Plliative Care

วันนี้ 4 พฤษภาคม 2552 ฉันมีโอกาสไปเป็นวิทยากรที่สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี  ในการประชุมเรื่องการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กระสุดท้าย "Pain Management in Pediatric Palliative Care"ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด  จำนวน 100 คนเศษ ณ ห้องประชุมชั้น 12 สถาบันสุขภาพเด็กฯ (ชื่อเดิมคือ รพ. เด็ก)

Chbk1

โดยมีวิทยากรในและต่างประเทศ

พี่เกื้อ เกื้อจิตร แขรัมย์ : บรรยายเรื่องการดูและผู้ป่วยระยะสุดท้ายวิถีพุทธ

 

พี่เกื้อจิตร แขรัมย์ จาก รพ. บุรีรัมย์ (ที่ออกรายการเพื่อแผ่นดิน) ได้ถ่ายทอดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัววิถีพุทธแบบมืออาชีพ (ทุ่มเทด้วยใจและจิตวิญญาณ) สุดยอด ขอชื่นชมพี่เกื้อมา ณ ที่นี้ค่ะ

Professor G. Allen Finley : การประเมิน pain ในเด็ก และ ChildKind Principle

รศ. วิมลรัตน์ ศรีราช : Pharmacological pain management in pediatric palliative care

อาจารย์ Allen, และอาจารย์อ้อรับมอบของที่ระลึกจากท่าน พญ. วินัดดา ประธานโครงการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย และผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล รพ. เด็ก

และเกศนี บุณยวัฒนางกุล : Non-Pharmacological pain management; บทบาท APN ใน Pediatric palliative care

ขอบพระคุณท่านอาจารย์อาวุโส สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินีที่มอบของที่ระลึกให้ คือ ท่าน อาจารย์ นพ. ศรีวงศ์ หะวานนท์ ซึ่งนั่งฟังตลอดขณะที่ฉันบรรยาย และท่านได้กล่าวคำชม(ฉันรู้สึกประทับใจ)

"ฉันมองว่าการจัดการความปวดในเด็กระยะสุดท้าย มีความสำคัญที่บุคลากรทีมสุขภาพ ต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและครอบครัวให้มีวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการกับความปวดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง การประเมินความปวดที่เหมาะสมในเด็ก การรักษาทางยา ทางเลือก กิจกรรมเสริม การดูแลด้านจิตสังคม การตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ และดีที่สุดต้องดูและร่วมกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ถึงจะทำให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด เหนือสิ่งอื่นใดเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กและครอบครัว"

ขอบคุณ

คณะกรรมการจัดการประชุม สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี

อาจารย์หน่อย พญ. เดือนเพ็ญ หอรัตนาเรือง (ผู้ประสานงานและดำเนินการฯ) มา ณ ที่นี้

Kesane.update May 2, 2009, 1O:45 pm..

หมายเลขบันทึก: 259305เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะพี่เกศ

ดีจังเลยค่ะ

ที่ทุกคนสนใจความปวดในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

มันทรมานมากๆ

คนที่ดูแลก็...ทุกข์ทรมาน

จำหลายๆ caseได้...

สวัสดีค่ะ

มาราตรีสวัสดิ์ก่อนนอน

ขอให้พี่เกศหลับฝันดี

เจอกัน 9พ.ค.นะคะ

  • P
  • ด้วยความยินดี
  • เจอกัน ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะแดง

น้องเกศช่วยอธิบาย Childkind Principle ให้ด้วยนะครับ

P

  • สวัสดีค่ะอ. เต็มที่เคารพ
  • เกศก็พึ่งทราบเรื่อง ChildKind Principle จากอาจารย์ศรีเวียงและอาจารย์ Allen ค่ะ
  • อาจารย์ศรีเวียงเข้าประชุมด้วยค่ะที่อิตาลี เป็นการประชุมครั้งแรก (Special interest group PINN IN CHILDHOOD, International association for the study of pain)
  • เป็นโปรแกรมที่ facilitate WORLDWIDE
  • initiate โดย Professor Neil Schechter และ Professor G. Allen Finley, Dec 7, 2008
  • เป็นโปรแกรมใหม่ที่ต้องการให้มีการจัดการความปวดที่มีประสิทธิภาพในเด็กในโรงพยาบาล
  • เหมือนนมแม่ หรือ breast feeding ใน Baby friendly hospital ที่ประสบความสำเร็จมาก่อน
  • โดยมี Criteria 5 ข้อ

       1) มีนโยบายชัดเจน; policy visible

       2) education Module สำหรับทีมสุขภาพ ผู้ป่วยเด็ก และญาติ

       3) Assessent and patient record

       4) Any Protocols develed to relief pain in children

       5) Self-monitoring จากข้อ 1-4 ค่ะ

ถ้าผ่านเกณฑ์ ก็ประกาศเป็น PAIN FREE HOSPITAL กล่าวคือได้รับการรับรองเป็น ChildKind เกศเข้าใจประมาณนี้ค่ะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ท่านอาจารย์ศรีเวียงค่ะ

  • ขอบคุณค่ะ มีความสุขในวันหยุดค่ะ

 

 

ขอบคุณครับน้องเกศ กระจ่างเลย

อาทิตย์หน่้าจะได้เจอพี่มด ที่ประชุมเครือข่ายฯ ครั้งแรก

  • ขอบคุณค่ะ อ. เต็ม
  • อ. มดกล่าวถึงอาจารย์ตลอด (ในทางที่ดีค่ะ)
  • ประชุมเครือข่ายโรงเรียนแพทย์ (?)
  • ที่ไหนคะ น่าสนใจ
  • ทำอะไรบ้าง ถ้าอาจารย์จะกรุณาเล่าให้ฟัง
  • ขอบพระคุณค่ะ

P

  • รายละเอียดและความคืบหน้าต่อไป ดูได้ที่ เว็บนี้ ครับ

สวัสดีค่ะ พี่เกศ

หมอมารายงานตัวค่ะ

ดีใจมากๆได้มาพบพี่อีกครั้ง จะได้มาขอเรียนอะไรเพิ่มอีก ค่ะ

  • P สวัสดีค่ะคุณหมอโอ๋
  • ไม่คิดว่าจะเจอที่นั่น
  • ดีใจมาก
  • Keep in touch ค่ะ
  • P ได้ยินแต่ท่านอาจารย์ศรีเวียงเล่าว่าอาจารย์เป็นประธานเครือข่าย
  • เข้าไปอ่านในเวป
  • ได้อะไรเยอะมากมากค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • เกศ Add favorites site ไว้แล้วค่ะ

มาชื่นชมยินดีกับพี่เกศอีกครั้งค่ะ

ความภูมิใจของแผนก ที่ไม่มีที่สิ้นสุด

  • P
  • สวัสดีค่ะน้องกุ้ง
  • พี่เกศภูมิใจในตัวกุ้งเช่นกัน
  • กุ้งคือคนคุณภาพของแผนกเรา
  • โดยเฉพาะการรังสรรค์งานการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายมิติจิตวิญญาณ (Spiritual and Bereavement care)
  • กุ้งคือ Bereavement Co-ordinator

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท