การฝึกงานวันที่ 24 เมษายน 2549


 

  • อบรมการติดต่อ My SQLด้วยภาษา PHP
  • ก่อนทำการ connect ด้วยภาษา PHP นั้น จะต้องเข้าไปแก้ไขไฟล์ php.ini ใน /etc/php.ini เสียก่อน  โดยเปลี่ยนตรงบรรทัดที่มีคำว่า display_errors = off เป็น display_errors = on แล้วทำการ restart
  • ส่วนใหญ่ เวลาทำเว็ปเสร็จแล้ว เปิดให้ผู้อื่นเข้าใช้เว็บแล้ว  โค้ดตรงส่วนนี้ จะ display เป็น off เพื่อไม่ให้เห็น warning หรือ error เวลาผู้เข้าใช้เว็ปเข้าใช้
  • เมื่อเราเปลี่ยน display_errors = on เพื่อ ให้สามารถดูโค้ดที่เกิด error ได้  เวลาเราทำการแก้ไขหรือเวลาทำงานกับโค้ดอยู่

ขั้นตอนการ connect กับ My SQL ด้วย PHP

  • ขั้นแรกของการทำการติดต่อกับฐานข้อมูล My SQL จะต้องทำการกำหนด host, user, password
    • host => หมายเลข ip ของเครื่อง server
    • user => ผู้ใช้ที่จะทำการ connect
    • password => password ของ user
  • ขั้นต่อมาก็จะทำการ connect ด้วยค่าในขั้นแรกทั้ง 3 ค่า
  • หลังจากนั้นก็จะทำการระบุเป้าหมายของ database ที่ต้องการ ให้ไปเก็บในตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง ซึ่งตัวแปรนี้จะเป็นค่าที่ถูก return จาก connect
  • สั่งให้ทำงานโดยใช้คำสั่งของ My SQL เช่น select * from table_name จะเป็นการเลือกข้อมูลทั้งหมดมาแสดง ถ้าหากต้องการเพิ่มก็ใช้ insert into หรือหากต้องการลบก็ใช้คำสั่ง delete เป็นต้น
  • หาตัวแปรรองรับจำนวนตัวเลขของ record ที่มีใน table ที่เราได้เลือกไว้ (ในกรณีที่เราเลือกคำสั่ง select * from table_name)
  • ใช้ function เพื่อดึงข้อมูลจากตารางออกมาแสดง

คำสั่ง My SQL พื้นฐาน (เพิ่มเติม)

  • คำสั่งในการเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดู จากตาราง ใช้คำสั่ง select
    -> select fieldที่ต้องการ from ชื่อตาราง
    เช่น select name from student;
    ผลลัพธ์ ก็จะเป็นการเลือก field ที่มีชื่อว่า name จากตาราง student มาแสดง
    ถ้าหากจะทำการเลือกข้อมูลทั้งหมดที่มี มาแสดง ให้ใช้เครื่องหมาย * คือ
    select * from table_name;
  • คำสั่งในการเพิ่มเติมข้อมูล จะใช้คำสั่ง insert into
    -> insert into table_name(field1, field2, field3) values ('value1', 'value2', 'value3');
    เช่น insert into student(ID, Name, LName) values ('01', 'Samakarn','Songkran');
    ผลลัพธ์ จะเป็นการเพิ่มรหัส 01 ลงใน field ID เพิ่มชื่อ Samakarn ลงใน field Name เพิ่ม Songkran ลงใน field LName
  • คำสั่งในการลบข้อมูล จะใช้คำสั่ง delete
    -> delete from table_name where เงื่อนไขของข้อมูลที่ต้องการจะลบ
    เช่น delete from student where id = '11';
    ผลลัพธ์ คือ ข้อมูลของนักเรียนในตาราง student ที่มี id = 11 จะถูกลบออกไป
  • คำสั่งในการ update ข้อมูล จะใช้คำสั่ง update
    -> update table_name set field ที่ต้องการจะทำการ update = 'new value' where เงื่อนไขของข้อมูลที่ต้องการจะทำการอัพเดท
    เช่น update student set name = 'Angsana' where id = '04';
    ผลลัพธ์ คือ จะทำการอัพเดทข้อมูลในตาราง student โดยจะเปลี่ยนชื่อใน id 04 จากเดิมไม่ว่าจะเป็นชื่ออะไร จะถูกเปลี่ยนเป็น Angsana


ดูตัวอย่างของคำสั่งและโค้ดที่ใช้ในการติดต่อกับ My SQL ด้วยภาษา PHP โดยคุณ I3a~J@nk

ได้ที่ http://gotoknow.org/archive/2006/04/24/16/18/01/e25274

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25276เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2006 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท