ที่เขาดินเลี้ยงหมูหลุมได้ทั้งเนื้อได้ทั้งปุย


หมูหลุม

ที่เขาดินเลี้ยงหมูหลุมได้ทั้งเนื้อได้ทั้งปุ๋ย

เมื่อก่อนมีการเลี้ยงหมูหลุมกันอย่างกว้างขวางในรูปแบบธุรกิจครัวเรือน  เพื่อการบริโภคและขายสร้างรายได้  การนำวิธีการเลี้ยงหมูหลุมกลับมาส่งเสริมกันอีกนั้น  ถือว่าเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง  และเมื่อมีการนำกระบวนการทางชีวภาพเข้ามาเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงด้วย นับได้ว่าเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติ หรือผลพลอยได้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงหมูหลุมระบบชีวภาพ  เริ่มที่การสร้างโรงเรือนต้องเลือกสถานที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง  ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงหมูหลุมอยู่ที่หมู่ 10  ต.เขาดิน อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์

นายสมคิด คำมา เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ต.เขาดิน อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ เป็นผู้ให้ข้อมูลว่า เริ่มจากขุดหลุมลึก  90  ซ.ม.  กว้างและยาวจะขึ้นกับจำนวนหมู โดยกำหนดพื้นที่ 11.5  ตารางเมตรต่อตัว  แล้วก่ออิฐโดยรอบทั้ง  4  ด้าน  ยกสูงขึ้นกว่าปากหลุม 30  ซม. ใช้วัสดุรองพื้นด้วยแกลบ ดิน  มูลวัว รำอ่อน และใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ 2 ช้อนแกงต่อน้ำ  10  ลิตรเทลาดลงไป ทำ 3  ชั้นๆ ละ 30  ซม. ระหว่างการเลี้ยงจะต้องคอยเติมวัสดุดังที่กล่าวให้เต็มเสมอ สำหรับหมูที่นำลงหลุมต้องหย่านมแล้วมีน้ำหนัก 1220 ก.ก. คัดหมูที่ขนาดใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันเพื่อป้องกันการรังแกกัน  ในวันแรกที่นำหมูลงเลี้ยงไม่ต้องให้อาหาร  เพื่อลดความเครียดให้เพียงแต่น้ำสำหรับหมูกิน

การให้อาหารต้องพิจารณาน้ำหนักหมูเป็นสำคัญ หมูหนัก 1220 ก.ก.ให้อาหารสำเร็จรูป1-1.5 ก.ก./ตัว/วัน น้ำหนัก 2035 ก.ก. ให้รำผสมกับปลายข้าว 1.72 ก.ก./ตัว/วัน น้ำหนัก 3560 ก.ก.รำผสมปลายข้าว 2.5 3.0 ก.ก./ต่อ/วัน น้ำหนัก 60100 ก.ก. ให้รำผสมปลายข้าว 3.54 ก.ก./ตัว/วัน  และทุกระยะของน้ำหนักหมูจะเสริมอาหารที่เป็นผลพลอยได้จากการเกษตร  เช่น  เศษผัก  ผลไม้  พืชต่างๆ    โดยให้ใช้สัดส่วน  6  ต่อ  1  โดยน้ำหนักของหมู

 มีการรักษาความสะอาดบริเวณโดยรอบของหลุมที่เลี้ยง  เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษพวกงูและตะขาบ  เข้ามาทำอันตรายแก่หมู  ซึ่งผลการเลี้ยงในโครงการพบว่า  ต้นทุนค่าอาหารถูกกว่าการเลี้ยงโดยให้อาหารสำเร็จรูปถึง 50 %  ลดการเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม  อาทิ  กลิ่น  น้ำเสียและมูลหมู ได้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากการผสมของวัสดุรองพื้นที่สามารถนำไปใช้กับพืชทุกชนิด  ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและประชาชนผู้เลี้ยงหมูมีสุขภาพจิตรและสุขภาพกายที่ดี  และหมูก็เป็นหมูที่มีคุณภาพไม่เป็นผลลบต่อร่างกายเมื่อนำมาบริโภค

คำสำคัญ (Tags): #หมูหลุม
หมายเลขบันทึก: 248801เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2009 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับ
  • เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าชื่นชมนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท