เพื่อนร่วมงานที่เคารพรัก


การทำงานให้ประสบความสำเร็จ ให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงาน

การทำงานที่ให้ประสบความสำเร็จ เราไม่สามารถทำเพียงลำพังนั้นได้ หรือถ้าต้องการเป็นศิลปินเดี่ยวก็ต้องเก่งเอามั๊กมากเลยที่เดียว

งานที่สำเร็จต้องอาศัยทีมงานที่ดีหรือเพื่อนร่วมงานที่ดี คือ ถ้าเรารักงานก็ต้องรักเพื่อนร่วมงาน หรือ ต้องเรียกว่า เพื่อนร่วมงานที่เคารพรัก

มีคนสรุปว่าคนไทยมีนิสัยไม่ชอบทำงานเป็นทีม ชอบเป็นศิลปินเดี่ยวมากกว่า อันนี้ผู้เขียนเห็นว่าไม่ตรงกับทุกคน

ถ้าเราไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว สามารถเอาชนะความเชื่อนี้ได้จากการปฏิบัติงาน โดยให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงาน

เคารพ คือ เชื่อในความสามารถของเพื่อน ไว้ใจ

รัก คือ จริงใจ ไม่เอาเปรียบ

หมายเลขบันทึก: 256030เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2009 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นด้วยกับพี่แขกค่ะ เพราะโดยส่วนตัวเชื่อว่าทุกคนต่างมีความดีและมีความสามารถที่แตกต่างกัน เราอาจจะถนัดอย่าง เพื่อนร่วมงานอาจจะถนัดอีกอย่าง แต่ที่เหมือนทุกคนต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการบรรยากาศการทำงานที่มีความสุข เหมือนที่พี่แขกเคยบอกพวกน้องๆเอาไว้ค่ะ

มาร่วมแสดงความยินดีกับเพื่อนร่วมงานครับ

สวัสดีคะ คุณน้องนิดและคุณเบดูอิPP

ทุกคนต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการบรรยากาศการทำงานที่มีความสุข

เพื่อนร่วมงานร่วมมือและร่วมพลังกันก็สามารถดำเนินงานให้สำเร็จได้ไม่ยาก

เชื่อมั่นและเห็นดีด้วย กับแนวคิดนี้ครับ

  • เพื่อนเป็นได้ทุกอย่าง
  • ดีใจที่มีเพื่อนค่ะ

Dm11

สวัสดีคะPและP

ขอบคุณคะ "เพื่อนร่วมงานที่น่ารัก ทั้ง2 ท่าน"

ถ้าเราดึงพลังความคิดและความสามารถในด้านบวกของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนมาทำงานรวมกัน จะสามารถสร้างสรรงานให้สำเร็จได้ไม่อยาก ทั้งนี้เราก็ต้องพัฒนาภาวะผู้นำและมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจนและตรงกัน

  • เพื่อนน้อยกว่านี้ได้อย่างไร
  • อายุต่างกันเป็นเพื่อนกันได้?
  • ในมุมมองคนไทยเพื่อนส่วนใหญ่คือต้องอายุเท่ากันเรียนชั้นเดียวกัน
  • แต่มุมมองชาวต่างชาติเพื่อนอายุ 90 คุณตา คุณยายก็คือเพื่อนของเราได้ "Friend is always friend"

เพื่อนในความหมายของผู้เขียน คือ เพื่อนร่วมงาน ไม่ควรมีชนชั้น

แต่ในสังคมวัฒนธรรมไทย นับถืออาวุโส นับถือผู้ใหญ่กว่า เป็นเรื่องของความเคารพประสบการณ์ ดังคำกว่า "อาบนำร้อนมาก่อน" ก็เป็นเรื่องดี แต่อยู่กันคนละส่วนกับเรื่องงาน

ตรงนี้บางคนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน กลัวจะถูกตำหนิเรื่องอาวุโสน้อย ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นคนละเรื่อง

เพื่อนร่วมงาน ที่พึ่งปฏิบัติต่อกัน(มุมมองของผู้เขียน)

  • ต้องให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียม
  • รู้หน้าที่ รับผิดชอบไม่ก้าวก่าย
  • ร่วมปฏิบัติงานกันได้"สามัคคีกัน"
  • รับฟังความคิดเห็นกัน เปิดใจ

จึงถือว่าเป็นทีมเดียวกัน เคารพในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท