อบรมที่ปรึกษาเกษตรกร ปี 2552


โครงการส่งเสริมผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2552

วันที่ 23 - 25 มีนาคม 2552  เจ้าหน้าที่รับผิดชอบตำบลของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 81 ท่าน อบรมที่ปรึกษาเกษตรกร โครงการส่งเสริมผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2552 ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี การอบรมในครั้งนี้มีหัวข้อในการอบรม ดังนี้

  • ความสำคัญของระบบคุณภาพพืช GAP
  • การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
  • แผนควบคุมคุณภาพและการจดบันทึก
  • การตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น
  • การฝึกประเมินแปลงเบื้องต้น

การฝึกประเมินแปลงเบื้องต้น ทางวิทยากรได้แบ่งกลุ่มให้ฝึกปฏิบัติจำนวน 6กลุ่ม ตามชนิดไม้ผลเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ เงาะ ทุเรียน (3 กลุ่ม) มังคุด และลองกอง กลุ่มที่ดิฉันได้รับมอบหมาย คือการประเมินแปลงเบื้องต้นของทุเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ 4 การประเมินแปลงเบื้องต้นในปี 2552 จะใช้แบบประเมินแบบใหม่ที่มีหัวข้อประเมิน จำนวน 6 หัวข้อ และใช้หลักเกณฑ์ปฏิบัติเช่นเดิมจำนวน 8 ข้อ เพื่อเข้าสู่ระบบ GAP (เกษตรกร) การฝึกปฏิบัติในครั้งนี้ กลุ่มที่ 1-4 ลงฝึกปฏิบัติที่หมู่ที่ 3 ต.นาใต้ อ.บ้านนาเดิม ส่วนกลุ่มที่ 5-6 ลงฝึกปฏิบัติที่ ต.ขุนทะเล อ.เมือง เมื่อทุกกลุ่มฝึกปฏิบัติจะต้องกลับมาสรุปผลงาน และแลกเปลี่ยนให้กลุ่มอื่นทราบ และสอบถามข้อสงสัย กลุ่มที่ 4 ขอยกตัวอย่างที่สรุปให้ดูได้ ดังนี้

กลุ่มที่  ทุเรียน
 

  สมาชิกกลุ่ม

 
นายพิชัย  มุสิกะ อ.ไชยา ประธานกลุ่ม
นายเกษมศักดิ์  พงษ์พันธ์เกษม  อ.ท่าชนะ   นายธวัช  วรรณดี  .ท่าฉาง 
..ลาวัณย์  สังข์วัดชุม  อ.เวียงสระ ..สาวิตรี  สุวรรณ์  .พุนพิน 
..นทาภรณ์  กลีบแก้ว  อ.เคียนซา  ..นันทวัน  วัฒนา  .บ้านนาเดิม
นายพิมลศักดิ์  วงศ์เทพ  อ.ชัยบุรี  นายเธียรชัย  พิชัยรัตน์  .ไชยา
นายชาญณรงค์  พังงา  อ.พุนพิน  นายจำนาญ  มีศิริ  .พุนพิน 
..อรัญญา  ชูแก้ว  อ.บ้านนาเดิม  นางวิไลวรรณ  พลายสวัสดิ์  .พนม
นายสิทธิพร  รัตนภิรมย์  .บ้านนาสาร
 
ข้อมูลแปลงเบื้องต้น
                           
เจ้าของแปลง
: นายนิยม  หนูเนียม
    พื้นที่ปลูก : 6.5  ไร่
   อายุทุเรียน :  6 ปี อายุการเก็บเกี่ยว : 2 ปี
ที่ตั้งแปลง : ม.3 .นาใต้ .บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี  
1.  ประเมินความปลอดภัย  
แหล่งน้ำ    ผ่านการประเมิน 
แปลงทุเรียนใช้น้ำจากคลองสาธารณะที่เทศบาลตำบลบ้านนาใช้ทำน้ำประปาจึงไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
พื้นที่ปลูก   ผ่านการประเมิน
บริเวณพื้นที่ปลูกไม่มีโรงงานที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน และมีการใช้สารเคมีน้อย
2.สุขอนามัยภายในฟาร์ม   ผ่านการประเมิน 
  • สารเคมีที่ใช้จะใช้หมดไปในแต่ละครั้ง (จ้างฉีดพ่น คนฉีดนำขวดไปขาย จึงไม่มีอยู่ในบริเวณแปลงปลูก)
  • พื้นที่ตั้งแปลงห่างจากบ้านพัก 
-
3. การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช   ผ่านการประเมิน
  • ใช้สารเคมีถูกต้องตามกฎหมายทุกครั้งที่ฉีด
  • -สารเคมีที่ฉีดพ่นจะไม่ฉีดก่อนการเก็บเกี่ยว
  • การฉีดพ่นจะจ้างฉีดพ่นทุกครั้งเมื่อมีการระบาดของแมลง การทำความสะอาดอุปกรณ์ หรือร่างกายคนฉีด จะไม่ได้ทำที่แปลงปลูก
4.  การจัดกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ   ไม่ผ่านการประเมิน
  • ไม่เข้าใจและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ เช่น  ในภาพไม่มีการตัดแต่งช่อดอก ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
5.  การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว   ผ่านการประเมิน
  • ผู้รับซื้อทำการเก็บผลผลิตด้วยตนเองมีการคำนึงถึงความปลอดภัยทุกขั้นตอน

6.  การบันทึกข้อมูล   ไม่ผ่านการประเมิน  ไม่มีการบันทึกข้อมูลในทุกเรื่อง 

สรุปผลการตรวจ  
ไม่ผ่านการประเมิน  
เกษตรกรมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข
1.การจัดกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ
  (การปฏิบัติและการจัดการตามแผนควบคุมการผลิต)
2.การบันทึกข้อมูล
 

หมายเลขบันทึก: 251126เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นรายการที่ดีมาก
  • ได้ไปร่วมเฉพาะวันสุดท้าย พิธีปิด
  • เสียดาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท