แผนจัดการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงกับปัญหาจัดการเรียนรู้


เมื่อสักปีสองปีที่แล้ว สมัยรัฐมนตรี ศธ.วิจิตร ศรีสะอ้าน โรงเรียนขานรับนโยบายการจัดการเรียนสอนคุณธรรมนำความรู้และเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการอย่างเข้มแข็ง ครูแต่ละคน แต่ละกลุ่มสาระ จึงต้องมีแผนการสอน หรือแผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นคุณธรรมนำความรู้และ/หรือเศรษฐกิจพอเพียงสอดแทรกไว้ในแต่ละรายวิชา แต่ในปัจจุบันหลังจากเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรี ศธ.มาเรื่อยๆ ความเข้มข้นในเรื่องเหล่านี้ก็ค่อยจางลงไปตามลำดับ เป็นความปกติใช่มั้ยครับ

 เป็นเรื่องปกติ อีกเรื่องหนึ่งหรือเปล่าไม่ทราบ แผนจัดการเรียนรู้ที่ครูจัดทำขึ้นมานั้น หลายคนไม่ได้นำมาใช้สอนจริง เพราะเวลาสอนจริง เหตุการณ์มักเปลี่ยนไปจากที่ครูคาดการณ์ไว้ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนการสอนตามการเปลี่ยนแปลง  มิฉะนั้นจะสอนไม่ได้ สอนไม่ทัน หรือสอนไม่จบตามหลักสูตร ครูบางคนทำแผนจัดการเรียนรู้เพื่อส่งโดยเฉพาะ เพราะการประเมินต่างๆที่โรงเรียนถูกประเมิน มักเน้นประเมินเอกสารเป็นหลัก ดังที่ใครเขานินทากัน 

เคยฟังนักวิชาการคนหนึ่งเหน็บโรงเรียนและครู ครูก็ทำแผนเพื่อส่ง คนตรวจซึ่งอาจเป็นฝ่ายวิชาการ หรือใครที่ได้รับมอบหมาย ก็มักไม่ตรวจจริง แง้มตรวจเอา หมายถึง อย่าว่าแต่เปิดอ่านเลย ดูยังไม่อยากดู ทำแค่แง้มบางหน้า ที่ตัวเองจะต้องลงลายมือชื่อเท่านั้น ฟังแล้วสะดุ้งครับ ครูทำเพื่อส่ง โรงเรียนก็แค่แง้มตรวจ  

ปัญหาจริงๆในโรงเรียนเกี่ยวกับการทำแผนจัดการเรียนรู้ของครูมีมากกว่านั้นครับ โดยเฉพาะโรงเรียนเล็กๆ ครูบางคนสอน 4-5 รหัสวิชา อย่าไปพูดถึงความยากลำบากในการสอนเลย เอาแค่ทำแผนอย่างเดียวก็หน้ามืดแล้ว 2 ภาคเรียน เอา 2 คูณเข้าไป กลายเป็นในแต่ละปีการศึกษา ครูคนนั้นต้องทำแผนร่วมๆ 10 เล่ม

เพราะหลักสูตรเก่า(23-24)เป็นเทอม หลักสูตรปัจจุบัน(44)ซึ่งพึ่งใช้มาไม่กี่ปีนี้หรอกที่ม.ต้นเป็นปี แต่ก็อีกนั่นแหละ เวลาสอนคือ 2 เทอมอยู่ดี นี่หลักสูตรใหม่(51)ซึ่งจะเริ่มทดลองใช้ ม.ต้นปรับกลับไปเป็นเทอมอีกแล้ว ทำให้ครูโรงเรียนเล็กๆ ที่สอนหลายๆรหัส มักจะมีปัญหาในการจัดทำแผนให้ครบ ยามสมศ.มาประเมินโรงเรียน สมศ.ไม่สนนะครับ ไม่มีแผน มีแผนไม่ครบ ก็ไม่ผ่านตัวชี้วัด หรืออาจไม่ผ่านมาตรฐานเลยก็ได้

ลองพิจารณาต่อไปนะครับ สมมติว่าครูพยายามจนทำแผนได้ครบทั้ง 10 เล่มแล้ว ถึงเวลาสอนจริงจะสอนให้ตรงแผนทุกประการทั้ง 10 เล่ม ครูต้องเตรียมการสอนแบบมหาศาลนะครับ คนเป็นครูจะรู้ดี โดยเฉพาะการสอนในบางวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ยิ่งต้องเตรียมมากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะต้องเตรียมอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือในการทดลองด้วย นอกจากเตรียมเรื่องอื่นเหมือนวิชาอื่นๆแล้ว เคยเห็นผู้ที่ทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะสอนแล้ว แค่วิชาเดียวนะครับ และก็ช่วงเวลาเดียวด้วย อาจ 4 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ เท่านั้น แทบไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากเตรียมจัดการเรียนการสอน  ไม่อย่างนั้นจะสอนไม่ได้ตามแผนที่ตนเองวางไว้

ปัญหาอื่นอีก ครูไม่ได้สอนอย่างเดียวนะครับ ต้องทำงานพิเศษอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายด้วย บางคนรับผิดชอบตั้ง 3-4 งาน โดยเฉพาะโรงเรียนเล็กๆ ไหนจะต้องตรวจการบ้าน-ตรวจสมุดนักเรียนอีก นักเรียนห้องหนึ่งปกติๆก็ 30 คน โรงเรียนใหญ่ๆอาจถึง 60 คน สอนหลายๆห้อง กี่ห้องก็คูณเข้าไป ทำให้เวลาของครูในเรื่องเตรียมการสอนมีน้อยมาก หรือแทบไม่มี บางครั้งต้องทำงานพิเศษ จนไม่ได้สอนเลยนะครับ สั่งงานให้นักเรียนทำเอา เพราะตนเองต้องเร่งงานให้เสร็จ ให้ทันส่ง ตามที่ถูกกำหนด

อีกเรื่องหนึ่งที่ส่งผลกระทบถึงการจัดการเรียนการสอนของครู คือ กิจกรรมต่างๆของนักเรียน โดยเฉพาะกิจกรรมอื่นๆที่มิได้นัดหมาย หรือไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน อันที่จริงกิจกรรมดังกล่าวก็เกิดประโยชน์กับนักเรียนนะครับ แต่เวลาที่ไม่แน่นอน ทำให้แผนจัดการเรียนรู้ของครูแต่ละคน มีปัญหา เพราะถึงเวลาสอน กลับไม่ได้สอน เมื่อเวลาขาดหายไป เวลาไม่พอ ก็ต้องปรับเปลี่ยนการสอน เป็นอย่างนี้บ่อยๆเข้า แผนที่วางไว้ ก็ต้องเก็บเข้าลิ้นชัก หรือเก็บเข้าตู้ อย่างที่นักวิชาการเหน็บ เพราะเวลาไม่เอื้อจะให้สอนตามนั้นได้

ฉะนั้น ตามที่กล่าวมา การสอนของครูจึงไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้อยู่บ่อยๆ ต้องอาศัยประสบการณ์การสอนซึ่งสั่งสม แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการสอนไปเรื่อยๆ ตามเวลาที่เหลือ

ในปีการศึกษาหน้า ผมวางแผนจัดการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงไว้บ้าง โดยหวังว่าจะมีโอกาสได้สอนตามแผนเหล่านี้ครับ

คลิ๊ก!เพื่อดาวน์โหลด

ผนจัดการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชั้น ม.6 เรื่อง ประชากรมนุษย์

แผนจัดการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชั้น ม.5 เรื่อง อวัยวะรับความรู้สึก

แผนจัดการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชั้น ม.4 เรื่อง สารอินทรีย์

 

หมายเลขบันทึก: 252700เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2009 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ตามมาให้กำลังใจอาจารย์
  • เข้าใจเลยครับ
  • สมัยตอนสอนมัธยมศึกษาไฟแรงเคยทำแผนการสอน 5 รายวิชา
  • งานวิจัย 5 เรื่อง แต่ใช้การเตรียมช่วงปิดเทอม
  • เปิดเทอมก็ใช้ได้เลยครับ
  • แผนการสอนบางครั้งผมก็ปรับตามสภาพจริง
  • แล้วมาเขียนในส่วนของบันทึกหลังการสอน
  • นโยบายกับการปฎิบิติ บางทีคนที่สั่งก็สั่งอย่างเดียวไม่เคยทำครับ
  • นอกจากนี้ผมเคยไปเยี่ยมครูโรงเรียนเล็กๆๆ
  • มีครูเพียงสามคน
  • ถ้าจะให้คุณครูเขียน10แผนการสอนและทำงานวิจัยคนละ 10 เรื่อง
  • คุณครูคงตายก่อน
  • สงสารคุณครูที่มีไม่กี่ท่าน
  • ท่านน้อยใจไม่ผ่านการประเมิน ของ สมศ
  • น่าเห็นใจไหมครับ
  • มาให้กำลังใจอาจารย์ครับ
  • เตรียมให้ดี มีชัยไปกว่าครึ่งครับ
  • ส่วนที่เราแก้ไข ปรับปรุงได้ เราก็พยายามทำให้ดีขึ้น..ก็พอได้
  • แต่บางเรื่องครูเราก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกันนะครับ เหนือความสามารถ 
  • ขอบคุณ อ.ขจิตมากครับ
  • อาจารย์สบายดีนะครับ

สวัสดีค่ะ อ.ธนิตย์

อาสาเป็นกำลังใจให้อาจารย์อีกคน
แป๋มเองอ่านเรื่องราวจบลงได้แต่คิด
ปลงกับตัวเองว่าที่ไหนก็ไม่ต่างกัน
เราไม่ได้พบเจอปัญหาแบบโดดเดี่ยว
ครูไม่ได้ทำหน้าที่แค่สอนอย่างเดียว
งานพิเศษมากมายก่ายกองแย่งเวลา
เด็กไปทั้งที่อยากจะสอนเด็กก็รอครู
บ่อยครั้งต้องกรอกแบบฟอร์มให้ทัน
เพราะเป็นเรื่อง"ด่วนมาก"ระดมพลัง
ประชุมรวมครูทั้งโรงเรียนด่วนห้ามช้า
เด็กได้แต่มองตาปริบๆดีที่ครูสั่งงานไว้
แต่ครูบางคนรีบถลาออกไปจนลืมว่า
ยังเป็นคาบการสอนอยู่เด็กเคว้งคว้าง
พวกเกเรก็จะแกล้งเพื่อนเด็กเรียบร้อย
หนวกหูถูกแกล้งกังวลจนแทบทนไม่ไหว
นี่อะไรกันคะ?...ปฏิรูปการศึกษารอบต่อไป
ใส่ใจคุณครูกันบ้างขอให้จริงๆจังๆนะคะ

                     "ครูรออยู่ค่ะ"



 

สวัสดีค่ะ คุณธนิตย์ สุวรรณเจริญ

เข้ามาทักทายค่ะ

สุขสันต์วันสงกรานต์นะคะ

  • เหมาเอาเองว่า หลักใหญ่ๆแล้ว ปัญหาการทำงานของครูที่โรงเรียนมีคล้ายๆกันครับ
  • ขอบคุณครูแป๋มครับ
  • สวัสดีครับคุณภัทรานิษฐ์
  • สุขสันต์กับวันสงกรานต์ซึ่งผ่านไปแล้วนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท