Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รื้องานเก่ามาอ่านใหม่ (๒) : ปัญหาอันเป็นผลของการรับ “สถานะคนต่างด้าว” ตามโครงการของกรมการปกครองของชาวเขาที่เกิดในประเทศไทย


ไปค้นอีเมลล์เก่าๆ แล้วเจออีเมลล์ที่คุณใหญ่กฤษฎาถามอาจารย์วีนัส คำถามน่าสนใจ ควรแก่การนำมาบันทึกเพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการสอนหนังสือกฎหมาย เลยเอามาบันทึก แล้วว่า จะชวนอาจารย์วีนัสมาเขียนคำตอบกัน โดยสรุปของปัญหา ก็คือ การที่ชาวเขาไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวโดยไม่รู้ว่า ตนมีสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยผลของกฎหมาย จะทำให้เสียสัญชาติไทยหรือไม่ ? หรือจะเสียสิทธิที่จะร้องขอสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักดินแดนหรือไม่ ? เราจะตอบคำถามนี้ได้ เราก็จะต้องทราบว่า ข้อเท็จจริงอย่างใดที่มีผลตามกฎหมายให้บุคคลต้องเสียสัญชาติไทย ? หรือเราต้องทราบว่า ข้อเท็จจริงใดทำให้บุคคลต้องเสียสิทธิที่จะร้องขอสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ? แล้วจะตอบในบันทึกต่อไป ทำความเข้าใจคำถามกันก่อนแล้วกันค่ะ

เรียนหัวหน้าวีนัสและทุกท่าน

         จากการลงพื้นที่เพื่อทำงานวิจัยและเก็บข้อมูลที่เพื่อแก้ไขปัญหาชาวบ้าน  พบปัญหาที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามโครงการเร่งรัดกำหนดสถานะบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่ปกครอง

               เนื่องจากในปี พ.ศ.2540 ได้มีโครงการเร่งรัดกำหนดสถานะบุคคลของชาวไทยภูเขาในเขตจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะในเขตอำเภอเชียงของ ได้มีการออกชุดปฏิบัติการเพื่อรับคำร้องลงสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากในขณะนั้นทางราชการยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการพิจารณาลงรายการสัญชาติหรือการให้สัญชาติแก่ชาวเขา ทำให้มีบุคคลชาวเขาที่มีทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูงเข้ามายื่นคำร้องเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นบุคคลที่เกิดนอกประเทศไทยและในประเทศไทย(หลักฐานปรากฎตามเอกสารทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง)  ซึ่งต่อมาผู้ที่ยื่นคำร้องก็ได้รับพิจารณากำหนดสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายทุกคำร้อง ซึ่งจะมีทั้งกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มเด็ก

         หลังจากทางราชการมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการลงรายการสัญชาติตามระเบียบฯ 43 หรือให้สัญชาติตามมาตรา 7 ทวิ ทำให้ผู้ที่ได้รับสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เกิดประเทศไทย มีความต้องการที่ขอลงรายการสัญชาติไทยและขอมีสัญชาติไทย แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากทางอำเภอแจ้งว่า แต่ละคนนั้นมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบแล้ว และมีการบันทึกข้อมูลในระบบทะเบียนราษฎรว่าเป็นบุคคลต่างด้าวแล้ว ไม่สามารถดำเนินการได้

            ผมจึงรบกวนปรึกษาหัวหน้าและทุกท่านใน 2 ประเด็น

1. กรณีบุคคลที่เกิดในประเทศไทย (มีหลักฐานในแบบพิมพ์ประวัติระบุว่าเกิดไทย) แต่ไปขอรับสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้น จะมีแนวทางแก้ไขประการใด ?

2. กรณีบุคคลที่อ้างว่าเกิดในไทย มีหลักฐานเป็นผลการตรวจเลือด (DNA) รับรองโดยสถาบันของรัฐ ที่ระบุว่าเป็นน้องและพี่ของบุคคลสัญชาติไทย แต่ตนเองรับสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายไปแล้ว จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

          ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะได้รับความกรุณาจากหัวหน้าถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  เพื่อที่จะนำเสนอแนวทางแก้ไขให้แก่ชาวบ้านเพื่อดำเนินการกับทางอำเภอต่อไป ขอบคุณมากครับ

                                                กฤษฎา

-----------------------------------------------

Date: Mon, 24 Mar 2008 00:12:11 -0700

From: y_kitsada

To: venus

----------------------------------------------

หมายเหตุ : เป็นบันทึกองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาความไร้สัญชาติของบุคคลบนพื้นที่สูงที่เกิดนอกประเทศไทย


ความเห็น (7)

ยังไม่พร้อมตอบมาสองวัน เลยโดนอ.แหวว ถามทุกครั้งที่คุยกัน (ไม่ว่าจะทางเอ็ม หรือทางโทรศัพท์) เพราะไม่แน่ใจว่า-เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า เพราะรู้สึกว่าคำถามนี้-ไม่เห็นง่ายตรงไหน

อย่างไรก็ดี หลังจากไปอ่าน "คู่มือฯ ช่วยชีวิต" และนั่งคิด(ไปกินไป) คิดว่าคำถามของอ.แหวว สามารถเริ่มต้นตอบได้จากหลายทาง/หลายมุม

..เลยขอแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆๆ แบบนี้ (ทยอยๆๆ แลกเปลี่ยน)

-1-

การมีสัญชาติไทย และกระบวนการหรือขั้นตอนในการเข้าถึงสัญชาติไทย ของบุคคล เป็นไปตามกม.(พระราชบัญญัติสัญชาติ รวมถึงกม.ลำดับที่เกี่ยวข้อง) กลุ่มของชนเผ่า กลุ่มชาวเขา ชาวไทยภูเขา บุคคลบนพื้นที่สูง ก็ต้องเป็นไปตาม พรบ.สัญชาติ, ระเบียบ 17 (ยกเลิก), 35 (ยกเลิก),43 รวมถึงระเบียบสำนักทะเบียนกลางฯ 2535

-ส่วนการรับใบต่างด้าวฯ เป็นการเสียสัญชาติโดยผลของข้อเท็จจริงที่กม.กำหนด (การเสียสัญชาติ มีเหตุ 3อย่างคือ การเปลี่ยนแปลงที่กระทบถึงความเป็นรัฐ, กม.สัญชาติเปลี่ยนแปลง, เกิดข้อเท็จจริงที่กม.กำหนดให้เสียสัญชาติ ซึ่งมี ๒ กรณีคือ การรับใบต่างด้าวและการแปลงสัญชาติเป็นต่างด้าว)

-อย่างไรก็ดี "คู่มือฯ ช่วยชีวิต" บอกว่า ม.21 นี้ ไม่ได้มุ่งบังคับต่อคนไทยทุกคน แต่จะต้องเป็นคนที่มีลักษณะ 3 อย่างคือ หนึ่ง-มีสัญชาติไทย, สอง-เกิดในขณะที่พ่อหรือแม่เป็นคนต่างด้าว, และสาม-เป็นผู้อาจถือสัญชาติของพ่อและแม่ได้ตามกม.ว่าด้วยสัญชาติของพ่อและแม่

ดังนั้น

คนมีสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยผลของกฎหมาย การไปรับใบต่างด้าว จะมีผลทำให้เสียสัญชาติไทย ก็จะต้องเป็นไปตามองค์ประกอบของม.21

ฮิฮิ แล้วเสียไหมล่ะ

แล้วขาดคุณสมบัติที่จะร้องขอสัญชาติไทยไหมล่ะ

ฟันธงซิ

-2-

เจตนา ก็เป็นอีกประเด็นสำคัญ เพราะ "มิได้สมัครใจ"

มีฎีกาเรื่องนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2498 (อัยการจังหวัดตะกั่วป่า โจทก์ v. นายกิ้มเลี่ยน อึ่งสกุล จำเลย)

หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรแต่บิดาเป็นคนต่างด้าว ได้สมรสกับคนต่างด้าวแต่ตามกฎหมายยังคงเป็นคนสัญชาติไทยอยู่ ต่อมาหญิงนั้นได้ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตาม กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว แต่เป็นการรับเพราะเหตุที่ได้สมรสกับคนต่างด้าว และเป็นการปฏิบัติคำแนะนำของเจ้าพนักงานมิใช่โดยสมัครใจหญิงนั้นจึงยังหาขาดจากสัญชาติไทยไปตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) มาตรา 5 ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2498)

รวมถึง ฎีกาที่ 1576 - 1590/2498

อีกอย่าง อ.แหวว เคยอ้างฎีกาเรื่องหนึ่่ง ที่ศาลชี้ว่า "การรับใบต่างด้าวฯ ไม่เป็นเหตุให้เสียสัญชาติ"

หาไม่เจอค่ะ

แหะๆ สำหรับคำตอบ "ฟันธง" ไม่ค่อยมั่นใจ แต่อยากตอบ

ไม่ขาดคุณสมบัติขอลงรายการสัญชาติไทย

เพราะการขอลงรายการสัญชาติไทย มันชัดเจนว่า เป็นไปตามกม. คือกม.สัญชาติและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าข้อเท็จจริง อันเป้นองค์ประกอบของผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง ..ก็ต้องมีสิทธิยื่นคำร้องได้

เอกสารที่รับไป ด้วยสำคัญผิดในสาระสำคัญ ขาดองค์ประกอบ ก็ต้องไปดำเนินการทางทะเบียนราษฎร ..ยังไม่ได้ค้นต่อ ว่า ใช้กลไก/ช่องทางไหน

ตอบในเชิงหลักการค่ะ

แหะๆ

(-_ - '')

your turn kha.

สิ่งที่น่าจะมาดูกัน ก็คือ กฎหมายว่าอย่างไร ?

ลองเอามาตรา ๒๑ ที่ว่า มาดูกันเนื้อๆ เลยได้ไหมคะ

มาจับองค์ประกอบกันเลย เขียนบันทึกตอบบันทึกเลยค่ะ

ใครสักคน ? แก้ว ? มิว ? เอาข้อเท็จจริงในฎีกามาดูกันเลยชัดๆ โต๊ะเสวนาวิชาการจะเกิดขึ้นได้ไหมคะ ?

หรือใหญ่คนเริ่มต้น ลองหยิบกฎหมายมาตอบเอง กฎหมาย ก็เหมือน "ตะเกียบ" นะคะ ใหญ่ขา

ในวันนั้น วีนัสได้ตอบไปไหม มีหนังสือสั่งการในเรื่องนี้ไหมคะ

อ.ด๋าวทำหน้าที่ ส่งอีเมลล์ตามคนมาคุยกันหน่อยไหมคะ

เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพิสูจน์ศัญชาติไทยไหมคะ อ.ด๋าว ฮิฮิ ????

กรณีนี้มิวเคยเจอที่เชียงของค่ะ แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรรู้อย่างเดียวว่าต้องแก้สถานะให้ถูกกับความเป้นจริงค่ะ

ต่อมาเมื่อไม่นานนี้ มีกรณีเกิดขค้นที่อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เขาอายุมากแล้ว (เกิดก่อน ๒๕๑๕) และไปถือใบต่างด้าว ทั้ง ๆ ที่เขาเกิดในไทย (อ.แหววคงจำได้ ที่อ.เอ๋นำมาปรึกษา) กรณีนี้อ.แหววเคยถามเหมือนกับคำถามนี้เลยว่า เขาขอลงรายการสัญชาติไทย ตามม.๒๓ ได้หรือไม่ ??

และจนถึงตอนนี้ไม่รู้ว่ากรณีนี้ไปถึงไหนแล้ว คงต้องลองถามอ.เอ๋ดูอีกที

เรื่องที่มิวเล่า ก็คือเรื่องของสัญชัยไงคะ

ว่าแต่ว่า ใครเขียนบันทึกของการใช้สิทธิตามมาตรา ๒๓ ของสัญชาติแล้วยัง และวันนี้ เราติดตามช่วยเหลือสัญชัยในทุกปัญหาที่เขาเผชิญจนจบแล้วยัง

ถือโอกาสบอกมิว ให้เอาตารางสรุปกรณีคำร้องในห้องทำงานเราที่ไหมทำมาสานต่อด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท