ระบบการบริหารการศึกษาของไทยในปัจจุบัน(ต่อ)


ระบบการบริหารการศึกษาของไทยในปัจจุบัน

สำนักงานปลัดกระทรวง

                สำนักงานปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                1. ดำเนินการเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงและราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักใดสำนักหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ

                2. ประสานงานต่างๆ ในกระทรวง และดำเนินงานต่างๆ ที่มีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติตามสายงานการบังคับบัญชาอันเป็นอำนาจหน้าที่ซึ่งจะต้องมีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือในกฎหมายอื่น

                3. จัดทำงบประมาณแลแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง เร่งรัด ติดตาม และประเมินการปฏิบัติราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง

                4. ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติมิได้อยู่ในอำนาจของส่วนราชการอื่น

                5. ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ

               

 

สำนักปลัดกระทรวงแบ่งส่วนราชการดังนี้

                1. สำนักงานอำนวยการ

                2. สำนักบริหารงาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสำนักหรือสำนักบริหาร

 

สภาการศึกษา

สภาการศึกษา  มีหน้าที่ดังนี้

1.  พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ

2.  พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (1)

3.  พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4.  ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (1)

5.  ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้

นอกจากนี้ สภาการศึกษายังมีหน้าที่ให้ความเห็นหรือคำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย

 

คณะกรรมการอุดมศึกษา

คณะกรรมการอุดมศึกษา มีหน้าที่ดังนี้

                 1.  พิจารณาเสนอนโยบายแผนพัฒนาและมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติการสนับสนุนทรัพยากรการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเสนอแนะในการออกระเบียบหลักเกณฑ์ และประกาศที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสำนักงาน

2. ให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรีและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายตลอดทั้งให้มีอำนาจเสนอแนะและให้ความเห็นในการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่สถานศึกษาระดับปริญญา ทั้งที่เป็นสถานศึกษาในสังกัดและสถานศึกษาในกำกับแก่คณะรัฐมนตรี

3. รับผิดชอบงานเลขานุการของคระกรรมการการอุดมศึกษา และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดให้กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการตามมาตรา 11 โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาทำหน้าที่เป็นกรรมการ และเลขานุการของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

4. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งรับผิดชอบบังคับบัญชาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามมาตรา 10 (5) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดที่เป็นนิติบุคคลที่จัดการศึกษาระดับปริญญาด้วย

 

คณะกรรมการอาชีวศึกษา

คณะกรรมการอาชีวศึกษา มีหน้าที่ดังนี้

1. พิจารณาเสนอนโยบายแผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ  การส่งเสริมประสานงานการจัดการอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนการสนับสนุนทรัพยากรการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา โดยคำนึงถึงคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาชีพ และเสนอแนะในการออกระเบียบหลักเกณฑ์ และประกาศที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสำนักงาน

2. ให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือคณะรัฐมนตรีและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย

3. รับผิดชอบงานเลขานุการของคระกรรมการการอาชีวศึกษาและมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการตามมาตรา  11  โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษาทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

4. รับผิดชอบบังคับบัญชาสำนักงานคณะกรรมาการการอาชีวศึกษาตามมาตรา  10 (6) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วย

 

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. พิจารณาเสนอนโยบายแผนพัฒนามาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากรการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและเสนอแนะในการออกระเบียบหลักเกณฑ์ และประกาศที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสำนักงาน

2. ให้ความเห็นหรือคำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือคณะกรรมการ และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามกฎหมายกำหนดหรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการมอบหมาย

3. รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในกระทรวง ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการตามมาตรา  11  โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. รับผิดชอบบังคับบัญชาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา 10 (4) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือในสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้วย

5. เป็นองค์กรส่งเสริมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์  สังคม  การสื่อสาร  และการเรียนรู้  หรือมีร่างกายพิการ  หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส และมีอำนาจหน้าที่ตามที่

 6. เป็นองค์กรส่งเสริมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับบุคคล  ซึ่งมีความสามารถพิเศษ และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงว่าด้วยนั้น

7. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาและสถานศึกษาอาชีวศึกษาเของแต่ละสถานศึกษาเพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษาผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือ ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา

ยึดเขตพื้นทีการศึกษา  โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาจัดระเบียบ บริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

                 สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

        

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา   เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะธรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

          2. ภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ

              2.1 จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา  แผนการศึกษา  แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการท้องถิ่น

              2.2 วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษาและหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษาและแจ้งจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้งจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบและกำกับตรวจสอบติดตามใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว

              2.3 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

              2.4 กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา

              2.5 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

              2.6 ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

              2.7 จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

              2.8 ประสานส่งเสรีมสนับสนุน การจัดการศึกษาของเอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล

องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดรูปแบบที่หลากหลายในเขต

พื้นที่การศึกษา

              2.9 ดำเนินการและประสาน  ส่งเสริม  สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

              2.10 ประสาน ส่งเสริมการดำเนินงานของอนุกรรมการและคณะทำงานด้านการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

              2.11 ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น

              ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษาปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใด โดยเฉพาะ หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่มอบหมาย

              กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 175 เขต ในเบื้องต้น และกำหนดโครงสร้างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย 6 กลุ่มงานดังนี้

1.       กลุ่มอำนวยการ

2.       กลุ่มบริหารงานบุคคล

3.       กลุ่มนโยบายและแผน

4.       กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

5.       กลุ่มเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

6.       กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (ยุบเลิกภายใน3ปี)

              จากโครงสร้างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งกำหนดเป็น 6 กลุ่มงาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องสรรหาบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานตามกลุ่มงานจากบุคลากรของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอและสำนักงานประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้เคยปฏิบัติงานในลักษณะที่แตกต่างกันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

              ในแต่ละพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล จัดตั้งยุบรวมหรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่พื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครับครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ที่ระบุบไว้ข้างต้น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

              ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ

เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในปฏิบัติราชการของสำนักงานให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการไว้เป็นการเฉพาะใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรืออนุมัติแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย 

              คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

              กำหนดให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษามีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 15 คน โดยมีประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้แต่งตั้ง (กฎกระทรวงข้อ 2-4)

 

              บทบาทขององค์คณะบุคคลในการบริหารเขตพื้นที่การศึกษา

คณะกรรมการการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

              1.  กำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา

              2. พิจารณาการจัดตั้ง ยุบรวม หรือ ยุบเลิกสถานศึกษา

                   2.1 ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา

                   2.2 ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา

                   2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย

                   2.4 กำกับดูแลหน่วยงานด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษา

              องค์ประกอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

              พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมนุม ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษาผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครูผู้นำทางศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะแบะวัฒนธรรม และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ (มาตรา 38)

              จากองค์ประกอบดังกล่าวได้ว่าประกอบด้วยตัวแทนขององค์กรทุกฝ่ายที่อยู่ในท้องถิ่นและสะท้อนหลักการและแนวคิดที่ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (มาตรา 8 ข้อ 3) และการมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน องค์กรมหาชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันการศาสนาสถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น (มาตรา 3 ข้อ 6)

              อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

              ตามมาตรา 38 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไว้ดังนี้

              1.  กำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา

              2. พิจารณาการจัดตั้ง ยุบ รวม หรือ เลิกสถานศึกษา

              3. ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา

              4. ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา

              5. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคลครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย

            

หมายเลขบันทึก: 257185เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 03:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

แวะมาอ่านเรียนรู้ค่ะ

มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

ขอบคุณค่ะ

อ่านแล้วได้รับความรู้มากค่ะ

ว่างๆ จะเอาเรื่องใหม่ๆ มาลง นะค๊าบ

วัดดีค่ะ ช่วยหาโครงสร้างการศึกษาของไทยให้ด้วยนะค่ะ

ได้ความรู้มากเลยค่ะ 

ช่วยหาข้อมูลระบบการบริหารการศึกษาไทยในปัจจุบันใช้ระบบใด

ครูสายบุตร พันธ์เสน

อ่านแล้วดีครับ ได้ความรู้

สวัสดีครับ !

ขอบคุณมากที่ได้ให้ข้อมูลความรู้และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ต้น เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากค่ะ

พระมหาเชาวลิต รตนรํสี

ได้ประโยชน์มากเลยครับ พอดีกำลังเรียนบริหารการศึกษาอยู่ พอดี วันหน้าจะของคำแนะนำบ้างนะครับ

พระกฤศกร อัครภพเมธี

ควรจะอ้างที่มาด้วยนะครับ  แต่ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท