อยากก้าวหน้าไหม? ต้อง... “กูซ่า” ในองค์การ


องค์การเองก็ต้องมีคนประเภท “กูซ่า” ให้มากๆ

จั่วหัวเรื่องแบบนี้ล่ะหวาดเสียวครับ

ผมกำลังจะบอกว่า

เรื่องของความซ่า...ถ้าจะให้เจ๋งจริง

ต้องบอกใครต่อใครให้ได้ว่า...กูซ่า!!

แล้วต้องซ่าให้จริงๆ ด้วย

ซ่าด้วยความชัดเจน

แล้วองค์การเองก็ต้องมีคนประเภท กูซ่า ให้มากๆ

เพราะ กูซ่า จะทำให้องค์การเคลื่อนไหวต่อเนื่อง

กูซ่า จะซ่องสุมกำลังคนเพื่อจัดการโจมตีได้อย่างรวดเร็ว

ว่องไว สามารถพลิกแพลงสถานการณ์ได้

เพราะฉะนั้น ถ้าใครอยากได้ดีในการทำงาน

ด้องหมั่นทำตัวให้เป็น กูซ่า ให้ได้...

แล้วเจ้านายจะชอบใจ

แท้จริงแล้วเจ้านายทุกคน ชอบคนซ่าๆ ทั้งนั้น

 

แล้วจะทำตัวยังไงให้กลายเป็น กูซ่า

บางคนบอกว่าเกิดมาก็ไม่เคยซ่ากับใครที่ไหน

เวลาทำงานก็เงียบๆ เรียบร้อย จะเอาเวลาไหนมาซ่า

หากซ่ามากๆ ก็อาจจะถูกพักงานเอาก็ได้

ผมขอเถียงว่า...ไม่จริง...

หากว่าเรากล้าจะบอกใครๆ ว่า กูซ่า

รับรองว่าได้งานชัวร์ครับ

ความซ่าไม่เป็นรองใคร จะเป็นการผลักดันให้เรากล้าได้กล้าเสีย

กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ

มาดูกันว่าจะทำยังไงให้คนที่เงียบๆ เรียบร้อย กลายร่างเป็น กูซ่า กัน

 

  1. K - Knowledge (ความรู้) ความรู้ในงานที่เรามีครับ ต้องชัดเจน แจ่มแจ้ง

หากไม่เข้าใจ ก็ให้ถามจากเพื่อนร่วมงาน หรือให้เพื่อนสอนงานด้วย

ไม่ใช่อยู่เฉยๆ ความรู้ในที่นี้ยังรวมถึง ความรู้ทั่วไปด้วย ต้องรู้ให้ได้ว่า

องค์การของเรามี Background อย่างไร เพื่อที่จะได้สามารถวิเคราะห์

องค์การและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ความรู้ที่จะแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การที่สามารถถ่ายทอด

ความรู้ให้ผู้อื่นได้บ้างไหม? กล้าที่จะแสดงความรู้ อย่าปิดบังอำพราง

หรือกลัวว่าเราจะกลายเป็นคนโง่ ความรู้สามารถถ่ายทอดให้กันได้ง่ายครับ

เพียงแค่พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันก็ถือว่าเป็นความรู้แล้ว

 

  1. U - Understand (ความเข้าใจ) ในงานที่เราได้ทำอยู่ในนั้น

เราต้องเกิดความเข้าใจเราต้องชัดเจนว่าเราจะทำอะไร

สามารถที่จะนำความรู้ต่างๆ ที่ได้ มาพัฒนา เพราะการพัฒนาได้ดีนั้น

เราต้องเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ก่อน

ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม หรือการเรียนรู้ใหม่ๆ ต้องเกิดความเข้าใจอย่าง

ถ่องแท้ หากไม่เข้าใจให้รีบถามในช่วงเวลาที่จัดให้ เพราะนี่คือปัญหาใหญ่

ของคนไทยครับ ที่ไม่ยอมถาม เรียกว่า อมภูมิ หรือแกล้งฉลาด

ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความถดถอยในการทำงานเปล่าๆ

รู้จักสร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้ชัดเจน อย่าบอกเพียงว่า ไม่เข้าใจ

ก็แล้วทำไม ไม่ทำให้ตัวเองเข้าใจล่ะครับ

 

  1. S – Skill (ทักษะ) ทักษะที่ดีจะเกิดขึ้นได้จากการกระทำซ้ำๆ บ่อยๆ

จนชำนาญ จะเรียกว่าเป็นทักษะในงานนั้นๆ ทักษะก็เปรียบเสมือน

เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมาเรื่อยๆ จากงานที่เราทำอยู่เป็นประจำ

จนเกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หมั่นฝึกฝนบ่อยๆ

อย่าล้มเลิกกลางคันครับ

 

  1. A – Attitude (ทัศนคติ) ผมถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดครับ

เพราะทัศนคติที่ดี จะทำให้การทำงานดีตามไปด้วย มีหลายๆ คน

ที่เบื่องาน เครียดกับงาน นั่นก็เพราะทัศนคติในการทำงาน

ไม่ดูแลตัวเอง มัวแต่มองในด้านลบ ไม่ยอมต่อสู้ชีวิต

เห็นอะไรขวางหูขวางตาไปหมด

ต้องพยายามฝึกหัดให้มองสบายๆ บ้างครับ

อย่าเครียดกับงานหรือกับชีวิตส่วนตัวจนเกินไป

โดยเฉพาะทัศนคติที่ผมอยากให้มีกันทุกคนนั่นคือ

ทัศนคติด้านบวก (Positive Attitude) แล้วจะรู้ว่า

การทำงานมีแต่ความสุขทั้งนั้น...

 

และนั่นคือทั้งหมดของการจะเป็น KUSA

เห็นไหมครับว่าการเป็น กูซ่า ไม่ยากเลย

แล้วพวกเราพร้อมที่จะเป็น กูซ่า กันหรือยัง

กูซ่า ที่ดีจริงๆ ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาสอนครับ

อยากเป็น กูซ่า ก็ทำให้ตัวเองซ่าเสียเดี๋ยวนี้...

 

ค้นหาความรู้

อยู่กับความเข้าใจ

ใส่ใจฝึกทักษะ

เปลี่ยนทัศนะให้เป็นบวก

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 249620เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2009 01:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ คุณมรกตสินธุ์

โอย...เห็นหัวเรื่องของคุณวันนี้
รู้สึกตกใจในตอนแรก..แต่พออ่านไปๆๆๆๆ

เรื่องกลับมุมเป็นสร้างสรรค์สุดๆ  ดีค่ะได้อมยิ้มก่อนนอน..

ขอบคุณครับ ที่ไว้อ่านก่อนนอน

ขอบคุณ ที่มอบความรู้ให้นะคะ ฉันเป็นคนอยากเรียนรู้ ไม่อยากซ่าส์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท