ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับย่อ


จากการศึกษาทางโบราณคดี ทำให้เราทราบว่าบริเวณดินแดนของประเทศไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เคยมีชุมชนเล็ก ๆ อยู่ก่อนแล้วตั่งแต่ยุคหิน ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรม

      ราว พ.ศ.ว. ที่ 5 การติดต่อค้าขายจากอินเดีย เป็นแรงพักดันให้ชุมชนเหล่านั้นได้รวมตัวกันเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดังเช่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางตอนล่างได้เกิดเป็น อาณาจักรทวารดี (พ.ศ.ว. ที่ 11 หรือ  12- 18)

      อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกของไทย ก่อตั่งเมื่อ พ.ศ.1781 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นช่วงที่รุ่งเรืองถึงที่สุดในทุกด้าน ทรงประดิษฐ์ลายสือไทยเมื่อ พ.ศ.1826  ในสมัยพระยาลิไท พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างมาก อาณาจักรเจริญรุ่งเรืองมาถึงปี 1891 อาณาจักรจึงถูกผนวกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา

      ในปี พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีการปฏิรูปทางด้านการทหาร กฎหมาย การปกครอง อีกทั้งยังเป็นยุครุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรม มีความสัมพันธไมตรีและติดต่อกับชาวตะวันตก ทว่าสงครามกับพม่าที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นเหตุทำให้นำไปสู่การเสียกรุงทั้ง 2 ครั้ง  ครั้งแรกในปี พ.ศ 2112 ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสามารถกู้กรุงคืนได้ในอีก 15 ปีต่อมา ครั้งที่สองเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรที่ดำเนินมา ถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองศ์ 5 ราชวงศ์

      หลักจากอาณาจักรอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่า แม่ทัพอยุธยาคนหนึ่งนามว่า พระยาตาก (สิน) สามารถรวบรวมชาวไทยกู้กรุงคืนได้ในปีเดียวกันนั้น ได้สถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2311 ทรงทำศึกสงครามกับต่างชาติและปราบก๊กต่าง ๆ ตลอดราชการเป็นเวลา 15 ปีเพื่อรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น บ้านเมืองมีความเข้มแข็งกลายเป็นศูนย์กลางทางอำนาจในภูมิภาคนี้อีกครั้ง ปลายราชการพระองศ์เกิดสติวิปลาส บ้านเมืองเกิดการจลาจล ในปี 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงได้ปราดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้น      แล้วย้ายเมืองหลวงมาทางฝั่งรัตนโกสินทร์ สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวง

      ในตอนต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้าน มีการสร้างและบูรณะวัดวาอารมและพระพุทธรูป มีการขุดคลองเพื่อให้เป็นเส้นทางคมนาคม ชำระกฎหมาย  สังคยนาพระไตรปิฎก และฟื้นฟูศิลปะวิทยาการมากมาย

      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงได้นำพาความก้าวหน้าจากชาติตะวันตกมาสู่ประเทศ สืบเนื่องจากรัชกาลที่ 4 ทรงเริ่มไว้  ทรงปฏิรูปการเมือง การปกครอง เลิกทาส นำพาประเทศสู่ความเป็นอารยะประเทศ  ในรัชกาลนี้เป็นเวลาที่ชาติตะวันตกกำลังแผ่อิทธิผลมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทรงดำเนินนโยบายทางการเมืองและการทูตได้อย่างเหมาะสม ทำให้ประเทศยังคงรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้ แม้จะต้องเสียดินแดนบางส่วนเพื่อเป็นการแลกก็ตาม

      ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7

      สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อจากสยาม มาเป็นประเทศไทย แต่ประเทศก็ประสบกับปัญหาล้มลุกคลุกคลานทั้งในด้านการเมืองภายใน และจากภายนอกอันเนื่องมาจากสงครามโลก แต่ประเทศก็ยังรักษาเอกราชเอาไว้ได้อีกครั้ง

      ประเทศไทยในยุคปัจจุบันได้ขยายตัวและพัฒนาไปสู่ความเป็นตะวันตกอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน เป็นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อุดมไปด้วยทรัยกรธรรมชาติและแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม วิถีชีวิตของประชาชน ที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวไม่เหมือนที่ใด จนกลายเป็นประเทศที่คนทั่วโลกต่างต้องการมาสัมผัส ค้นหา และชื่นชมให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต

วาทิน ศานติ์ สันติ  เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 258617เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มาดูตอนนี้ มีอะไร  ให้ยิ้มได้เยอะเลย เช่นการแต่งกาย การทำตัวตามฝรั่งเป็นต้น

ดีมากๆ เลยครับ ครูให้การบ้านผมมาเปิดว็บนี้มาสบายเลย

ครูให้การบ้านผมดูเว็บนี้ไม่ต้องย่อเลยสักนิด

พ.ศ.ว. คืออะไรคะ

พ.ศ.ว. คืออะไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท