การจัดเสวนาการจัดการความรู้ “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง” ครั้งที่ 1 ที่อำเภอวัดสิงห์


“หลงทางเสียเวลา หลงน้องเมียเสียชีวิต (โดนเมียฆ่า)”

เป็นการเดินทางที่ทำให้ผู้เขียนได้เข้าใจในคำที่ว่า หลงทางเสียเวลา หลงน้องเมียเสียชีวิต (โดนเมียฆ่า) เพราะหวังไปทางรัดย่นระยะทางกลับกลายไปผิดทางหลงทางเช่นเคย แต่นั้นแหละเป็นประจำโรคประจำตัวของผู้เขียนที่หลงทางเสมอเมื่อเจองาน เพราะพาแขกไปดูงานหลงทางมาแล้วหลายรายแต่ก็ไม่เข็ดนะกลับมาอีกเพราะหวังว่าผู้เขียนคงจำทางได้แต่ก็อีกเช่นเคย   ทั้งที่ไปดูแหล่งมาแล้วนะ (หลับในตลอดทาง) 

เมื่อไปถึงที่หมาย คือ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 5 ต. หนองขุ่น อ.วัดสิงห์  ซึ่งเป็นบ้านพักของครูติดแผ่นดินมันสำปะหลังของอำเภอวัดสิงห์ คือพี่วีระชัย  เสือคง  พบว่าเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอวัดสิงห์(พี่ประสาน จำนงนารถ และพี่สุนทร  เพ็งสิงห์) พร้อมพี่รัตนา  แสงสุย นักวิชาการจากสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท ที่ไปคนระทาง พร้อมเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยพืชไร่มานั่งคุยกับผู้ร่วมเสวนาแล้ว  ก่อนที่จะเริ่มการเสวนา ผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมเกษตรเขต 1 ชัยนาท (อ.ประสิทธิ์  โพธิ์ยี่)  ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธิตการระเบิดดินดานให้เกษตรกรดู  ก็ขอขอบพระคุณมากครับ

การเสวนาได้เริ่มโดยได้รับความอนุเคราะห์จากเกษตรอำเภอวัดสิงห์ (นายทินกร  เสือรักษ์) ชี้แจงให้ผู้ร่วมงานรับทราบ  พร้อมได้ฝากความหวังไว้กับผู้ร่วมอีกว่าขอให้ทุกท่านให้ความร่วมมือและช่วยกันคิดหาวิธีแก้ปัญหาการผลิตมันสำปะหลังร่วมกัน เช่นการหาแหล่งน้ำถ้าเราใช้วิธีที่ผิดจะกลายเป็นขุดสระน้ำไว้ขังลม หรือไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้นได้  แต่ถ้าสามารถจัดการได้อย่างถูกต้องจะสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้มาก  เนื่องจากในช่วงฤดูแล้งถ้ามันสำปะหลังได้รับน้ำจะเกิดความสมบูรณ์และให้ผลผลิตได้ดี ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังเป็นพืชทนต่อสภาพความแห้งแล้งก็ตามแต่ถ้าขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้เหมือนกัน

 

การรวบรวมต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง  ในช่วงแรกเมื่อรับทราบถึงกิจกรรมแล้วทำหน้าเบื่อหน่ายเหมือนกัน แต่เมื่อชี้แจงเหตุผลว่าเพื่อการรวบรวมข้อมูล และจะได้เป็นแนวทางสืบไปสู่ปัญหาที่แท้จริงของการผลิต ทำให้เกิดความต้องการที่จะค้นหาปัญหาที่แท้จริงเช่นกัน 

ต้นทุนของอำเภอวัดสิงห์(ภาพรวม)

 ที่

กิจกรรม

ค่าใช้จ่าย(บาท)

1

ค่าปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่

500

2

ค่าไถผาล 3 (บางรายไม่ใช้)

350

3

ค่าไถผาล 7

250

4

ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดใส่ช่วงทำรุ่นครั้งที่ 1

300

5

ยกร่อง

270

6

แรงงานคนปลูก

250

7

ค่าต้นพันธุ์(ถ้าซื้อ) 1066 ต้นๆ ละ 0.50 บาท ระยะปลูก

50X50 เซนติเมตร ตัดท่อนยาว 30 เซนติเมตร รวม 3,200 ท่อน

533

8

ค่าสารเคมีกำจัดวัชพืชและค่าจ้าง จำนวน 2 ครั้ง

350

9

ค่ารถขุด

300

10

ค่าจ้างคนขุดและเก็บ  200 บาท/ตันไร่ละประมาณ 4 ตัน)

800

11

ค่าขนส่งเข้าลาน(120 บาท/ตัน ไร่ละประมาณ 4 ตัน )

480

 

รวมต้นทุน

4,383

 

รายได้ จำหน่ายมันสำปะหลังตันละ 1,500 บาท X 4 ตัน

6,000

 

เหลือรายได้หลังหักต้นทุน

1,617

หมายเหตุ : ถ้าไม่ได้ใช้ผาล 3 (350 บาท) และท่อนพันธุ์ (533 บาท) จะลดต้นทุนจำนวน 883 บาท เหลือต้นทุน 3,500 บาท จะมีรายได้จำนวน 2,500 บาท/ไร่

 

ปัญหาที่พบนั้น เกษตรกรจะไม่สามารถมองหาปัญหาที่แท้จริงได้มากนักจะมองถึงปัญหาที่พบอยู่ในปัจจุบันคือ ราคาผลผลิต และการจำหน่ายที่แหล่งรับซื้อในโครงการแทรกแซงราคาผลผลิตทางการเกษตรบ้างเป็นบางครั้งราคาน่าพอใจแต่บางครั้งเมื่อไปส่งแล้วไม่ยอมรับซื้อภายใต้โครงการ แต่ให้ราคาที่ต่ำมาก เป็นความแตกต่างของเกษตรกรในช่วงระยะเวลาที่ไม่ห่างกันมากนัก เพียงว่ารายใดจะนำส่งในจังหวัดและโอกาสอำนวย(โควตาที่เข้ามาเป็นช่วงๆ)ให้ได้เข้าร่วมโครงการ  จึงต้องชี้แจงให้ปล่อยวางเพื่อจะได้เปิดใจได้คิดถึงปัญหาที่แท้จริงและสามารถแก้ปัญหานั้นได้  จึงได้ร่วมกันคิดค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหานั้นๆ ได้

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ ขาดแหล่งน้ำ  ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และภัยธรรมชาติบางครั้งฝนทิ้งช่วง และบางครั้งฝนตกชุกทำให้มันเน่าเสียหายได้  แนวทางแก้ปัญหาคือปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ การระเบิดดินดาน และการสนับสนุนแหล่งน้ำจากทางราชการ  ในกิจกรรมต่างๆ เกษตรกรจะร่วมโครงการต่างๆ ด้วยการจัดตั้งกลุ่มเพื่อรองรับการส่งเสริม และการถ่ายทอดความรู้ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน

การตั้งเป้าเพื่อเสวนาครั้งต่อไป

หลังจากให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลงานแล้ว ได้สอบถามความต้องการที่จะหาความรู้กันต่อไป  โดยพิจารณาจากปัญหาที่พบ  คือการปรับปรุงบำรุงดิน การวางระบบน้ำ และคุณลุงสมพงษ์  ทับกรุง ครูติดแผ่นดินมันสำปะหลังอำเภอวัดสิงห์ ได้กล่าวว่าจะสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อการชุบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังให้ดู  สูตรนี้ได้นำเสนอผ่านสื่อสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7  สีทีวี  เพื่อคุณแล้วในรายการตามทันเกษตร แล้วครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 253734เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2009 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท