ศิลา
น.ส. ศิลาวัน หล้า จันทรบุตร

สรุปบทเรียน ตอนที่ 1 ต่อ


องค์ความรู้เรื่องมันสำปะหลัง

สรุปบทเรียน   การทดลองปฏิบัติราชการ ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรตอน 1(ต่อ)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเกษตรกร(มืออาชีพ)

การถอดองค์ความรู้เรื่องประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง

ประวัติเกษตรกร   คุณประเสริฐ  เสิศจรัสสกุลถาวร  อายุ 46 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 98  ม.9  ต.ทรงธรรม  อ.เมือง  จ.กำแพงเพชร  เป็นเกษตรกร  และยังเป็นนายก อบต.  ตำบลทรงธรรม  ทำไร่อ้อย  200 ไร่  มันสำปะหลัง  100 ไร่  ทำไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลังมาแล้วเป็นเวลา 15 ปี  สำหรับมันสำปะหลังนั้นเดิมได้ปลูกพันธุ์พื้นเมือง   ได้ผลผลิตเฉลี่ย 2.5 ตัน/ไร่  และมีการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมาตลอด   แต่ต่อมาได้ใช้พันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริมให้นำมาปลูกในพื้นที่   มีพันธุ์ระยอง 1,ระยอง 3  ได้ผลผลิตเฉลี่ย 4  ตัน/ไร่ในปีแรก  แต่ให้ % แป้งต่ำ  ไม่เป็นที่ต้องการของลานมันจึงได้เปลี่ยนมาปลูก  พันธุ์ระยอง 9  ได้ผลผลิต 5-6 ตัน/ไร่  (2 ปี)  แต่การเก็บรักษาท่อนพันธุ์มีข้อจำกัดของพันธุ์ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน   และได้เห็นเพื่อนบ้านปลูกพันธุ์ระยอง 5  ซึ่งได้ผลผลิตดี  %แป้งสูง  ท่อนพันธุ์สามารถเก็บไว้ได้นานจึงปรับเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ระยอง 5   มาอย่างต่อเนื่อง  แต่เมื่อปี 50  ได้มีการระบาดของโรค-แมลง-เป็นโรคไหม้และเพลี้ยแป้ง  เมื่อนำพันธุ์ไปปลูกในพื้นที่ก็ยังเป็นโรค  จึงได้มีแนวคิดหาพันธุ์ใหม่มาทดแทนในพื้นที่  โดยการแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและการศึกษาดูงานตามจังหวัดต่างๆ  (หลักสูตรการใช้จุลินทรีย์ในการเพิ่มผลผลิตมัน)  มีพันธุ์ห้วยบง 60  เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 9  โดยนำมาปลูกเมื่อปี 51 และมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนจากการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ลักษณะพื้นที่ปลูก  เป็นดินทราย  ดินล่างเป็นลูกรังและชั้นที่ 2 เป็นดินดาน   การระบายน้ำดี   มีการปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่  2 ปี/ครั้ง  (2 ปีปลูกข้าวโพด 1 ครั้ง รากตื้น)โดยปลูกข้าวโพดสลับในไร่มันทุก 2 ปี  จากประสบการณ์ในการปลูกมันอย่างต่อเนื่อง  จะทำให้การเจริญเติบโตของต้นมันไม่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวโพดสลับที่ทำให้มันเจริญเติบโตได้ดีกว่า  ซึ่งการปลูกข้าวโพดสลับจะเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุจากการไถกลบตอซังข้าวโพดทำให้ผลผลิตของมันเพิ่มขึ้น  ไม่เคยทำการวิเคราะห์ดิน เนื่องจากไม่ทราบสถานที่ตรวจวิเคราะห์

การเตรียมดิน  คุณประเสริฐได้มีการเตรียมดิน 5 ครั้ง  ครั้งที่ 1 ไถผาน 3  ลึก  80 ซม.  โดยก่อนไถจะหว่านวัสดุดังนี้   แกลบดิบ  3 ตัน/ไร่  มูลวัว 400กก./ไร่  กากอ้อย 5 ตัน/ไร่  โดยปรับเกลี่ยให้ทั่วแปลง  จากนั้นสูบน้ำราดทิ้งไว้จนดินหมาด  ตากทิ้งไว้ 1 อาทิตย์  เพื่อให้โครงสร้างของดินมีการแตกตัวได้ง่ายขึ้น  ครั้งที่ 2 ไถหลังจากตากดินทิ้งไว้ 7 วันแล้ว ด้วยผาน 3  ซึ่งจะทำให้การไถหน้าดินลึกมากกว่าเดิมประมาณ 10 ซม.(เป็นการทำลายชั้นดาน)ปล่อยทิ้งไว้ 3 วัน  เพื่อให้ดินแตกตัวได้ดียิ่งขึ้น ครั้งที่ 3-4 ทำการไถด้วยผาน 7 จำนวน 2 รอบ(การไถครั้งที่ 2 จะเป็นการไถตัดขวางรอบที่1 )เพื่อเป็นการปรับดินให้ดินแตกละเอียดเหมาะสำหรับการปลูกมัน  จะทำให้มีการงอกและการเจริญเติบโตได้ดี  ครั้งที่ 5  ทำการไถยกร่องปลูกด้วยรถแทรกเตอร์ใหญ่  ขนาดร่องกว้าง 10 เมตร

การเตรียมพันธุ์  แหล่งที่มาจากพื้นที่ของตนเอง   โดยคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีอายุ  7-10 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงอายุพันธุ์ที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี  พันธุ์ที่ปลูกมีพันธุ์ห้วยบง 60,เกษตรศาสตร์ 50 ,ระยอง9  การเก็บท่อนพันธุ์ตัดสูงจากโคนต้นและปลายยอดประมาณ 50 ซม.  แล้วจึงนำมากองไว้โดยให้ส่วนโคนชิดสัมผัสกับพื้นดินทิ้งไว้ 7 วันใต้ร่มไม้  แล้วจึงทำการตัดต้นพันธุ์ด้วยเลื่อยวงเดือน   ตัดยาว 50 ซม.ตัดในลักษณะตรง   แล้วจึงนำไปจุ่มน้ำก่อนปลูกเพื่อเป็นการกระตุ้นท่อนพันธุ์ให้มีความชื้น (ตื่นตัว)

วิธีการปลูก   โดยการจ้างแรงงานปลูกในช่วงเดือน ก.พ.  ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวx ต้น 1.10x1 ม.  โดยวิธีการปักตรงลึก 25 ซม.ไม่ได้ปลูกตรงสันแปลง  แต่ปลูกในร่องระหว่างแปลง  เนื่องจากคุณประเสริฐใช้ปุ๋ยหมักโรยระหว่างร่อง  แล้วทำการกลบดินด้วยแรงงานคน   จากนั้นจึงทำการปักท่อนมัน

ระบบน้ำ  ใช้น้ำคลองสาธารณะโดยวิธีสูบราดในพื้นที่  ในช่วง 3 เดือนแรกทุก 15 วัน  จำนวน 45 ครั้ง  ถ้าฝนตกจึงหยุดให้น้ำ   ในฤดูกาลนี้คุณประเสริฐให้น้ำจำนวน 4 ครั้งเนื่องจากไม่มีฝนตก

การกำจัดวัชพืช  โดยใช้แรงงานคนไม่มีการใช้สารเคมี   เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตายและทำให้โครงสร้างของดินเสีย   ทำการกำจัดวัชพืชจำนวน 3 ครั้ง  ในช่วงมันมีอายุ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน  เพราะให้ต้นมันโตพ้นหญ้า

การกำจัดศัตรูพืช   ไม่พบศัตรูพืช  โรค  แมลง  ซึ่งคุณประเสริฐคิดว่าการใช้จุลินทรีย์กับมันจะทำให้มันสำปะหลังแข็งแรงมีความต้านทานโรค

ปุ๋ย   ใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตเองโดยได้สูตรจากการฝึกอบรมของธกส.  มีส่วนผสมดังนี้  ขี้ไก่แกลบ  500 กก.(ขี้ไก่เนื้อ)   ขี้ไก่ไข่  750  กก.   โดโลไมท์ 1 ตัน   แร่เฟอร์ไรท   1 ตัน จุลินทรีย์  (12 สายพันธุ์) 60 ลิตร   กากน้ำตาล 60 ลิตร  รำละเอียด  500 กก.(ทุกส่วนผสม  อัตราต่อพื้นที่ 2 ไร่)   มูลโค  300 กก./ไร่  น้ำ  150 บาท/ไร่   

ขั้นตอนวิธีทำ 

1.  นำจุลินทรีย์,กากน้ำตาล  มาผสมน้ำ 800 ลิตร 

2.  นำส่วนผสมที่เหลือมาผสมจนเข้ากัน  แล้วนำจุลินทรีย์ที่ผสมไว้  นำมาราดทั่วทั้งกอง

3.  หมักทิ้งไว้ 15 วัน  โดยมีการกลับกองทุกวัน  เพื่อระบายความร้อนและให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีขึ้น  ทำให้กองปุ๋ยหมักย่อยสลายได้เร็วขึ้น

4.  ทำการบรรจุกระสอบและนำไปใช้ 

คุณประเสริฐได้มีวิธการใช้ปุ๋ยดังนี้   

1.ใช้รองพื้นในระหว่างร่องก่อนทำการปักท่อนพันธุ์โดยโรยเป็นแถวยาว  อัตรา 1  ตัน/ไร่

2.เมื่อมันอายุได้ 1 เดือน  จึงทำการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2  ด้วยปุ๋ยอินทรีย์   โดยใส่ระหว่างต้นมัน  ก่อนอื่นจะใช้จอบขุดระหว่างต้น  แล้วใส่ปุ๋ยประมาณ  0.5  กก./ต้น  รวมเป็น 1 ตัน/ไร่

การเก็บเกี่ยว   เก็บเกี่ยวเมื่ออายุมันได้ 12 เดือน  โดยจ้างเหมาในอัตราตันละ 300 บาท  พร้อมขนส่งจนถึงลานมัน  ผลผลิตที่ได้ในแปลงเฉลี่ย  16  ตัน/ไร่(พันธุ์ห้วยบง 60,พันธุ์ระยอง 5,พันธุ์ระยอง 9 ,เกษตรศาสตร์ )

ต้นทุนการผลิต   1.ขั้นตอนการเตรียมดิน  ค่าใช้จ่าย 780 บาท/ไร่  แยกเป็นค่าไถผาน 3  ครั้งที่ 1  250 บาท/ไร่  ค่าไถผาน 3  ครั้งที่ 2  200 บาท/ไร่  ค่าไถผาน 7 (2 ครั้ง) 180 บาท/ไร่  ค่ายกร่อง 150 บาท/ไร่   2.ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์  ค่าท่อนพันธุ์  500 บาท  3.ขั้นตอนการกำจัดวัชพืช  585  บาท/ไร่  4.ขั้นตอนการใส่ปุ๋ย  ค่าปุ๋ย 390 บาท/ไร่  ค่าแรงกระจายปุ๋ยปรับสภาพดิน  200  บาท/ไร่  ค่าวัสดุปรับสภาพดิน  3,000 บาท/ไร่  ค่าวัสดุทำปุ๋ยชีวภาพ(รวมค่าน้ำด้วย)เท่ากับ 5,010 บาท(พื้นที่ 2 ไร่)  5.ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว  ค่าจ้างเหมาขุดมัน  ตันละ 300 บาท  รวมเป็นเงินทั้งหมด  4,800 บาท/ไร่  รวมต้นทุนการผลิตทั้งหมด  15,865  บาท/ไร่

การตลาด   ขายให้สหกรณ์นิคมนครชุม  ต.นครชุม  อ.เมือง  จ.กำแพงเพชร   

ขายในโครงการ  1,700x16=27,200 บาท/ไร่   ได้กำไร  27,000-15,865 =11,335  บาท/ไร่

ขายนอกโครงการ 1,200 x16 =19,200  บาท/ไร่  ได้กำไร   19,200-15,865=3,335  บาท/ไร่

ปัจจัยแห่งความสำเร็จและความคาดหวัง  ที่คุณประเสริฐทำมันได้ผลผลิตสูงเนื่องจาก

1. คุณประเสริฐ  เป็นบุคคลที่มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  เทคโนโลยีใหม่ๆในการผลิตมันสำปะหลังให้มีผลผลิตสูงและมีการนำมาทดลองในไร่ตนเอง

2.ให้ความสำคัญในการปรับสภาพดินโดยใช้อินทรียวัตถุเป็นอันดับแรก  และมีการใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมในพื้นที่   พร้อมมีการใส่ปุ๋ยชีวภาพและการให้น้ำในช่วงที่เหมาะสมกับมันสำปะหลังที่มีความต้องการน้ำและแร่ธาตุ

3.จุดเด่นคือของเกษตรกร  เป็นผู้นำที่ดี  โดยการนำความรู้ที่ได้มาทดลองปฏิบัติด้วยตนเองก่อนที่จะนำไปขยายผลให้ชาวบ้านนำไปใช้ต่อไป  โดยคุณประเสริฐบอกว่า   เพื่อให้เกิดแรงจูงใจ  และเกิดข้อแตกต่าง

ข้อมูลโดยคุณประเสริฐ  เลิศจรัสสกุลถาวร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 258947เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับน้องหล้า
  • ขอบคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน
  • หมั่นเขียนมาแลกเปลี่ยนกันบ่อยๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท