Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รื้องานเก่ามาอ่านใหม่ (๑) : มาคิดกันว่า เราควรแปลคำว่า "Stateless" ว่า "คนไร้สัญชาติ" หรือไม่ ??


เสวนานิยามของคำว่า “Stateless Person” ระหว่าง อ.แหวว อั้น และป๊อบ ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๑

phunthip saisoonthorn <> 08/15/08 3:35 pm

ต้องถามกลับว่า ฝรั่ง "ไม่เข้าใจ" คำว่า nationalityless" หรือ  "ไม่ยอมรับ" ความมีอยู่กันแน่ของ "คำนี้" ต้องเอาตรงนี้ให้ชัดก่อนนะคะป๊อบเหมือนการยอมรับว่า  "มีผี" หรือ "ไม่มีผี"

เมื่อยอมรับแล้ว วิธีคิดและวิธีจัดการก็จะดำเนินได้

หากเราเห็นว่าฝรั่งไม่ยอมรับ ก็เลยจะกลับมาใช้คำเดียวกันอธิบายสองอย่าง ก็จะสับสนเหมือนเดิมไหมคะ

Date: Fri, 15 Aug 2008 11:41:23 +0200

From: TIANCHAI To: archanwell;

Subject: Re: Definition of the term "stateless person"

เรียน อ.แหวว

ผมคิดไว้ก่อนอยู่แล้วว่าอาจารย์ต้องชวนถกเถียงเรื่องนี้ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะเขียนให้ความเห็นไปอย่างนั้น ที่ผมเสนอคำว่า "Statelessness" เป็นเพราะว่า อาจารย์บอกว่าอยากให้ "ฝรั่งเข้าใจ"

ถ้าเป็นตามความเข้าใจของฝรั่ง ซึ่งปรากฎอยู่ในคำนิยามของ 1954 Convention relating to the Status of Stateless Persons Article 1.-Definition of the term "stateless person" 1. For the purpose of this Convention, the term "stateless person" means a person who is not considered as a national by any State under  the operation of its law.

ดังนั้น ฝรั่งจึงเข้าใจว่า "stateless person" เกี่ยวข้องกับสัญชาติของบุคคล ถ้าหากไม่เป็นคนชาติแล้วก็ต้องเป็น "stateless" ถ้าหากเราพิจารณาจากประโยคในอนุสัญญาก็จะเข้าใจได้ว่าคำว่า "stateless  person" อาจจะมีความหมายได้หลายอย่างก็เป็นได้ ในอนุสัญญาจึงบอกว่า จำกัดเฉพาะสำหรับอนุสัญญานี้ คำว่า "stateless person" หมายถึง บุคคลที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นคนชาติจากรัฐใดภายใต้อำนาจกฎหมายของรัฐ เมื่อเป็นเช่นนี้ อนุสัญญาฯ นี้จึงครอบคลุมเฉพาะ de jure statelessness เท่านั้น คือคนไร้สัญชาติตามผลของกฎหมาย ไม่รวมถึง de facto statelessness คือคนไร้สัญชาติตามข้อเท็จจริง

บุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทยที่ตามกฎหมายควรมีสัญชาติไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม จึงเป็นคนไร้สัญชาติตามข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ได้อยู่ในกลุ่มบุคคลไร้สัญชาติที่อนุสัญญาฯ นี้ ครอบคลุมถึง หรือไม่ได้รวมอยู่ในนิยามหรือบุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทย ไม่เหมือนกับของฝรั่งก็เป็นได้ ถ้าอย่างนั้นอาจจะเข้าข้อยกเว้นของอนุสัญญาฯ ถ้าหากตีความจากวรรคสอง ว่าอนุสัญญานี้ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลใดบ้าง  2. This Convention shall not apply:   (ii) To persons who are recognized by the competent authorities of the country in which they have taken residence as having the rights and  obligations which are attached to the possession of the nationality of  that country;  ซึ่งถ้าหากคนไร้สัญชาติในประเทศไทยได้รับการยอมรับจากรัฐไทยและมีสิทธิและหน้าที่เฉกเข่นบุคคลที่มีสัญชาติไทย อนุสัญญานี้ก็ไม่ครอบคลุมถึง หรืออาจจะตีความได้ว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้เป็น "stateless person"  แม้คนไร้สัญชาติในประเทศไทย จะได้รับการยอมรับโดยรัฐไทยว่าเป็นบุคคลอยู่ในรัฐไทย หรือให้สิทธิอาศัย แต่ยังคงด้อยสิทธิในด้านอื่นๆ อยู่บ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลสัญชาติไทย ดังนั้น บุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทยก็ยังควรอยู่ในกลุ่มบุคคลที่อนุสัญญาฯ นี้ ครอบคลุมถึงด้วย

ทั้งนี้ เราอาจจะต้องพิจารณาถึงประวัติศาสตร์ในช่วงปี ค.ศ. 1954 ด้วยว่าเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีผู้ลี้ภัยชาวยิวจำนวนมาก ไม่ว่าจะอยู่ในรัฐของตน หรืออยู่ในรัฐอื่น แต่กลับไม่มีสัญชาติ ทั้งนี้ เป็นเพราะพรรคนาซีได้ออกกฎหมายถอนสัญชาติของชาวยิวไป ชาวยิวจึงตกเป็นคนไร้สัญชาติตามผลของกฎหมาย ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วไปในทวีปยุโรป ดังนั้นจึงน่าจะเป็นที่มาว่า สหประชาชาติต้องการแก้ไขปัญหาของคนที่มีรัฐแต่ไม่มีสัญชาตินั่นเอง

แต่ถ้าหากจะบังคับให้ฝรั่งเข้าใจ ก็สามารถใช้คำว่า "nationalityless" ได้ เพื่อให้เกิดคำถามที่อาจจะนำไปสู่การพยายามทำความเข้าใจคำนิยามรวมถึงที่มาของคำนี้ในบริบทของประเทศไทยว่า เรามีคนที่มีรัฐ แต่ไม่มีสัญชาติ

ฝากคิดต่อแล้วกันนะครับ ขอบคุณครับ ป๊อป

From: archanwell Sent: Sunday, August 17, 2008 11:46 AM

To: Veerawit Tianchainan

อ่านที่ป๊อบตอบมานี้ มีข้อเสนอ ๒ อย่าง

        ในประการแรก สำหรับป๊อบ ก็คือ น่าจะเขียนเป็นบทความเล็กๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีเวลา พูดถึงคำนิยามของคำว่า "Stateless" ในความเข้าใจของฝรั่ง และเปรียบเทียบกับสิ่งที่เป็นอยู่ในประเทศไทย และที่สำคัญควรเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมิฉะนั้น ก็จะเถียงกันที่ว่า ภาษาถูกไหม ? แต่ไม่เถียงกันว่า ข้อเท็จจริงที่ภาษาสื่อออกมาถูกไหม ?

ในประการที่สอง สำหรับพวกเราที่กำลังมุ่งจะทำอะไรอย่างหนึ่ง กล่าวคือ การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาคนที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลในประเทศไทยนั้น การสื่อสารชื่อหลักสูตรของเราก็ต้องช่วยกันคิด ไม่คิดว่า ข้อโต้แย้งของป๊อบเกิดจากความไม่เข้าใจ แต่ที่แย้งกลับไป เพื่อให้ลองคิดกันอีกทีว่า เราจะสร้างความเข้าใจกับ "ฝรั่ง" อย่างไร ? ที่ให้ความสำคัญแก่ฝรั่งนั้น โดยเฉพาะ UN นั้น ก็เพราะความเข้าใจผิดในด้านแนวคิดเกี่ยวกับบุคคลเป้าหมายนี้เองที่จะนำไปสู่การผลักดันโครงการหลายโครงการที่ไม่นำประโยชน์มาสู่เจ้าของปัญหาเลย ชัดๆ ก็คือ การทำให้คนไร้รัฐทุกคนคิดว่า ตนเองจะต้องได้สัญชาติไทยโดยระเบียบ ๔๓ ไม่ว่า เขาจะมีพ่อแม่เกิดในหรือนอกไทย ทุกคนอ้างว่า ก็ฉันไร้สัญชาติ ในหลักสูตรที่ทำที่แม่อาย พยายามขยับตามปกติประเพณีของประเทศไทยที่เริ่มจาก

         (๑) ในกรณีที่ฟังว่า ยังไร้รัฐโดยสิ้นเชิง อันหมายความว่า ไม่ได้รับการบันทึกการเริ่มต้นสภาพบุคคลในทะเบียนบุคคลของรัฐใดเลย รัฐไทยก็จะรับรองสถานะบุคคลในแบบพิมพ์ประวัติ ซึ่งในวันนี้ เรียกว่า ท.ร.๓๘/๑ หรือ ท.ร.๓๘ ก ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จะเกิดในขั้นตอนนี้ ก็เพื่อการสอนให้เจ้าของปัญหาและผู้สนับสนุนเจ้าของปัญหาทราบถึงแนวคิดและวิธีการผลักดันให้มีการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายเอกชนในทะเบียนราษฎรของรัฐไทยก่อน เว้นแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ชัดว่า อาจได้รับการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยที่มากกว่า ความช่วยเหลือทางกฎหมายก็ย่อมจะต้องเป็นไปในจุดที่ดีที่สุดสำหรับบุคคล

         (๒) ในกรณีที่ฟังว่า  ข้อเท็จจริงอันทำให้มีสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมาย รัฐไทยก็ต้องรับรองสถานะบุคคลของคนสัญชาติไทย ใน ท.ร.๑๔ ความช่วยเหลือทางกฎหมายย่อมต้องเป็นไปเพื่อการสอนให้เจ้าของปัญหาและผู้สนับสนุนเจ้าของปัญหาทราบถึงแนวคิดและวิธีการลงรายการสัญชาติไทยใน ท.ร.๑๔

         (๓) ในกรณีที่พบว่า ไม่มีข้อเท็จจริงที่ฟังว่า มีสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมาย และไม่มีสัญชาติของประเทศใดเลย กล่าวคือ เป็นคนไร้สัญชาติ  แต่พบว่า เกิดในประเทศไทย ความช่วยเหลือทางกฎหมายย่อมเป็นไปเพื่อการสอนให้เจ้าของปัญหาและผู้สนับสนุนเจ้าของปัญหาทราบถึงความเป็นไปได้ที่คนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยจะพึ่งมี

         (๔)  ในกรณีที่พบว่า ไม่มีข้อเท็จจริงที่ฟังว่า มีสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมาย และไม่มีสัญชาติของประเทศใดเลย กล่าวคือ เป็นคนไร้สัญชาติ  แต่พบว่า เกิดนอกประเทศไทย ความช่วยเหลือทางกฎหมายย่อมเป็นไปเพื่อการสอนให้เจ้าของปัญหาและผู้สนับสนุนเจ้าของปัญหาทราบถึงความเป็นไปได้ที่คนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยจะพึ่งมี

         (๕) ในกรณีที่ฟังว่า  ข้อเท็จจริงอันทำให้มีสัญชาติของรัฐต่างประเทศโดยผลของกฎหมาย  รัฐไทยย่อมไม่อาจรับรองสถานะบุคคลของคนสัญชาติของรัฐต่างประเทศได้เลย การกระทำเช่นนั้นย่อมเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยเหนือบุคคลนั้น ความช่วยเหลือทางกฎหมายย่อมแตกต่างกันระหว่างคนที่เข้ามาในประเทศไทยโดยมีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล และคนที่เข้ามาโดยไม่มีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล ขอให้ตระหนักว่า มีประเด็นที่ภาควิชาการไทยยังคิดได้ไม่ชัดเจนนักในกลุ่มนี้ ในแรงงานที่เข้ามาโดยไม่ปรากฏมีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลโดยประเทศต้นทางเป็นคนจากพม่า ลาว และกัมพูชา พวกเขาก็จะถูกรัฐไทยบันทึกใน ท.ร.๓๘/๑ แล้ว และรอการพิสูจน์สถานะบุคคลกับประเทศต้นทาง ดังนั้น การสอนในกรณีนี้ จึงอาจต้องจำแนกธรรมชาติของเจ้าของปัญหา คนหนีภัยความตายก็อยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน

            พวกเราลองคิดดูนะคะ หลักสูตรในการสอนวิธีการจัดการสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยต่างๆ เหล่านี้ ควรจะตั้งชื่อว่า อะไร ?

            เท่าที่คุยกับ อ.เอ๋ คงต้องรบกวนพวกเราทุกคนในที่นี้นะคะ ในการพัฒนาและทดลองหลักสูตรนี้นะคะ

            ขอเรียนว่า ตอนนี้ อ.แหวว และ อ.เอ๋ รวมถึง อ.ชล ต้องตี๋ อ.เพชร กานต์ บุญ ใสแดง สุ กำลังเตรียมงานเพื่อสร้างคู่มือการสอนตามหลักสูตรนี้ และคงต้องมีคนอีกสัก ๒ กลุ่มตามมาช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้แก่หลักสูตร

            อยากถามว่า ท่านใดมีเวลาจะมาลงมือด้วยอีกไหมคะ มีงานจะแจกจ่ายให้ค่ะ

            รักทุกคนค่ะ  อ.แหวว

Settasak Akanimart <> 08/18/08 11:41 am

เรียนอาจารย์แหวว และทุกท่าน

ผมขอนำเสนออีกความเห็นหนึ่งแล้วกันนะครับ แต่ในฐานะที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทย หรือกฎหมายฝรี่ง (ระหว่างประเทศ) และก็ไม่ได้เสนอให้เป็นข้อสรุป  ผมขอนำเสนอ powerpoint (ตามแนบ) เกี่ยวกับอนุสัญญาสองฉบับว่าด้วยเรื่องstatelessness ที่ ผมเคยได้สัมผัส สมัยตอนที่อยู่ที่ UNHCR ซึ่งอาจจะช่วยนำเสนอมุมมองของประชาคมระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นได้อีกซักส่วนหนึ่ง

ฉบับที่หนึ่งว่าด้วยเรื่อง สถานะของบุคคลที่เป็น stateless กล่าวโดยย่อ คือ ตราสารระหว่างประเทศฉบับดังกล่าวให้คำนิยามของ stateless ว่าให้หมายความรวมถึงบุคลในลักษณะใดบ้าง ถ้าเป็นบุคคล stateless แล้ว รัฐภาคีมีพันธกรณีในการให้ residence (ง่ายๆ คือ ให้บุคคลนั้นๆ มีที่ที่พวกเขาสามารถอยู่ได้โดยชอบด้วยกฎหมายในโลก) และ สามารถเข้าถึงสิทธิและหน้าที่เบื้องต้นต่างๆ ตามที่มนุษย์คนหนึ่งพึงมีพึงได้ ตราสารระหว่างประเทศฉบับนี้ มิได้บังคับให้รัฐภาคีต้องให้สัญชาติของตนกับ บุคคลที่เป็น stateless ที่อยู่ในอาณาเขตของตน ถึงตรงนี้ ฟังดูคุ้นๆ เหมือนกับที่พวกเราทำอยู่มั๊ยครับ

ฉบับที่สองซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน ว่าด้วยเรื่องการลดสภาวะ statelesness กล่าวโดยย่อ คือ รัฐภาคีมีพันธกรณีในการดำเนินการเพื่อลด stateless cases ในนาคต (ภาษาอังกฤษใช้ว่า reducing  future cases of statelessness) เช่นกันครับ ตามที่ผมเข้าใจ ตราสารระหว่างระหว่างประเทศฉบับนี้ ก็มิได้บังคับรัฐภาคีแจกสัญชาติของตนให้กับมนุษย์ทุกคนในดินแดนของตนและก็มิได้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ยังมีเงื่อนไขต่างๆ เช่น ต้องเกิดในดินแดนของรัฐภาคีนั้นๆ และไม่ได้รับการรับรองว่า เป็นคนชาติของประเทศใดๆ ในโลก (otherwise be statelss) เหล่านี้ เป็นต้น

ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาทั้งสองฉบับครับ

แต่ประเด็นของผมข้อนี้ คือ เป็นไปได้มั๊ยครับว่า คำนิยาม "stateless" ที่ปรากฎอยู่ในอนุสัญญาดังกล่าวและในสารบบของประชาคมระหว่างประเทศตั้แต่ ปี 1954 ซึ่งหน่วยงาน UN (และรัฐภาคี) จำต้องใช้เป็นกรอบทางกฎหมายระหว่างประเทศ เหมือนเช่นกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และ civil and political rights และตราสารระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอื่นๆ นั้น อาจจะครอบคลุมทั้ง "ความไร้รัฐและความไร้สัญชาติ" ในคำนิยามของของเรา และสิ่งที่พวกเราทำอยู่ก็ช่วยให้ประเทศไทยมีกฎหมาย&#0;Ю �� . . �� . .   ^    . > �� �� N ��   ^ N ~ ^ �� . .   �� N �� ^ .     �� ~ ~ . ~ ม้นกลายเป็นขยะ อ่านได้ไม่ตลอดทำไงดี.....อั้นเติมให้ได้ไหมคะ

Date: Mon, 18 Aug 2008 07:30:47 +0200

From: TIANCHAI To: archanwell;

ขอบคุณ อ. แหวว กับ อั๋น ที่มาช่วยกันคิดต่อถึงคำนิยามระหว่างไทยกับฝรั่ง ผมเข้าใจว่าแนวคิดพื้นฐานของไทยกับฝรั่งอาจแตกต่างกันในเรื่องของคนไร้สัญชาติ

จริงๆ แล้วฝรั่งก็แปลกที่นิยามคนไร้รัฐว่า เป็นคนไร้สัญชาติ เพราะถ้าจะหมายถึงคนไร้สัญชาติก็น่าจะใช้คำว่าไร้สัญชาติไปเลย แต่นี่ดันมาใช้คำว่าคนไร้รัฐ เมื่อแปลแบบตรงตัว หรือฝรั่งจะก้าวข้ามไปแล้วว่า ถ้าเมื่อรัฐให้การยอมรับบุคคลว่าเป็นคนของรัฐแล้ว ก็จะให้สัญชาติในทันที ดังนั้นการไม่มีรัฐจึงเป็นการไร้สัญชาติ

ถ้าเป็นเช่นนี้แนวคิดพื้นฐานอาจไม่แตกต่างกันก็ได้ เมื่อพิจารณาตามที่อาจารย์อธิบายกระบวนการของรัฐไทย คือ เริ่มให้รัฐยอมรับตัวบุคคลก่อน แล้วจึงพัฒนาเป็นการให้สัญชาติ เพียงแต่ไม่ได้เป็นไปโดยทันทีเหมือนฝรั่ง

 ดังนั้น เราจึงมีคนที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนที่เป็นคนมีรัฐแต่ไม่มีสัญชาติ จึงอาจคิดได้ว่าคนไร้สัญชาติ แท้จริงแล้วโดยสถานะตามกฎหมายนั้นดีกว่าคนไร้รัฐ

คิดต่อเท่านี้ก่อนละกันครับ ป๊อป

หมายเหตุ : บันทึกเพื่อทบทวนแนวคิดเรื่องการจัดการประชากร

หมายเลขบันทึก: 255512เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2009 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ว่าจะเป็น "ไร้รัฐ" หรือ "ไร้สัญชาติ" หากจะย้อนมองซักนิด

ความสมบูรณ์ของการพ้นจากปัญหาสถานะบุคคล "การไร้รัฐไร้สัญชาติ" หรือจะเรียกชื่ออะไรก็ตาม อยู่ที่การได้รับการรับรองโดยสมบูรณ์โดยรัฐที่บุคคลนั้นมีจุดเกาะเกี่ยวหรือความผูกพันทางกฎหมาย (ไม่ว่าจะผ่านทางการอยู่ภายใต้รัฐหรือการถือสัญชาติของประเทศนั้น) ว่าบุคคลนั้นสามารถใช้สิทธิที่พึงได้รับเยี่ยงคนสัญชาตินั้น และได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์เยี่ยงคนสัญชาตินั้น

การที่คนไร้สัญชาติ แต่ยังมีรัฐ สำหรับผมเปรียบเสมือนการได้รับความคุ้มครองชั่วคราว จนกว่าปัญหาจะได้การแก้ไขในระยะยาว กล่าวคือ การที่คนนั้นมีสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง และสามารถใช้สิทธิในฐานะคนสัญชาตินั้นได้อย่างเต็มที่ ภายใต้ความคุ้มครองของรัฐที่บุคคลนั้นถือสัญชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท