การขยายเครือข่ายไปสู่ UniNET2


วิทยาลัยชุมชน

เมื่อวานนี้ (๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒) ได้เข้าร่วมสัมมนา "การจัดการเรียนการสอนตลอดชีวิตด้วยอีเลิร์นนิ่งและการประเมินหลักสูตรออนไลน์และสถาบันที่ให้บริการ" ณ ประชุมชั้น ๗  อาคาร๙๐ ปีฯ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งจัดโดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

เวลา ๐๙.๑๕-๐๙.๓๐ น. ได้ฟังการบรรยายจาก ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายการพัฒนาเครือข่าย UniNET (อ่านเรื่อง UniNET เพิ่มเติมใน www.uni.net.th) และได้รับทราบว่า สกอ. ได้รับงบประมาณ ๕,๐๐๐ ล้านบาทในปีงบประมาณ ๒๕๕๓-๒๕๕๕ (ผู้พันธ์ ๓ ปีงบประมาณ) เพื่อพัฒนาเครือข่ายไปสู่ UniNET2 เพื่อเป็นการพัฒนาเครือข่าย Education Network ให้สถาบันการศึกษาทุกระดับใช้ โดยจะมีการต่อเชื่อมไปยังทุกจังหวัด ด้วยความเร็วสูง (ประมาณ ๑๐ Gbps) และสิ่งที่ต้องพัฒนาควบคู่กันก็คือ การเรียนการสอน การพัฒนาเนื้อหา (Content) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เป้าหมายของการขยายครั้งนี้เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการศึกษาใหญ่ของประเทศ และมุ่งสู่การสร้างให้เป็นการสนับสนุน "การศึกษาตลอดชีวิต" สอดคล้องกับแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (ระหว่างปี ๒๕๕๑-๒๕๖๕) (อหาอ่านได้ใน http://www.knit.or.th/muatest/moodle/) ที่เห็นว่ากลุ่มผู้เรียนส่วนใหญ่ที่มีช่วงอายุ ๑๘-๒๒ ปีจะมีจำนวนลดลงตามโครงสร้างประชากรของประเทศในอนาคต และเห็นว่าการศึกษาตลอดชีวิตจะเป็น Key of Success ทั้งนี้ การพัฒนา UniNET2 มุ่งสู่การเป็น "University for Industry" เพื่อสนับสนุน Real Sectors และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น

นอกจากพูดถึงการพัฒนาเครือข่ายการศึกษาซึ่งเป็นโครงสร้างพื้น้ฐาน ดร.สุเมธได้เน้นให้เห็นว่าเราต้องพูดถึงเรื่องคุณภาพ (Quality), มาตรฐาน (Standard), ตัวชี้วัด (Indicators) และ เกณฑ์ในการประเมินผล (Assessment) เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาที่เรามีอยู่หากเราเข้าสู่การพัฒนาการเรียนการอสนแบบออนไลน์หรือ e-Learning ต้องดูเงื่อนไขที่ต้องปรับให้สอดคล้องกัน เราอาจต้องมีมาตรฐานเฉพาะเรื่อง e-Learning

ผู้เขียนเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาเพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานและเข้าสู่การเป็น Knowledge Based Society ในขณะที่ส่วนใหญ่เราพบการพัฒนาด้าน Hardware และ Software มาก ประเทศเราอาจต้องมาเน้นหนักเรื่องการพัฒนา Peopleware โดยเฉพะาการปรับทักนคติของผู้สอนในยุคปัจจุบัน เนื่องจากทัศนคติและการรับรู้ของกลุ่มผู้เรียนในปัจจุยันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว หากใครสนใจจะเป็นครูพันธุ์ใหม่ที่เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (www.thaicyberu.go.th) ก็มีการเปิดจัดฝึกอบรมพัฒนาสักยภาพบุคลากรทางการศึกษาเตรียมพร้อมการศึกษาทางไกล e-Learning (Software Production) หลายวิชาเปิดให้ลงทะเบียนฟรี ลองศึกกษาหลักสูตรและเนื้อหาใน www.training.thaicyberu.go.th ครับ ผมเองก็ลงทะเบียนเรียนไปแล้ว ๒ หลักสูตร คือ (๑) หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเลคทรอนิกส์ (Instruction Design) ซึ่งมีภาคทฤษฎีบทเรียนออนไลน์ ๓๖ ชั่วโมง ภาคปฏิบัติและทดสอบ ๑๘ ชั่วโมง และ (๒) หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อบทเรียนอิเลคทรอนิกส์ (Courseware Engineer) ซึ่งมีภาคทฤษฎีบทเรียนออนไลน์ ๔๘ ชั่วโมง ภาคปฏิบัติและทดสอบ ๒๔ ชั่วโมง ครับ ใครเข้าลงทะเบียนเรียนแล้วบอกกันด้วยนะครับ

หมายเลขบันทึก: 258699เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใครอยากทราบทิศทางและเนื้อหาเพิ่มเติม เรื่อง "โครงการเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัย UniNet 10 Gbps" หรือ "เครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet2)" ดู on-demand video ได้ในเว็บโครงการ IPTV UniNet2 ตาม link http://ubs.uni.net.th/lms/

ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท