บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองบริหารบ้านเมือง


การบริหารปกครองบ้านเมืองที่ดี จำเป็นที่ผู้มีอำนาจต้องใจกว้าง และกิจกรรมที่หน่วยงานภาครัฐดำเนินการในทุกกิจการที่คาดว่าจะส่งผลกระทบกับพี่น้องประชาชนจำต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วรร่วมในขั้นตอนการบริหารราชการต่างๆ ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทำ ดำเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมประเมินผล ทั้งนี้การบริหารราชการที่สร้างกระบวนก่ารดังกล่าวต้องเป็นการบริหาราชการที่เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ในความเป็นจริงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนยากแท้หยั่งถึงจริงๆ เพราะความอึมครึม ไม่โปร่งใส รับเงินใต้โต๊ะ ฮั้วประมูล กินเปอร์เซนต์ รับส่วย มากมายที่สกัดกั้นการเข้ามามีส่วนร่วมขององค์กร ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมนั่นเอง

ต้องเรียนพี่น้องชาวGotoKnowว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนไม่ได้หมายความแค่การมาเลือกตั้งแบบถูกบังคับว่าเป็นหน้าที่ หากแต่สำนึกของการเมืองภาคพลเมืองก็คือการตรวจสอบ ติดตาม การบริหารราชการแผ่นดิน เราจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมารัฐทุกยุคสมัยรวมศูนย์อำนาจในการบริหารปกครองบ้านเมือง รัฐและระบบราชการมีอำนาจในการตัดสินใจได้ดีกว่าประชาชน แต่เมืององค์กรภาคประชาชนเติบโต สนใจ รู้ทัน ตรวจสอบอำนาจรัฐมากขึ้นเพราะเข้าได้รับผลกระทบ อาทิถูกแย่งดิน แย่งน้ำ แย่งป่า สะเมิดสิทธิชุมชน ถูกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รัฐสมคบกับนายทุน ทำร้าย ทำลายเขา ประกอบกับกระแสประชาธิปไตย(แท้ๆไม่ใช่ประชาธิปไตยเอาทักษิณคืนมา)และความต้องการของประชาชในเรื่องการกระจายอำนาจเป็นแรงกระตุ้นให้รัฐต้องปรับบทบาท เปิดโอกาส ทั้งนี้ยุคข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยทำให้ประชาชนรู้ ทราบข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องให้รัฐทบทวนมากๆยิ่งยิ่งขึ้นไปก็คือ 1.ต้องเปลี่ยนแปลงความเข้าใจที่ว่าการตัดสินใจด้านนโยบายและโครงการต่างๆของรัฐ เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น 2.เปลี่ยนความคิดที่ว่าการดำเนินโครงการ ได้ผ่านขั้นตอนตามระเบียบราชการอยู่แล้ว จึงไม่ใช่หน้าที่ของประชาชน และประชาชนควรเชื่อใจและไว้ใจหน่วยงานรัฐ 3.ต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่าการร้องเรียน การเรียกร้องใดๆของประชาชนเกี่ยวกับโครงการของรัฐ เป็นปัญหาของคนส่วนน้อยที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเองและพรรคพวก การเรียกร้องเป็นเรื่องของการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ 4.ต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่าการเรียกร้องของชาวบ้านเป็นเรื่องไม่ชอบธรรม เพราะดำเนินไม่ถูกขั้นตอน บางโครงการรัฐต้องผลักดัน เพื่อให้บรรลุตามนโยบายที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งการดำเนินงานมีคำตอบล้วงหน้าอยู่แล้ว  การรับฟังความคิดเห็นเป็นเพียงการจัดฉากเท่านั้น 5.การรับฟังความคิดเห็นราชการมักยึดตัวเลข สถิติ ผลงานโกหกของนักวิชาการโสเภณีทื่รับใช้นายทุน(EIA)แต่ละเลยภูมิปัญญาขเองชาวบ้านมองข้ามวัฒนธรรมวถีชีวิตที่พวกเขาคุ้นเคยเป็นสำคัญ 6หยุดรับส่วยสาอากร สมคบกับนายทุนทำร้ายประชาชนด้วยการอุ้มฆ่า สังหาร และหยุดคอร์รัปชั่น สร้างการทำงานที่โปร่งใสและคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับประชาชนอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 258691เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 06:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับผมเข้าแบบย้อนหลังนะครับประชาชนถูกทำให้ไม่รู้จักประชาะปไตยต้งแต่ 2475 แล้วครบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท