ไปหาลูกค้า(หมอ)... อย่าลืมปากกาแจกฟรี


... 

 

ภาพที่ 1: แผ่นพับด้านสุขภาพต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับเด็ก โปรดสังเกตไอเดีย "ดึงหัวใจออกมา" > [ nytimes ]

...

ภาพที่ 2: โบรชัวร์ (brochure) หรือแผ่นพับโฆษณาบ้านพัก (home stay) ในเกียวโต ญี่ปุ่น > [ flickr ] by [ jfeuchter ]

...

คุณชาร์เรน แฟรงคลินจากหน่วยงาสุขภาพเมืองนิวยอร์คอยากจะตอบแทนอะไรนิดๆ หน่อยๆ ให้กับคนขับรถพ่วงที่ช่วยถอยดูรถให้ตอนเธอถอยออกจากที่จอดรถ เธอจึงให้ปากกาเขาไป

คนขับรถมองปากกาอย่างรวดเร็ว (squint = quick look) แล้วบ่นนิดหน่อย "เมืองนิวยอร์ค... เมืองนี่น่ะเหรอ ไม่เคยให้อะไรเราเลย"

...

บริษัทยารู้กันดีว่า ถ้าจะให้หมอจำชื่อยาได้... วิธีง่ายๆ คือ ให้พิมพ์ไปบนปากกา และต้องให้ผู้แทนยา (representatives = ตัวแทน ผู้แทน ผู้แทนราษฏร) ซึ่งมักจะเป็นเภสัชกรที่มีหน้าที่ให้รายละเอียด (detailers; detail = รายละเอียด; detailer = ผู้ให้รายละเอียด ผู้ให้ข้อมูล) เข้าๆ ออกๆ ตามห้องตรวจ

ที่สำคัญคือ ปากกานี่ต้องแจกฟรี... ไม่อย่างนั้นหมอจะไม่ยอมฟัง ไม่ตั้งใจฟัง หงุดหงิด หรือไม่ยอมใช้ยา

...

ตอนนี้คุณแฟรงคลินก็จะใช้เทคนิคของบริษัทยามาแนะนำโครงการหรือโปรแกรมสุขภาพของรัฐ ซึ่งใช้เงินรณรงค์เรื่องสุขภาพไปเกือบ $900,000 เหรียญ = 31.5 ล้านบาท (คิดที่ 35 บาท/$)

ดร.โตมัส อาร์. ฟรายเดน ผู้ตรวจการสุขภาพที่นั่นบอกว่า รัฐของเรา (นิวยอร์ค) ต้องทำการตลาดกับหมอให้ได้... ถ้าบริษัทยานำเสนอยายี่ห้อต่างๆ ได้ เราก็ต้องทำให้ได้

...

ปีนี้บริษัทยาทำของขวัญติดยี่ห้อไปแล้วหลายอย่างตั้งแต่ปากกา ไม้กดลิ้น (tongue depressors = อุปกรณ์กดลิ้นด้านหน้า เพื่อให้ดูคอหอยและทอนซิล)...

คุณเวเดไมเออร์บอกว่า หมอมักจะให้ความร่วมมือกับเราดี ที่เรายังสู้บริษัทยาไม่ได้คือ เรายังไม่มีสตางค์มาจ้างอดีตเชียร์ลีดเดอร์ (cheerleaders = ผู้นำกองเชียร์กีฬา ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนนักศึกษาที่มีรูปงาม)

...

แต่เราก็สอนคนของเรา (staff = ทีมงาน พนักงาน) ให้รู้จักทำตัว และแต่งตัวให้ดูน่าสนใจ (attractive) ไม่เชยแบบเดิมๆ อีกต่อไป

คุณสตีฟ ไตรเคานาคิส ผู้ช่วยแพทย์ (physician assistant; physician = หมอ; assistant = ผู้ช่วย; สหรัฐฯ มีระบบผู้ช่วยแพทย์ที่รับคนจบปริญญาตรีมาฝึกอบรม 1 ปี และขึ้นทะเบียนกับหมอ เพื่อช่วยงานได้ คล้ายๆ กับผู้ช่วยทันตแพทย์ในไทย) บอกว่า "พวกเราชอบปากกาฟรีครับ"

...

อาจารย์ฮาร์โทคอลลิส ผู้เชี่ยวชาญที่จัดทำบทความนี้แนะนำว่า ไม่ว่าจะรณรงค์หรือเสนอขายอะไร... การลงทุนอาจจะสำเร็จหรือล้มเหลวด้วยปัจจัยสำคัญ (key success factor / KSF) กับของราคาไม่กี่บาท

ตัวอย่างเช่น รัฐนิวยอร์ครณรงค์โครงการสุขภาพช่วงนี้ 31.5 ล้านบาท แต่ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จหรือล้มเหลวอาจจะมาจากปากกาด้ามละไม่กี่บาทนี่เอง

...

ว่าแต่ว่า ถ้าท่านผู้อ่านเป็นหมอ... ท่านจะเลือกฟังผู้แทน (บริษัท) ยา (representatives) ที่มา "มือเปล่า" หรือมาพร้อมกับปากกาฟรี 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                    

  • 'brochure' > [ โบร - ชั่ว ] > [ Click ] , [ Click ]
  • 'brochure' > noun = แผ่นพับโฆษณา (โปรดสังเกตว่า ออกเสียง "ชั่ว" แต่เรื่องในแผ่นพับมักจะเป็นเรื่องดีๆ)

แนะนำให้ฟังเสียงเจ้าของภาษาแล้วออกเสียงตามอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยคลิกที่ลิ้งค์ > คลิกเครื่องหมายลำโพงหรือธงชาติ

...

ที่มา                                                     

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 14 เมษายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 255646เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2009 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท