ประเพณีลอยกระทงที่จังหวัดสุโขทัย


ลอยกระทงที่จังหวัดสุโขทัย

กำหนดการจัดงาน

จัดขึ้นในวันขึ้น 13 – 14 – 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี

       สถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 12 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อแม่พระคงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

       การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเทศกาล "สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะมีกิจกรรมเด่น ในหลายพื้นที่ เช่น งานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร, ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย,  ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่,  ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงฯ จังหวัดตาก  และประเพณี ลอยกระทงตามประทีป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์งานประเพณีลอยกระทงให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (World Events)  เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวตลอดเดือนต่อไป

วัตถุประสงค์

1.

เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณี อันดีงามของไทย(โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงของแต่ละท้องถิ่น) ไว้สืบทอดต่อไป

2.

เพื่อส่งเสริมให้งานประเพณีลอยกระทง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเสนอในรายการนำเที่ยวเป็นประจำทุกปี ในอนาคตอย่างยั่งยืน

3.

เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและรายได้ พร้อมทั้งขยายวันพักของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ

4.

เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง และการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน

    บริเวณเมืองเก่าสุโขทัย หรือที่เรียกกันว่า “อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย เชื่อกันว่างานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวว่า “เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวงเที้ยร ย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีตังจักแตก” นอกจากนี้ยังปรากฏในหนังสือนางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นสนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้าเล่าถึงประเพณีลอยกระทงซึ่งสมัยนั้น เรียกว่า “พิธีจองเปรียง” โดยเล่าว่า “พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชายหญิงแต่งตกแต่งโคมชัก โคมแขวน โคมลอย ทุกตระกูลทั่วทั้งพระนครข้าน้อยก็กระทำโคมลอยติดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมกำนัลทั้งปวง จึงเลือกผกาเกสรสีต่างๆ ประดับเป็นรูปดอกกระมุท บานกลีบรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณกงระแทะ ล้วนแต่พรรณไม้ซ้อนสีสลับเป็นลวดลาย แล้วก็เอาผลพฤกษา ลดาชาติมาแกะจำหลักเป็นรูปมยุระ คณานกวิหกหงษ์ ให้จับจิกเกสรบุปผชาติอยู่ตามกลีบดอกกระมุท เป็นระเบียบเรียบร้อยวิจิตรไปด้วยสีย้อมสดสวยควรจะทอดทัศนายิ่งนัก…”

    ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟได้สืบทอดวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการจัดงานลอยกระทงกันอย่างมโหฬารทุกวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี ในทุกภาคของประเทศ แต่ดูเหมือนจะซบเซาลงที่สุโขทัยซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งประเพณี เหตุนี้จึงได้ฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ให้มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2520 โดยกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะโบราณสถานในบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ซึ่งเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมอันสูงส่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และจังหวัดสุโขทัยได้ร่วมมือกับกรมศิลปากรและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดงานฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นเป็นปีแรกในวันที่ 24 ถึง 26 พฤศจิกายน 2520 ณ บริเวณเมืองเก่าและจัดเป็นประเพณีเรื่อยมาเป็นประจำทุกปี

รายละเอียดการจัดงาน

การจัดงานที่ผ่านมาได้พยายามฟื้นฟูบรรยากาศวันเพ็ญเดือนสิบสองของกรุงสุโขทัยเมื่อ 700 ปีเศษ ที่ผ่านมามีการรำลีลาสุโขทัยที่สวยสดงดงามของนางรำจำนวนเท่ากับอายุของกรุงสุโขทัย มีการลอยกระทงที่ประดิษฐ์กันอย่างสวยงาม ติดประทีปโคมไฟตามสถูปโบราณ และตระพัง (สระน้ำ) อย่างสว่างไสวพร่างพราวตาไปทั่วบริเวณงาน มีการจุดพลุตะไลไพพะเนียง ดอกไม้ไฟ ตลอดคืน

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ พยายามรักษาเอกลักษณ์ของกรุงสุโขทัยไว้อย่างเหนียวแน่น อย่างเช่นได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่า “เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวงเที้ยร ย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ” จึงให้มีการจัดขบวนแห่ของอำเภอ ส่วนราชการและหน่วยงานเอกชนให้เคลื่อนเข้าสู่เมืองสุโขทัย เป็น 4 ขบวน เข้ามาสู่ปากประตูหลวงพร้อมกัน การแต่งกายของนางรำและนางนพมาศที่ส่งเข้าประกวดตลอดจนขบวนแห่ต่างๆ ได้กำหนดให้แต่งแบบสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี แม้แต่การจัดมหรสพและการแสดงในยามค่ำคืน ได้มีการแสดงถึงเอกลักษณ์สุโขทัยไว้ เช่น แสดงละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องอานุภาพของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชโดยนักแสดงกรมศิลปากรนับร้อยคน ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีบรรยากาศใกล้เคียงเมื่อ 700 ปีเศษมาแล้ว

แผนที่ไปสุโขทัย

"ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ"
เป็นประเพณีบูชาด้วยประทีปที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามที่ปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกพ่อขุนราม คำแหงหลักที่ 1 มีข้อความกล่าวถึง การเผาเทียน เล่นไฟ ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สุดของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อกว่า 700 ปีก่อน ซึ่งได้คลี่คลายมาเป็นประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟในปัจจุบัน โดยมีการแสดงแสง-เสียง จำลองบรรยากาศงานเผาเทียน เล่นไฟสมัยสุโขทัย ให้ผู้คนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้ชื่นชม

                                                   เพลง รำวงวันลอยกระทง"

วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

คำขวัญของจังหวัดสุโขทัย

  " มรดกโลกล้ำเลิศ                      กำเนิดลายสือไทย
   เล่นไพลอยกระทง                     ดำรงพุทธศาสนา
        งามตาผ้าตีนจก                        สังคโลก ทองโบราณ
     สักการแม่ย่า พ่อขุน                   รุ่งอรุณแห่งความสุข

 

 

- สถานที่จัดงาน: บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

- กิจกรรม : ตระการตากับขบวนแห่กระทงใหญ่ จากหน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมาย ขบวนโคมชักโคมแขวน การแสดงพลุ ดอกไม้ไฟไทยโบราณ เช่น พลุ ตะไล ไฟพะเนียง ไฟกังหัน โคมลอย ฯลฯ

ประกวศนางนพมาศ การแสดงแสง-เสียง “รุ่งอรุณแห่งความสุข” การแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีสุโขทัย ประกวดกระทงและร่วมลอยกระทง ร่วมพิธีอาบน้ำเพ็ญ ในคืนเดือนเพ็ญ ณ เมืองเก่ากรุงสุโขทัย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :
ททท. สำนักงานสุโขทัย โทร ๐ ๕๕๖๑ ๑๑๙๖

หรือจะเข้าเว็บ

http://www.loikrathong.net 

http://www.moohin.com ดูสถานที่ท่องเที่ยว - อื่น ๆ ได้ตามลิงค์นี้เลยครับttp://www.info.ru.ac.th เพลงเก่า ๆ ของสุโขทัย ได้ตามลิงค์นี้เลยครับ

                              

คำสำคัญ (Tags): #สารบัญ
หมายเลขบันทึก: 258107เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2009 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราก็อยู่สุโขทัยอ่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท