คุณภาพชีวิต..ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี


การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วันที่ 29 เมษายน 2552

ดิฉันมีโอกาสไปเล่า เรื่อง

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ให้กับพยาบาลใน รพ ศรีนครินทร์ มข ในการอบรมของพยาบาลศัลยกรรม

ปัญหาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ยังพบมากไม่ยอมลดลง สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก สมัยก่อนใครเป็นโรคนี้จะต้องเสียชีวิตภายใน 3 เดือน ปัจจุบันมีชีวิตได้นานขึ้น เพราะการรักษาทันสมัย

ถึงแม้เราจะให้ความรู้กับประชาชนว่า..ไม่ควรบริโภคปลาดิบ แต่....

ปัจจุบันมะเร็งยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย  ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ทองอวบ  อุตรวิเชียร, 2532) และมีอัตราการเกิดสูงสุดในโลก (ปณต มิคะเสน, 2533)   เนื่องจากการนิยมบริโภคปลาดิบและปลาร้าดิบที่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้  อัตราตายของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีใน ปี พ.ศ. 2540 เท่ากับ 9.6 ต่อประชากรแสนราย  คิดเป็นอัตราตายในผู้ป่วยชาย 13.8 ต่อประชากรแสนรายและคิดเป็นอัตราตายในผู้ป่วยหญิง 5.4 ต่อประชากรแสนราย  (กองสถิติสาธารณสุข, 2540)    จากข้อมูลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่มีรายงานในปี 2541  พบผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีรายใหม่ที่มารักษาจำนวน 831 คน เป็นเพศชาย 600 คน และเพศหญิง 231 คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 2.6 ต่อ 1  (Cancer, Unit Khon Kaen University, 1998)

เราจึงทำวิจัย  เพื่อค้นหาคำตอบวิธีการดูแลเพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่

พบว่า................

ระยะที่ 1  ซึ่งเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า  ผู้ป่วยทุกรายมีปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ 

  • ปัญหาด้านร่างกาย  ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ท้องโตและแน่นท้อง  ปวดรอยแผลผ่าตัดและปวดเอว  คันตามตัว มีไข้สูงหนาวสั่น  ผู้ป่วยบางราย  บอกว่ามีผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด  

  • ปัญหาด้านจิตใจ วิตกกังวล กลัวไม่หายและกลัวโรคเป็นกลับซ้ำ  กลัวตาย

  • ปัญหาด้านจิตวิญญาณ  กลัวตาย และวิถีชีวิตเปลี่ยนไป

...................

การดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัด ในช่วงเวลาที่อยู่โรงพยาบาล  ก่อนกลับบ้านและช่วงเวลาที่อยู่บ้าน   ประกอบด้วย 

การจัดการกับความเครียด : ต้องทำใจและชีวิตต้องสู้   ผู้ป่วยกังวลนอนไม่ค่อยหลับ หงุดหงิด ตื่นเต้น ทั้งจากภาวะของโรค จากการรักษาและผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยมีการจัดการกับความเครียด  โดยการใช้หลักทางศาสนา ซึ่งเป็นแนวทางในการตอบสนองการดูแลตนเองทางด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความหวังและกำลังใจที่จะต่อสู้กับความทุกข์ทรมานกับโรคและความเจ็บปวดทางด้านร่างกายและจิตใจ

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการปวดและทุกข์ทรมาน ผู้ป่วยจะรับประทานยาตามที่แพทย์ให้หรือขอยาจากพยาบาลและให้ญาตินวดบริเวณที่ปวดให้ วิธีแก้ไขเมื่อมีอาการปวดขณะอยู่ในโรงพยาบาล  ผู้ป่วยอยากให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือทำกิจกรรมต่างๆให้  ให้ยาแก้ปวดทั้งกินและฉีด

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร ระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด จะมีอาการเบื่ออาหารมากแต่พยายามรับประทานอาหารตามคำแนะนำและงดอาหารที่ทำให้คลื่นไส้  ดื่มน้ำมากๆ  

การดูแลตนเองเรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน  การพักผ่อนและการออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะรักษาที่โรงพยาบาลประมาณ 1 สัปดาห์ ระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาลผู้ป่วยต้องการให้ญาติเฝ้าดูแลเพราะช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หลังจากนั้นผู้ป่วยจะกลับไปอยู่บ้านและจะนัดมารับยาครั้งต่อไป 4 สัปดาห์ ขณะอยู่บ้าน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะงดทำงาน งดออกงานสังคม ออกกำลังกายโดยเดินตอนเช้า  หลังจากนั้นจะนอนพักผ่อนทั้งวัน  กลางคืนจะนอนไม่ค่อยหลับเพราะมีอาการปวด   

การแสวงหาแหล่งประโยชน์  ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล  ผู้ป่วยจะขอความช่วยเหลือจากแพทย์  พยาบาล   เกี่ยวกับการดูแลขณะให้ยาเคมีบำบัด  ยาแก้ปวด  การจัดหาอาหาร การดูแลสิ่งแวดล้อม  แต่การดูแลเรื่องการทำความสะอาดร่างกาย  การพาเข้าห้องน้ำ  การเช็ดตัว ผู้ป่วยจะขอความช่วยเหลือจากญาติ 

......

ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พบว่า รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองมี 8 รูปแบบ คือ   

  • การให้ความรู้เรื่องโรคและการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีและจัดหาหนังสือที่ส่งเสริมพลังใจให้อ่าน  

  • การให้คำปรึกษาทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน ทางโทรศัพท์

  • การให้กำลังใจและจัดให้เข้ากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน   

  • การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จัดโรงพยาบาล ให้น่าอยู่เหมือนบ้าน  ยืดหยุ่นกฏระเบียบบ้าง ผู้ป่วยและญาติจะได้ผ่อนคลาย

  • ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อโรคและการรักษา  

  • ให้กำลังใจและความมั่นใจอย่างต่อเนื่อง   

  • ช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวหาแหล่งประโยชน์

  • เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ป่วยและทีมการดูแล     

หลังจากให้การดูแลผู้ป่วยตามรูปแบบที่เหมาะสมในแต่ละคน  ผู้วิจัยติดตามวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่มารับยาเคมีบำบัดจำนวน 3 ครั้ง  จนสิ้นสุดโครงการ

ผลการวิจัยพบว่า.. ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัดภายหลังได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองสามารถดูแลตนเองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ถึงแม้ว่า...เราจะหาวิธีการดูแลดีอย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ การป้องกัน ถ้าไม่กินปลาร้าดิบ ก้อยปลา และไนโตรซามีนที่อยู่ในของหมักของดอง โรคนี้ก็จะป้องกันได้ เราควรให้คำแนะนำญาติผู้ป่วยเพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง จะได้ไม่เป็นโรคนี้ กันดีกว่าแก้ค่ะ

อุบล จ๋วงพานิช

2 พฤษภาคม 2552

 .................

ตารางการอบรม

วันที่  29  เมษายน  2552

8.00-8.30  น.   ลงทะเบียน

8.30-9.15  น.   พิธีเปิดและการสร้างเครือข่ายทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

โดย  หัวหน้างานบริการพยาบาล

9.15-10.00  น.   สถานการณ์มะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทยและจังหวัดขอนแก่น

โดย  ผศ.ณรงค์    ขันตีแก้ว    ภาควิชาศัลยศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์

10.00-10.15  น. รับประทานอาหารว่าง

10.15-12.00  น. การรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี  โรงพยาบาลศรีนครินทร์

โดย  ผศ.ณรงค์    ขันตีแก้ว    ภาควิชาศัลยศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์

12.00-13.00  น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30  น. การนำทฤษฏี  และกระบวนการทางการพยาบาลใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

  • การจัดระบบและการใช้กระบวนการทางการพยาบาล

        โดย ศิริพร   มงคลถาวรชัย 

  • ความเข้มแข็งอดทนในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

        โดย  เฉลิมศรี   สรสิทธิ์

  • คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

        โดย  อุบล   จ๋วงพานิช

14.30-14.45  น. รับประทานอาหารว่าง

14.45-16.30  น.  อภิปรายกลุ่ม  "การดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี   อย่างครบวงจร

นำอภิปรายโดย   นางพัสดา  ภักดีกำจร  หัวหน้าหอผู้ป่วย 3ก.

  • ห้องตรวจศัลยกรรมทั่วไป โดย นางสลักจิตร ศรีมงคล
  • หอผู้ป่วย โดย นางสาวเฉลิมศรี สรสิทธิ์
  • ห้องผ่าตัด โดย นางกาญจนา เขื่อนแก้ว
  • ห้อง X-ray โดย นางเกยูร พรมอ่อน
  • ด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี(APN)โดย นางภัทวานิษฐ์ จิรวัสโชติกานต์

 

คำสำคัญ (Tags): #chca#qaulity of life
หมายเลขบันทึก: 258692เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 06:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อยมาทักทายหลังจากที่ไม่ได้ทักทายมานาน และขอแสดงความยินดีที่ได้รับโหวตพร้อมคัดเลือกเป็น สุดคะนึง รุ่นใหม่ด้วยนะคะ

พบกันที่ หาดใหญ่ สงขลานะคะ

แวะมาอ่านสิ่งดีๆค่ะ ผู้ป่วยมะเร็งส่วนหนึ่งอยู่ได้ความหวัง ตลอดจนกำลังใจที่ได้รับจากครอบครัว และที่สำคัญคือการได้รับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานจากทีมผู้ให้บริการ ดังคำกล่าวของผู้ป่วยมะเร็งท่อทางเดินนำดีระยะแพร่กระจ่ายรายหนึ่งค่ะ "ตายผมไม่กลัว ผมกลัวความทุกข์ทรมานก่อนตาย"

กุ้งเคยเห็นคนในหมู่บ้านเป็นกันเยอะค่ะเพราะเห็นชอบกินกันจังปลาดิบ บอกก็ไม่ค่อยกลัวกัน ถ้าทำสุกแล้วมันไม่อร่อย บ้านเราเยอะจริงๆค่ะมะเร็งท่อน้ำดี เราต้องรณรงค์

แก้ที่ต้นตอด้วยค่ะ

สวัสดีคะพี่แก้ว

กำลังจะปิดเครื่อง ไปทำงาน เจอบันทึกดี ๆ ขออ่านก่อนคะ

ใครป่วยมะเร็งท่อนำดี ทรมาน คะพี่แก้ว

ต้องหาวิธีประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบมาก ๆ

P

ขอบคุณค่ะพี่ครูอ้อย คงได้พบกันที่หาดใหญ่ค่ะ

P

จริงค่ะ ความปวดของผู้ป่วย ทรมานมาก บางคนบอกว่า ปวดเหมือนมีไม้มาเสียบในท้อง

บางวันผู้ป่วย ฝันว่าบอกลูกหลานมาดึงให้ แต่ทุกวันนี้มีการจัดการความปวดได้ดีขึ้น ทำให้ความทุกข์ทรมานลดลงมากค่ะ

P

เราต้องให้คำแนะนำญาติของคนป่วย และให้คนป่วยช่วยสอนด้วย เพราะความทุกข์ทรมานที่ญาติเห็น คงไม่อยากป่วย อาจทำให้มะเร็งท่อน้ำดีอาจลดลงได้บ้างค่ะ

P

เราเคยรณรงค์ผ่าน นักเรียน ครู อบต อสม

ปรากฏว่า ยังลดลงไม่มาก พี่ใช้วิธีบอกปากต่อปาก

สวัสดีคะ

น้องแก้ว ทันสมัยมากๆ

เก็บเรื่องเล่าไว้มากๆนะคะ

ดีคะ

แม่ต้อยจะขอใช้บ้างคะ ในโอกาสดีดี

P

ยินดีค่ะ แม่ต้อย ใช้ได้ทุกโอกาสที่ต้องการนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่สาวคนสวย

- ตามมารายงานตัว หายไปนานทีเดียวค่ะ

- แวะมาเก็บความรู้อีกตามเคยค่ะ

คิดถึงค่ะ

P

ยินดีค่ะ ช่วยแนะนำชาวบ้านให้พี่ต่อด้วยนะคะ

  • แวะมาอ่าน QOL ผู้ป่วยผู้ใหญ่ค่ะ

สวัสดีค่ะ

พี่แก้วตื่นมาบันทึกแล้วหรือคะ

ขยันจังเลย

ดีใจนะคะ

จะได้เจอหลายๆคน

มีความสุขนะคะ

P

ตื่นแต่เช้าอากาศสดชื่นค่ะ

ดีใจเช่นกันค่ะ ที่เราจะได้ทำสิ่งดีดีร่วมกัน

ขอบคุณพี่แก้วที่มาให้คำแนะนำดีๆ

เด็กบางครั้ง...ถ้าไม่เอาก็ยาก...

มีเด็กที่ให้ความร่วมมือดี อมน้ำแข็งตามคำแนะนำ

มีพ่อแม่คอยกระตุ้นก็จะเจอside effect น้อยกว่าค่ะ

ส่งดอกไม้มาขอบคุณค่ะ

ดอกไม้สวยๆสำหรับคนที่ใจดีค่ะ

เอื้องเงินขอให้มีเงินเต็มบ้านนะคะ

ออกดอกทนนะคะเป็นเดือนๆ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่แก้ว

รับทราบค่ะ...ที่5จเวลาเดิมนะคะ

สวัสดีค่ะ

จะบอกกุ้งนะคะ

เผอิญเข้ามาอ่านเพื่อหาข้อมูลค่ะ...คุณพ่อปัจจุบันอายุ 74 ปี ป่วยเป็นโรคนี้

ตัดสินใจไม่รับการผ่าตัด แต่ใส่ท่อระบายน้ำดีเพื่อช่วยอาการตัวเหลือง

อยากจะหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยดูแลคุณพ่อ...ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

ลูกสาวคนเล็ก ดูแลคุณพ่อให้ได้รับความสุขสบายนะคะ

ตอนนี้พ่อเป็นระยะสุดท้ายค่ะ เริ่มท้องอึด แต่ยังพอกินได้ มีข้อแนะนำด้านอาหารไหมค่ะ อยากทราบว่ากินอะไรดี ห้ามกินอะไรบ้าง

กินโยเกิร์ตหรือนมได้ไหมค่ะ ตอนนี้เริ่มคันตามตัวแล้วด้วยค่ะจะใส่ท่อระบายน้ำดี ดีไหมค่ะใส่แล้วการดูแลเรื่องความสะอาดจะลำบากไหม พ่อมีไข้ตอนเย็นๆหมอให้ไทลินอลมากิน กินบ่อยๆจะมีผลกับตับมากไหม แล้วคนที่อยู่ในระยะนี้จะอยู่ได้อีกนานไหมค่ะ พ่อจะเจ็บปวดทรมานมากมั้ยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ......รอคำตอบอย่างใจจดใจจ่อ

คุณ moji

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

  • ควรกินโปรตีนจากผงข้าวกล้องสำเร็จรูปชงดื่ม ไข่ขาว วันละ 3-4 ฟอง

ควรเลิกและหลีกเลี่ยง

  • เนื้อสัตว์ เครื่องใน สัตว์ปีก น้ำมันสัตว์ ไขมันพืช
  • เลิกกินขนมหวาน ของเค็ม ของหมัก ของดอง เหล้า เบียร์ ไวน์
  • ชา กาแฟ กะทิ นม เนย น้ำอัดลม ไอศกรีม มันฝรั่งทอด
  • อาหารปิ้ง  ย่าง ผงชูรส สารไนโตรซามีน ไนเตรท

 

ขอบคุณค่ะ คงเรื่องมารบกวนอีกเรื่อยๆๆนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท