Who started the game?


แนะนำบทความให้อ่านครับ ผมรู้จักกับผู้เขียนเป็นการส่วนตัว แต่นี่ไม่ได้เป็นเหตุผลที่ผมแนะนำบทความเขา ผมเพียงรู้สึกว่าเป็น point ที่น่าสนใจดี

เรื่อง "เกมความรุนแรง"

http://www.prachatai.com/05web/th/home/16431

ประเด็นของเรื่องค่อนข้างชัดเจน แต่หากอ่านไม่ละเอียดอาจจะเข้าใจประเด็นเขาผิดได้นะครับ  ผมขอสรุปไว้สั้นๆที่นี่นะครับ ประเด็นคือ เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้น คนมักจะพยายามหาหลักฐานเพื่อที่จะรู้ให้ได้ว่า "ใครเริ่มก่อน" แล้วก็สร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายตน จึงลืมสามัญสำนึกพื้นฐานไปแล้ว ว่าจริงๆแล้วไม่ว่าใครจะเริ่มก่อน เรื่องแบบนี้มันไม่ควรจะเกิดขึ้นเสียด้วยซ้ำ!

 

จริงๆผมว่าจะหยุดเขียนสักพัก แต่มีคนรู้จักกันอยากให้ผมวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องหลักฐานทั้งหลายที่หลุดๆออกมาให้เห็นกัน (คลิปและรูปทั้งหลาย) ผมนั่งดูผ่านๆจนหมดแล้ว สรุปได้ดังนี้ครับ

  • ไม่มีคลิปใดเลยที่เป็นหลักฐานชัดเจนบ่งชี้ได้ว่าฝ่ายใดเริ่มก่อน (ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานของแดงหรือรัฐบาล) รูปนั้นไม่้ต้องพูดถึง ไม่ได้บอกลำดับของเหตุการณ์ แต่คลิปนี่ค่อนข้างจะต้องระวัง เพราะลักษณะเฉพาะของคลิปคือ "มันสั้น" และไม่ได้แสดงเหตุการณ์ทั้งหมดตั้งแต่ต้นไว้ คำถามที่น่าสนใจคือ ทราบได้อย่างไรว่าสิ่งที่ท่านเห็นในคลิปคือทั้งหมดของเหตุการณ์?
  • ขอผมยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติ ว่านาย A ทะเลาะกับนาย B นาย A โกรธ เอาปืนยิงใส่แขนนาย B นาย B นาย ฺB โกรธบ้าง ยิงใส่นาย A กลับ บังเอิญ นาย C วิ่งเข้ามาเห็นเหตุการณ์ เริ่มอัดคลิปไว้ัตอนที่นาย B ยิง ท้ายสุดนาย A ยิงนาย B ตาย
  • จากตัวอย่าง คลิปก็จะบ่งบอกว่านาย A มีความชอบธรรม
  • นาย C สามารถเป็นพยานยืนยันให้นาย A ได้
  • แน่นอนว่านี่เป็นเ่รื่องสมมติ

 

สำหรับผมแล้ว ไม่มีหลักฐานของฝ่ายใดที่ทำให้ผมเชื่อได้เลย .... แต่สิ่งที่ผมสงสัยคือ (ประเด็นเดียวกับในบทความ) ทำไมเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้น สามัญสำนึกแรกของคนมักจะพยายามหาผู้ผิด ไม่ใช่คำถามว่า "ทำไมทำแบบนั้น" หรือ "ไม่ควรทำแบบนั้น" ?

สุดท้ายคือ เรื่องของหลักฐาน  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะคนส่วนใหญ่มี bias อยู่ล่วงหน้าอยู่แล้ว หากหลักฐานสนับสนุนฝ่ายตน ไม่ต้องเป็นหลักฐานที่หนาแน่นมาก ก็เชื่อ หากหลักฐานตรงข้ามกับฝ่ายตน ก็จะปิดหูปิดตาไม่เชื่อ  .... คำว่าหลักฐานนั้น ควรจะเป็นอะไรที่สามารถลำดับเหตุการณ์ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ (ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้ยืนยันอะไร)

เรื่องของพยานก็เช่นกัน โดยปกติแล้วพยานบุคคลมักจะไม่เห็นเหตุการณ์ตั้งแต่แรก แต่มักจะเป็นการเข้าไปเห็นเพียงส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ ดังนั้นคำพูดของพยานไม่อาจเป็นสิ่งยืนยันเหตุการณ์ทั้งหมดได้

 

คำสำคัญ (Tags): #พยาน#หลักฐาน
หมายเลขบันทึก: 255651เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2009 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

  • เชื่อกันจัง คลิบน่ะ
  • เจตนาอย่างไร ให้ผิด ก็ผิด ตลอดไปน่ะค่ะ
  • รอวัน ฟ้ามีตา
  • ธรณี เป็นพยาน
  • ดาบนี้คืนสนอง

สวัสดีครับครูอ้อย,

จริงๆแล้ว ข่าวที่สร้างภาพพจน์ให้กับฝ่ายตนก็ปล่อยมาจากทั้งสองฝ่ายน่ะครับ (เพียงแต่ของอีกฝ่ายถูกจำกัดการเผยแพร่ด้วยพรบ.ความมั่นคงที่ผมเกลียดนักหนา เพราะมันจำกัดสิทธิในรูปแบบที่ไม่ชัดเจนว่าเรามีสิทธิทำอะไรได้บ้าง) ยังไงก็ตาม ผมอยากให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญานด้วยน่ะครับ

เข้ามาแลกเปลี่ยนค่ะ

  • คำถามที่น่าสนใจ คือ ทำไมจึงเกิดการใช้ความรุนแรงขึ้น???
  • เป็นสิ่งที่สังคมไทยควรตระหนัก และ คิดว่าจะทำอย่างไร กับ

    "การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหามากขึ้นในสังคม???"
  • ก่อนที่สังคมไทย จะกลายเป็น สังคมขาดสติ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ.

 

สวัสดีครับคุณ pis.ratana

ในความเห็นของผมนะครับ (เป็นความเห็นที่ถูกกระตุ้นขึ้นมาจากการอ่านบทความเรื่องเกมความรุนแรงนั่นแหละครับ) การใช้ความรุนแรงน่าจะเริ่มมาจากความรู้สึกที่ว่า รุนแรงสามารถตอบโต้ด้วยความรุนแรงได้ ทั้งสองฝ่าย(รัฐบาลและเสื้อแดง) รู้ช่องโหว่ในด้านจิตใจที่เป็นความเชื่อของประชาชนทั่วไปคือ การโต้ตอบถือเป็นการป้องกันตัวด้วยความชอบธรรม

ทำไมนี่จึงเป็นช่องโหว่ในด้านจิตใจ?

เพราะมันกลายเป็นว่า หากคิดจะใช้กำลังทำอะไรสักอย่าง เพียงแต่หาข้ออ้างเรื่องความชอบธรรมให้ตน ก็จะได้รับการสนับสนุนจากฝูงชนทันที  ตัวอย่างเช่น

  • การล้มประชุมอาเซียน โดยที่มีรูปของเนวินซ้อนมอเตอร์ไซค์ที่พัทยา สร้างความเชื่อว่าเนวินอยู่เบื้องหลังของเสื้อน้ำเงิน แล้วก็สร้างความชอบธรรมให้กับการล้มการประชุมอาเซียน  เนวินไปทำอะไร สั่งการเสื้อน้ำเงินจริงหรือเปล่าก็ไม่มีหลักฐานชัดเจน หรือถึงจะสั่งจริง ก็อาจจะไม่ใช่คำสั่งของรัฐบาลก็ได้
  • การใช้ความรุนแรงที่สามเหลี่ยมดินแดง  และขณะเดียวกันมีคลิปแท็กซี่ชนทหารหลุดออกมา สร้างความเชื่อว่าเสื้อแดงเป็นฝ่ายเริ่มก่อน (หากฟังดีๆ จะรู้เพิ่มขึ้นอีกว่า ผู้อัดคลิปนั้นเป็นคนที่เกลียดเสื้อแดงอยู่แล้ว มีการเลือกนำเสนอเฉพาะส่วนหรือเปล่าก็เป็นอีกคำถาม?)

ผมไม่ได้บอกว่าใครถูกใครผิด แต่ส่วนหนึ่งที่วิธีนี้ใช้ได้ผล ก็เพราะว่าการมีอยู่ของกลุ่มชนที่เสพสื่อแบบไม่ยั้งคิด เช่น การเห็นภาพของเนวินแล้วสรุปว่าเป็นคำสั่งจากนายกฯโดยทันที หรือ การเห็นคลิปแท็กซี่ชนทหารแล้วเชื่อโดยทันทีว่าเสื้อแดงเป็นฝ่ายเริ่มเกม เป็นต้น  บุคคลเหล่านี้กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของ "เกมความรุนแรง" เป็นผู้สนับสนุนที่แต่ละฝ่ายนำมาสร้างความชอบธรรม

 

 

 

  • เป็นลิงค์บทความที่ดีครับ เข้าไปแล้ว
  • การยกตัวการยิง นาย A, B, C ก็ดีครับ ช่วยให้เข้าใจ อย่าด่วนสรุป เชื่ออะไรง่ายๆ ทั้งๆที่ยังมีข้อสรุปอื่นที่เป็นไปได้อีก
  • ถ้าคุณปริญญา ยังมีเวลาบ้าง เขียนเข้ามาอีกนะครับ เรื่องหลังเหตุการณ์นี้ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แน่นอน
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูล ความคิดดีๆ >> เราจะพัฒนาไปสู่ยุคการประท้วง โดยไม่ใช้ความรุนแรงโดยสมบูรณ์

 

สวัสดีครับคุณพันคำ

ขอบคุณครับ ผมเองก็พยายามหาเวลาเขียนเรื่อยๆอยู่นะครับ

เห็นด้วยครับ ที่เราจะต้องไปถึงจุดนั้นให้ได้สักวัน "การประท้วง แบบไม่ทำลายสิทธิคนอื่น ไม่ทำลายคนอื่น" ที่ผ่านมาทั้งหมด สองสามปีมานี้ ผมยังไม่เห็นว่าจะเป็นแบบนั้นเลยครับ

เข้าไปดูที่ลิงค์ไว้ค่ะ จริงแล้วไม่ชอบเรื่องการเมือง เหตุผลคือไม่มีความแน่นอนและต่างที่เข้ามาก็เพื่อผลประโยชน์ของตนทั้งนั้น

สวัสดีครับคุณทรายชล การเมืองไทยในปัจจุบันคือเกมของการสร้างภาพน่ะครับ ผมแบ่งคนได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆน่ะครับ ผู้สร้างภาพได้ดีกว่า และผู้สร้างภาพได้แย่กว่า

อยากให้เราสร้างวัฒนธรรมการแก้ปัญหา เรียนรู้ปัญหา มากกว่าการมองหาคนผิดคนถูกเหมือนกันค่ะ เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าความถูกผิดนั้น ไม่มีวันลงตัว ขึ้นอยู่กับมุมมองและอีกสารพัดปัจจัย และจริงๆแล้วไม่สร้างสรรค์เลย ใครๆก็รู้ว่าไม่มีใครอยากทำผิด แต่ทุกคนก็เคยทำผิด และหาได้น้อยคนที่ทำผิดแล้วอยากให้ใครๆรู้ว่าเราผิด มันเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้าเราฝืนธรรมชาติ คงจะไปไหนได้ไม่ไกลหรอกค่ะ

ขอบคุณคุณปริญญา ที่เปิดประเด็นเรื่องชวนคิดเรื่อยๆนะคะ วัฒนธรรมแบบนี้เราก็น่าจะสร้างเหมือนกันนะคะ มองกันหลายๆมุม เห็นต่างๆกันหลากหลายแต่เราก็ไม่ได้ทะเลาะกัน

เรื่องทุกเรื่องมีที่มาที่ไป สุดท้ายเราก็คงสรุปไม่ได้ว่าอะไรก่อนหรือหลังเพราะสิ่งที่โยงใยให้เหตุการณ์ทั้งหลายมาบรรจบกันนั้นบางสิ่งก็เกิดขึ้นเอง บางสิ่งก็ถูกสร้างขึ้น จนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหลายนั้นเดินทางมาถึงบทสรุป แล้วหลายๆคน(หรือบางคน)ก็ยึดเอาเป็นข้ออ้างเพื่อแสดงความชอบธรรมว่าสิ่งที่ตนทำนั้นสมเหตุสมผลแล้ว แล้วคนฟังก็จะเชื่อ โดยยึดเอาคุณธรรมที่ตัวเองยึด(ตามที่ตัวเข้าใจ แต่ไม่ค่อยทำ) เป็นสิ่งตัดสิน

สวัสดีครับคุณโอ๋-อโณ

ขอบคุณครับ ผมก็ชอบที่มีคนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรื่องการเมืองกันแบบสร้างสรรค์ได้เรื่อยๆเหมือนกันครับ แทนที่จะเข้าไปด่ากันตามเว็บบอร์ดต่างๆ :)

สวัสดีครับคุณต้อยติ่ง,

เราควรสร้างวัฒนธรรมที่ไม่มีคำว่า "ข้ออ้างของการทำร้ายคนอื่นโดยความชอบธรรม" น่ะครับ

พลเมืองเป็นผู้ดู ถ้าแต่ละคนไม่เลือกข้าง ต่างทำมาหากินไปตามอาชีพและหน้าที่.....เฮ้อ

สวัสดีครับคุณ saard2552

ขอบคุณครับ

หน้าที่ของพลเมือง ไม่ใช่การเป็นผู้ดูอย่างเดียวหรอกนะครับ การที่ผมพยายามสร้างความเชื่อเรื่องการไม่รุนแรงตอบโต้รุนแรง ก็เป็นสิ่งที่ผมเชื่อนะครับ ว่าจะนำพาประเทศไปสู่สันติได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท