การดูแลหัวใจด้วยหัวใจ


 

ฉันเพิ่งผ่านการฝึกปฏิบัติงานกา่รดูแลผู้ป่วยวิกฤตทางด้านโรคหัวใจ ฉันเรียนรู้ว่า การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดใดก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือการป้องกันไม่ให้เขาเกิดภาวะของหัวใจล้มเหลว ซึ่งนั่้นหมายถึง หัวใจจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายได้เพียงพอที่จะทำหน้าที่ได้ตามปกติ

คนไข้ที่ฉันให้การดูแล เป็นผู้ชายสูงอายุ มีอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรง ซึ่งมีอาการของการเจ็บหน้าอก เจ็บแน่นบริเวณกึ่งกลางหน้าอก มีอาการปวดนานกว่าครึ่งชั่วโมง แม้ว่าจะนอนพักหรือกินยาแก้ปวดแล้วก็ตาม

ถึงโรงพยาบาลมหาราช(สวนดอก) คนไข้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้รับการสวนหัวใจฉีดสีเพื่อดูว่ามีการอุดตันที่ใดบ้าง คนไข้ของฉันมีการอุดตันของส้นเลือดถึงสามเส้น บางเส้นอุดตัน ร้อยเปอร์เซ็นเลยทีเดียว คุณหมอโรคหัวใจทำการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด หลังทำการสวนหัวใจคนไข้ของฉันปลอดภัยดี ผลการให้การรักษาคุณหมอพึงพอใจและประสบความสำเร็จในหัตถการดังกล่าว วันต่อมาคนไข้ฉันถูกย้ายไปอยู่ตึกสามัญซึ่งคนไข้ของฉันดูแข็งแรงมาก สิ่งที่คนไข้ของฉันต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นั่นก็คือการพยายามเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ เพราะบุหรี่จะทำให้คนไข้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะีตีบตันของหลอดเลือดได้อีก แต่ผู้ป่วยของฉันโชคดีที่ไม่มีโรคประจำตัวที่จะเสริมให้เกิดอาการยกเว้นเรื่องของอายุที่มากถึง 72 ปี และไม่มีอาการของโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน


 

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่และเป็๋นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น เพศชาย การสูบบุหรี่ ภาวะไขมันในเบือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ได้ออกกำลังกาย

อาการสำคัญของโรค ได้แก่ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายในเวลาออกกำลังกาย เจ็บเป็นเวลานาน พักแล้วก็ไม่หายเจ็บ

 

การรักษาโรคนี้ ปัจจุบัน มี 3 วิธี คือ

  1. การผ่าตัดนำหลอดเลือดดำที่ขาหรือหลอดเลือดแดงที่ผนังหน้าอกมาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันทำทางเดินของเลือดใหม่ หรือที่เราเรียกกันว่า ทำบายพาส 
  2. การรักษาด้วยยา
  3. การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจ

 

คนไข้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกและได้รับการวินิจฉัย ภายใน 3 ชม.จะได้รับการรักษาด้วยยากละลายลิ่มเลือด และการใช้บอลลูนหรือขดลวด หากมาถึงโรงพยาบาลช้ากว่า 3 ชม. ก็จะได้รับการรักษาด้วยการใช้บอลลูนและขดลวด

 

หลังจากที่คนไข้กลับจากห้องสวนหัวใจ คนไข้จะได้รับการดูแล ดังนี้

  • งดน้ำงดอาหารต่ออีกประมาณ ครึ่ง ชม. ไม่มีคลื่นใส้อาเจียนก็รับประทานอาหารได้
  • กรณีที่ทำที่ขาหนีบ ห้ามผู้ป่วยงอเข่าและงอขา หากทำที่งอมือ ก็ห้ามงอข้อมือเช่นกัน

สำหรับการพยาบาลที่ต้องดูแล ได้แก่

  • การเฝ้าระวังสัญญานชีพ
  • การเฝ้าระวังเรื่องที่การมีเลือดออก ทั้งจากแผลที่เจาะเส้นเลือดและหลอดเลือดรวมถึงการอุดตันของหลอดเลือดซ้ำ
  • การให้่ยาละลายลิ่มเลือดต่อ
  • ใช้หมอนวางทับแผลป้องกันเลือดออกอย่างน้อย 2 ชม.
  • คลำชีพจรส่วนปลาย หากคลำไม่ไ้ด้ต้องรายงานแพทย์
  • ให้คนไข้เริ่มเดินได้เมื่อครบ 4 ชม. หากผู้ป่วยไม่มีอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือเหนื่อยหอบ

 

 

ขอขอบพระคุณ ข้อมูลและคำแนะนำจาก อ.จิตตวดี เหรียญทอง

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล หน่้วย CCU โรงพยาบาลมาหราชนครเชียงใหม่

 

 

หมายเลขบันทึก: 254110เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2009 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

- เป็นกำลังใจให้นะค่ะ พยาบาลคนเก่ง

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

  • เพลงที่ประกอบ เหมาะกับ พยาบาลชุดขาว ที่ทุ่มเท และเมตตา จริงๆ ค่ะ
  • อ่านแล้วอาการคล้าย คุณพ่อ เลยค่ะ (แต่ท่านเสียไปแล้ว ตอนอายุ 72 ด้วยค่ะ)
  • เลยอ่านเป็นความรู้ค่ะ

ขอบคุณพยาบาลที่แสนดีค่ะ

  ฝากปักแจกันไว้เป็นเพื่อนตอนอยู่เวรนะคะ.

CCU ก็เป็น ward หนึ่งที่น้องอยากอยู่เหมือนกันค่ะ

แต่ได้ขึ้นไปดูแล้วก็แอบเครียดค่ะ

ผู้ป่วยหนักทั้งนั้นเลย

น้องก็ได้แต่ภาวนาให้ผู้ป่วยหายป่วยไว ๆ

CCU ก็เป็น ward หนึ่งที่น้องอยากอยู่เหมือนกันค่ะ

แต่ได้ขึ้นไปดูแล้วก็แอบเครียดค่ะ

ผู้ป่วยหนักทั้งนั้นเลย

น้องก็ได้แต่ภาวนาให้ผู้ป่วยหายป่วยไว ๆ

ดูแลหัวใจด้วยหัวใจที่กรุณาค่ะ

ขอบคุณป้าแดงและทีมงานที่ทำให้ทุกหัวใจแข็งแรงปลอดภัยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ น้องอภิชญา
  • ไม่ต้องเครียดหรอกค่ะ มีอะไรให้เห็นเยอะมากค่ะ
  • เราก็ได้ดูแลคนไข้ได้เก่งขึ้นค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุัณน้อยหน่า
  • มีอะไรแนะนำก็แนะนำกันบ้างนะคะ
  • คนวิกฤตมือใหม่ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะป้าแดง

มาเป็นกำลังใจคะ

การดูแลหัวใจด้วยหัวใจ

  • มาเชียร์ก่อนไปนอน
  • ใกล้จบหรือยังคะ
  • ยังไงต้องไปกินปลากันอีกสักครั้ง
  • ดูแลหัวใจคนไข้
  • ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของพยาบาล

ป้าเเดงกำลังเรียนเฉพาะทางอยู่เหรอคะ

เอาใจช่วยค่ะ จบเมื่อไหร่บอกด้วยจะมาร่วมยินดี

หนูจบเฉพาะทางที่ ศิริราช หลักสูตรการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง

กลับมาแล้วได้จุดประกายหลายต่อหลายอย่างในการพัฒนางานและได้นำความรู้มาใช้ประโยชน์ชนิดที่ว่าไม่เคยใช้ความรู้จากไหนที่คุ้มค่าเท่านี้

สวัสดีค่ะ เอากล้วยไม้มาฝากเป็นกำลังใจให้นักเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท