ขุมทรัพย์ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) จากชาวเคมีคลินิก


น่าจะยังมีอีกมากมายค่ะ

เนื่องจากการที่มีนักศึกษามาฝึกงาน แล้วได้มีโอกาสฟังการสอนงานของสมาชิกห้อง Chem ให้แก่น้องๆนักศึกษา ยิ่งได้ฟังพี่ๆทั้งหลายสอนงานต่อน้องๆนักศึกษามากขึ้น ก็ยิ่งเกิดความรู้สึกอยากมีเทปสำหรับบันทึกเสียง เพราะแต่ละคนได้แสดงให้เห็นถึง ความรู้ฝังลึกอันเกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน แล้วพัฒนาวิธีการด้วยตนเองจนแม้แต่ตัวเองก็ไม่ทันรู้ด้วยซ้ำว่า สิ่งที่รู้นั้น ไม่ใช่กระบวนการที่อยู่ในขั้นตอนของคู่มือการปฏิบัติงาน แต่เป็นความรู้เฉพาะตนที่สามารถเป็นประโยชน์ ถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นที่ต้องมาทำงานแบบเดียวกันได้ จะขอยกตัวอย่าง 2 จุด จากพี่ผอบที่จุดรับสิ่งส่งตรวจ กับจากคุณ "ศิริ" ในจุดที่รับผิดชอบควบคุมเครื่องตรวจอัตโนมัติ Hitachi 917

ในจุดรับสิ่งส่งตรวจซึ่งพี่ผอบต้องจัดการอ่านบาร์โค้ด แล้วติดเบอร์ sample ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหลอดพลาสติกสำหรับตรวจระดับน้ำตาลและหลอดแก้วสำหรับตรวจทดสอบอื่นๆทั่วไป ซึ่งเวลาที่ใช้ในการปั่นแยกแตกต่างกัน เราไม่ได้มีการกำหนดวิธีการแน่นอนว่าต้องติดเบอร์อย่างไร แต่ตามขั้นตอนปกติก็คือคนไข้ที่มี tube ทั้ง 2 แบบก็จะได้รับการให้เบอร์เรียงกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้ tube 2 แบบนี้คละกันไป แต่พี่ผอบมีวิธีการอันเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการทำงานขั้นตอนต่อไป ด้วยการติดเบอร์ tube sugar เป็นชุดติดๆกัน แล้วจึงติดให้สิ่งตรวจที่เป็นหลอดแก้ว

ด้วยวิธีการของพี่ผอบ ทำให้การปั่นแยกสิ่งตรวจทำได้เร็วขึ้น เป็นกลุ่ม งานขั้นต่อไปที่ต้องตรวจเช็ค เลือกสิ่งตรวจเพื่อนำเข้าเครื่องตรวจอัตโนมัติก็จะทำได้ง่ายและเร็ว เพราะการตรวจน้ำตาลถูกจัดกลุ่มแยกออกจากการทดสอบธรรมดาไปโดยปริยาย วิธีการนี้นั้นพี่ผอบคิดขึ้นมาเองเป็นตัวอย่างหนึ่งของ Tacit knowledge ที่เจ้าตัวคงไม่ได้คิดจะเขียนเป็นบันทึกไว้ แต่ใช้วิธีสอนต่อด้วยการพูดเท่านั้น

สำหรับ ความรู้ฝังลึก จากคุณ ศิริ จะขอเอามาเล่ายกตัวอย่างต่อใน วันต่อไปค่ะ เชื่อว่าถ้าติดตามฟังเธอตลอดเวลาให้ครบทุกจุดงาน คงจะเก็บอะไรได้มากกว่านี้เยอะ นี่ก็คุณกิจตัวจริงและคุณอำนวยในอนาคตค่ะ

หมายเลขบันทึก: 25471เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2006 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณโอ๋ ชมกันเองเกินไปค่ะ จะขอกล่าวถึงวิธีการของคุณผอบ นี่ก่อให้เกิดความสะดวกหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งหลาย ๆ ขั้นตอนด้วยค่ะ หากเลือกติด glu. เป็นชุด ๆ แบบนี้ ผลที่ได้คือ 1.จุด starter ไม่ต้องเขียน Cup โดยเฉพาะช่วงเช้าคนน้อย ต้องเปิดเครื่อง และทำ control ของ H717 , H917 และ E-lytes ยิง barcode ติด Chem No. 2. จุดลงทะเบียนง่ายเลือก Test Glu. อย่างเดียว ทำให้ลงทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว เพราะการลง Lab. No. ต่อๆ มา จะมี Test ของ Lab. No. ก่อนหน้านั้นโดยอัตโนมัติ 3. จุดปั่นแยก ก็ปั่นได้อย่างรวดเร็วถ้าไม่มีปัญหา Clotted การปั่น Plasma แค่รอบเดียวก็ได้เลย โดยไม่ต้องปั่นใหม่ ไม่เหมือน Clotted blood ที่จะต้องปั่นซ้ำ 4. จุดเตรียม Sample สะดวก เพราะส่งเข้าเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติได้เลย ไม่ต้องคอยดู Test พิเศษ หรือดูด Serum สำหรับtest E-lytes อย่าง Tube Clotted blood 5. จุดที่เข้าเครื่องวิเคราะห์ก็ key Test ง่าย  หยิบออกง่าย

ขออนุญาตเติมเต็มกับบันทึกของคุณโอ๋นะคะ!....(โปรดสังเกต สีส้ม...อิ..อิ...).
  • อีกหนึ่ง tacit knowledge ของคุณศิริ ที่พี่เม่ย"เห็นได้"...ก็คือความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องเล่า ด้วยการเขียนได้อย่างสนุกสนานและเป็นตัวตนของตัวเองค่ะ
  • ว่างๆคงต้องขอให้ช่วยถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ซึมซับบ้างนะคะ ว่ามีเคล็ดลับอะไรในการเขียนให้ได้อย่างที่เป็นอยู่...พี่เม่ย ชื่นช้ม..ชื่นชมค่ะ (คำนี้ต้องพิมพ์อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้าพลาดเป็น ขื่นขม..ละก็..ไปเป็นคนละเรื่องเลย)
โอ้...ไม่นะ...พี่เม่ยลืมลงชื่อใน คห. ก่อนหน้านี้ ขออภัยจริงๆค่ะ
ขอบคุณค่ะพี่เม่ย อันนี้จริง ๆ แล้วไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรเลยค่ะ แต่เขียนอย่างที่ใจอยากเขียนค่ะ แล้วขอชื่นชมพี่เม่ยมาก ๆ ค่ะ ตามเก็บอ่านทุกบันทึกเลย ว่าง ๆ ต้องให้แข่งแฟนพันธ์แท้น๊ะค๊ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท