สร้างพลังความเชื่อ!!!


“เบื้องหน้ามีตึกสูง 10 เมตร 2 ตึก มีระยะห่างระหว่างตึก 1 เมตร ให้กระโดดข้าม สามารถทำได้หรือไม่?”

 

หากผมลากเส้นยาวสองเส้นเท่าๆ กัน

โดยกำหนดช่องระหว่างเส้นทั้งสองเท่ากับ 1 เมตร

 

ด้วยคำถามนี้ผมถามว่า

ถ้าให้กระโดดข้ามเส้นทั้งสองเส้นนี้ไป สามารถทำได้หรือไม่?

ผมเชื่อว่า เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ตอบว่า ข้ามได้!!

 

ลองคำถามใหม่ครับ

 

เบื้องหน้ามีคลอง คลองกว้าง 1 เมตร ให้กระโดดข้ามคลอง

สามารถทำได้หรือไม่?

ผมเชื่อว่า เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ ตอบว่า ทำได้!!!

 

คำถามสุดท้าย

เบื้องหน้ามีตึกสูง 10 เมตร 2 ตึก มีระยะห่างระหว่างตึก 1 เมตร

ให้กระโดดข้าม สามารถทำได้หรือไม่?

ผมมั่นใจว่า เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ตอบว่า ทำไม่ได้!!!

 

สามคำถามนี้มีอะไรแตกต่างกันครับ???

 

แน่นอนว่าหลายๆ ท่านอาจจะแย้งในใจ ว่ามันแตกต่างกันแน่นอน

ใช่ครับ มีความแตกต่างกัน

แต่ในความแตกต่างก็มีความเหมือนกัน

 

ความเหมือนในที่นี้ คือ ระยะหว่าง 1 เมตร !!

 

เกริ่นนำมาขนาดนี้ กำลังจะบอกว่า

เราต้องรู้จักสร้างพลังความเชื่อให้ตัวเองครับ

 

แท้ที่จริง คำถามนี้ ก็ไม่ได้มีกลยุทธ์อะไรที่ต้องคิดมาก

เพียงแต่เปลี่ยนสภาพแวดล้อมออกไป

สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากเดิม

 

ซึ่งสภาพแวดล้อมนี่เอง ที่ทำให้เราเกิดความกลัว

จะเห็นได้ว่า เส้นสองเส้น ที่ขีดบนพื้น เรากล้ากระโดดข้าม

เพราะทราบว่า ไม่ต้องเสี่ยงอันตราย อยู่กับพื้นโล่งๆ

 

คลองกว้างหนึ่งเมตร ไม่กล้าข้าม เพราะเริ่มมีความรู้สึกกลัว

เกิดขึ้นในจิตใจ กลัวเปียก กลัวตก กลัวจระเข้ คิดไปต่างๆ นานา

 

ระยะห่างระหว่างตึก 1 เมตร ของตึกสูง 10 เมตร

ยิ่งทำให้เรากลัวเข้าไปใหญ่ เพราะความสูงมันอันตราย

เดี๋ยวตกลงไปตาย ไม่คุ้มกัน!!

ภาพของคนตกตึกตาย ถูกดึงดูดเข้ามาที่สมอง

ทำให้อาการกลัว ชัดเจนขึ้นไปอีก

 

จากคำถามดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมรอบกาย

เป็นตัวกำหนดความกลัวในใจ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง มีระยะห่างเท่ากัน

 

ในเมื่อเราสามารถที่จะกระโดดข้ามเส้นสองเส้นได้

แล้วทำไมเราจะกระโดดข้ามตึกสูง 10 เมตรไม่ได้

 

เพราะความสูงไงครับ!!!

ความสูงเป็นสภาพแวดล้อมที่สร้างให้เกิดความกลัว

 

เพราะเราไม่ได้สนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ทั้งๆ ที่

เราสามารถกระโดดข้ามผ่านได้อย่างสบาย

 

เพียงเพราะมีความสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เราคิดเรื่อยเปื่อย

เพราะเราถูกปลูกฝังให้กลัว จากข่าว จากการบอกเล่า

 

เพราะเราเชื่อและคล้อยตามกับสภาพแวดล้อมไงล่ะครับ

 

มีอีกหลายอย่างที่เราสามารถทำได้ดีเสียด้วย

แต่เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป

ทำให้ผลของจิตใจเราเปลี่ยนตามด้วย

 

ในการทำงานกรณีที่เราเป็นหัวหน้า

เราต้องมีการสอนแนะนำลูกน้อง

ในเวลาดังกล่าว เราจะแสดงความสามารถ

การถ่ายทอดได้อย่างแม่นยำ

ลูกน้องสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราสอนได้

เรากล้าพูด กล้าโต้ตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น

เพราะลูกน้องของเรา ส่งกระแสความใฝ่รู้

ปรารถนาดีต่อเรา เราจึงเกิดความมั่นใจในการถ่ายทอด

 

กับกรณีที่หัวหน้านั้น

ต้องเข้าประชุมกับกลุ่มผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา

และต้องนำเสนอเรื่องเดียวกันกับที่พูดให้ลูกน้องฟัง

จะกลายเป็นหนังคนละม้วนกันเลย!!!

ความกล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าโต้ตอบ จะหดหาย

ความมั่นใจเต็มร้อยเหลือเพียงความมั่นใจ 20 เปอร์เซ็นต์

 

ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้น มิได้มีความรู้มากกว่าเราสักเท่าไร

เพียงแต่หัวโขนที่ถูกใส่ไว้

บังคับให้เขาเหล่านั้นคอยจับผิดมากกว่า

เราสามารถรับรู้ถึงกระแสแห่งการจับผิดก็เลยกลัว

ไม่กล้าที่จะพูดนำเสนอเหมือนที่คุยกับลูกน้อง!!!

 

เราต้องมั่นใจตัวเองในการนำเสนอผลงานทุกๆ สถานการณ์

อย่าให้สภาพแวดล้อมเป็นความกดดัน

ให้ความสามารถของเราถูกตีกรอบไว้

 

ไม่ต้องกลัวว่าจะเสียหน้า หรือสอนหนังสือสังฆราช

(เปรียบเปรยว่า สอนหนังสือผู้ที่รู้กว่า)

เพราะปัจจุบันนี้ เรื่องของข้อมูลข่าวสาร

เราสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกันครับ

เราเก่งกันคนละด้าน ถนัดกันคนละอย่าง

อย่ากังวลจนทำให้ความชำนาญด้านนั้นของเราหายไป

 

คิดเสียว่าเรากำลังกระโดดข้ามเส้นทั้งสองเส้นบนพื้นโล่ง

ไม่ใช่กระโดดข้ามตึกสูง

 

ก็จะทำให้เรามองเห็นความสว่างข้างหน้า

และนั่นแหละครับ คือความเชื่อถือในตัวเอง

สร้างความเชื่อเกิดขึ้นให้ได้ว่าเราเก่ง เรามีดี

เหมือนที่ The Secret ได้สรุปไว้ว่า

เชื่อ ขอ รับ

นี่ล่ะครับ การเริ่มต้นของคำสามคำนี้

เชื่อมั่นว่าเรากระโดดข้ามผ่านได้

ขอให้กำลังใจอยู่กับตัว

รับรู้ความสามารถที่เรามีอย่างเต็มภาคภูมิ

 

จงแสดงความเก่งกาจ ความสามารถของเรา

ให้ผู้อื่นได้รู้ ได้เห็นว่า เรามีดี

หมายเลขบันทึก: 256317เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2009 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ในการทำงานกรณีที่เราเป็นหัวหน้า

เราต้องมีการสอนแนะนำลูกน้อง

ในเวลาดังกล่าว เราจะแสดงความสามารถ

การถ่ายทอดได้อย่างแม่นยำ

ลูกน้องสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราสอนได้

เรากล้าพูด กล้าโต้ตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น

เพราะลูกน้องของเรา ส่งกระแสความใฝ่รู้

ปรารถนาดีต่อเรา เราจึงเกิดความมั่นใจในการถ่ายทอด

กับกรณีที่หัวหน้านั้น

ต้องเข้าประชุมกับกลุ่มผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา

และต้องนำเสนอเรื่องเดียวกันกับที่พูดให้ลูกน้องฟัง

จะกลายเป็นหนังคนละม้วนกันเลย!!!

ความกล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าโต้ตอบ จะหดหาย

ความมั่นใจเต็มร้อยเหลือเพียงความมั่นใจ 20 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความด้านบนครับ....

ความกดดันจากการจองจับผิดก็มีส่วนนะครับ

สวัสดีค่ะ คุณ พัฒนะ มรกตสินธุ์

มาสร้างความั่นใจให้ตัวเองค่ะ

จริงๆด้วยนะคะ แค่คุณเชื่อ พลังแห่งจิตใจนี่สำคัญจริงๆ

จะบอกว่า Believe in sense, trust in soul จะได้มั้ยนะ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท