KM ครั้งที่ 1/2552 CoP เด็กระยะสุดท้าย: มิตรภาพบำบัด


มิตรภาพบำบัดในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย

วันที่ 18 มีนาคม 2552 CoP แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายแบบองค์รวม มีโอกาสนั่งคุยกันประเด็นมิตรภาพบำบัดกับงาน palliative care ในการดูแลผู้ป่วยเด็กและครอบครัว สมาชิกเรามากัน 5 คน ที่เหลือติดภาระกิจ น้องกุ้งสุธีรา พิมพ์รส (ผู้ประสานงาน CoP) ก็ต้องเดินทางบ่ายเพื่อเข้าประชุม IV nurse ที่ กทม. แต่เราก็ได้แลกเปลี่ยนในรายละเอียดมิตรภาพบำบัดที่น่าสนใจ และประเด็นอื่นๆ

สมาชิกที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ I ณ วันนั้น มีพี่หน่อยพัชรากร HN 2 ค พี่เขียว สุดารัตน์ HN 3ง  พี่เหมียวธาริณี HN3ค น้องติ๋มเตือนใจ RN 6 ก และฉัน(หัวหน้ากลุ่ม CoP)

โดยสรุปสิ่งที่สมาชิกแลกเปลี่ยนสรุปได้ดังนี้

1. งานมิตรภาพบำบัดเกิดได้ทั้งแบบรายบุคคล รายกลุ่ม

2. บาง area เช่นกลุ่มเด็กมะเร็งก็พัฒนาไปได้ค่อนข้างครบวงจร ตั้งแต่การทำกลุ่มสนับสนุน โครงการประคับประคองด้านจิตวิญญาณ และการดูแลหลังสูญเสีย การจัดค่ายสร้างเสริมพลังชีวิตแก่เด็กและผู้ดูแล โดยการดำเนินงานของสหสาขาวิชาชีพ และหลายๆ โครงการที่กำลังจะดำเนินการ (เช่น โครงการมิตรภาพบำบัดกายดี ใจดี ชีวีเป็นสุข ซึ่งจะจัดครั้งแรกในวันที่ 26 มีนาคม 2552 โดยเน้นการผ่อนคลายและการปรับตัวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี วัด Outcome โดยใช้แบบวัดความสุข 15 ข้อ กิจกรรมเสริมที่จัดให้ ได้แก่ ศิลปะบำบัด ดนตรี ออกกำลังกายบำบัด กลิ่นบำบัด หัวเราะบำบัด การจินตภาพ/สะกดจิต/ผ่อนคลาย นันทนาการกิจกรรมงานฝีมือเสริมรายได้) ผู้นำกลุ่มวันที่ 26 มีค. คืออาร์ม (นักสังคม นำกลุ่มหัวเราะบำบัด) และ โจ้ นักกายภาพนำกลุ่ม (ออกกำลังกายและกลิ่นบำบัด) .ใช้เวลาช่วงบ่าย 14.00-15.00 น. ณ หอผู้ป่วยเด็ก 3ง จัด 2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยกิจกรรมไม่ซ้ำกัน นอกจากนี้ยังมีโครงการดนตรีในสวนซึ่งเป็นจิตอาสา (น้องกุ้งเจ้าของโครงการไม่อยู่เลยไม่ได้แลกเปลี่ยน)

3. แผนกพิเศษ 6ก ก็กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนางาน palliative care โดยอยู่ในช่วง ปูพื้นความรู้พัฒนาศักยภาพบุคลากร โครงการมิตรภาพบำบัดที่จะสอดรับงาน palliative เพื่อประโยชน์โดยตรงแก่ผู้ป่วย คงจะอยู่ในระยะถัดๆ ไป อย่างไรก็ตามพยาบาลทุกคนก็ให้การดูแลผู้ป่วยด้วยใจที่เป็นจิตอาสาในทุกๆวัน

4. แผนกศัลยกรรม 3ค ก็มีการจัดโครงการต่างๆ ในหอผู้ป่วยซึ่งถือเป็นจิตอาสา โดย 3ค จะมีผู้ป่วยเด็กด้วย เช่น การเล่นของเล่น วาดภาพระบายสี เป่าขวด เป่าลูกโป่ง (เพิ่ม Chest movement ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด) ประดิษฐ์ขวด วัด Outcome คือ satisfaction และต้องการแชร์โครงการธรรมะ สนทนาธรรม ใส่บาตร ฯลฯ ร่วมกับ หอผู้ป่วยเด็ก พระจะไม่ต้องมาหลายรอบ (ให้ Ward ประสายในรายละเอียดกันเองต่อไป)

5. หอผู้ป่วย 2ค เด็กทารกป่วย ก็พยายามที่จะนำ concept palliative ไปสอดแทรกในงานประจำ แต่อย่างไรก็ตาม งาน palliative care ต้องมีหลายฝ่ายร่วมกัน ทำงานเป็นทีม จึงจะทำให้การดูแลครบองค์รวม เช่น มี case ; โรคทางกรรมพันธ์ (Trisomy 18), Anencephaly(ไม่มีสมอง) การแจ้งข่าวร้ายต่อครอบครัวผู้ป่วย ยังเป็น individual ยังไม่เป็นทีม ญาติ โดยเฉพาะแม่เด็ก จะร้องไห้โฮดังๆ ดังนั้นการแจ้งข่าวร้ายควรแจ้งเป็นทีมและมีการประเมิน การ support ครอบครัวซึ่งยังต้องการที่จะพัฒนาตรงนี้

นัด KM ครั้งต่อไป เรื่อง Networking กับการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย วันที่ 22 พค. 2552 ณ ห้องประชุมหอผู้ป่วย 3ง เวลา 14.00-16.00 น.

Kesanee..update Mar 22, 2009..9:17 pm..

หมายเลขบันทึก: 250187เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2009 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีคะน้องเกศ

บทสรุปหายไปคะ

มาไม่หมดนะคะ

  • P
  • พี่ไก่เป็นท่านแรกเลยค่ะ
  • พึ่งสรุปเสร็จค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • บายบายค่ะ

เสียดายไม่ได้เข้าไป ลปรร ด้วย มิตรภาพย่อมดีเสมอค่ะ

  • สวัสดีค่ะพี่แก้ว
  • เจอกัน KM ครั้งหน้าค่ะ
  • ดีใจจัง CoP เด็กระยะสุดท้ายได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1
  • ในการเพิ่มคุณค่าในงานด้วย KM

P1250169

Km2

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท