(1) นักส่งเสริมฯ ที่ชาวบ้านรู้จัก


ตำนานนักส่งเสริมฯ... เป็นเรื่องเล่าที่เร้าพลังได้อย่างดี ที่นำมาใช้กระตุ้นและปลุกให้เจ้าหน้าที่มาคุย มาแลก และมาสรุปบทเรียนร่วมกันได้

   ได้ฟังเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เล่าความหลังในการทำงานกับเกษตรกร ซึ่งเป็นยุคสมัยของการเข้าพื้นที่โดยเดินเข้าหมู่บ้าน  ขี่มอเตอร์ไซต์เข้าพื้นที่  และขับรถอีเขียวไปตำบล  เพื่อมุ่งหวังให้ความรู้ด้านการเกษตรกับเกษตรกรแต่ละอาชีพตามพื้นที่/ตำบลที่ตนเองรับผิดชอบ

   ซึ่งในสมัยนั้นความเอาใจใส่ของเกษตรตำบลที่ปกป้องปัจจัยการผลิตที่จะเอาไปให้ชาวบ้านปลูกนั้นได้ใส่ความเอื้ออาทรต่อเกษตรกรลงไปด้วย  เช่น  ขี่มอเตอร์ไซต์เข้าหมู่บ้านเพื่อเอาเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวไปให้ชาวบ้านปลูก แล้วถุงไปเกี่ยวกับรถมอเตอร์ไซต์ "ถุงถั่วเขียวรั่ว" เจ้าหน้าที่ก็จอดรถและลงไปเก็บเมล็ดถั่วเขียวจนหมด เพราะกลัวชาวบ้านจะได้เมล็ดพันธุ์ไม่ครบ เป็นต้น

   เจ้าหน้าที่เกษตร ส่วนใหญ่มักจะปรับตัวเข้าหา/ปรับตัวเข้ากับเกษตรกรได้ง่าย เป็นที่รู้จักกันทั้งตำบล เป็นที่รักของคนในหมู่บ้าน และถ้าไปขอความช่วยเหลือก็มักจะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเกือบจะทุกครั้ง ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า "เกษตรตำบล เป็นขวัญใจของชาวบ้าน" ก็ได้ โดยเฉพาะ เคหกิจเกษตรที่ถือเสมือนว่า เป็นเจ้าหน้าที่คนแรกก็ว่าได้ ที่เข้าบ้านเกษตรกรได้ถึงในครัว ไปสอนให้แม่บ้านเกษตรกรได้รู้จักบ้านของตนเอง  หารายได้เสริมเพื่อช่วยเหลือพ่อบ้าน  และสอนให้แม่บ้านได้รู้จักงานครัว  จนเกิดผลงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำนวนมากมายและเป็นที่ยอมรับของสังคม

   นอกจากนี้ เกษตรตำบล ยังปรับเปลี่ยนวิธีการทำอาชีพการเกษตรของพ่อบ้าน โดยหาเทคนิควิธีการเพื่อให้เกษตรกรยอมทดลองใช้เทคโนโลยี  เช่น  เรื่องนาหว่านน้ำตม  เรื่องลดต้นทุนการผลิตพืช  และอื่น ๆ จนเกษตรกรเกิดการยอมรับว่า เกษตรตำบล เป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง และเป็นลูกหลานของคนตำบลนั้น ผลงานที่เจ้าหน้าที่ได้สร้างขึ้นไว้ในสมัยก่อนนั้นมีจำนวนมากมาย เป็นความภาคภูมิใจที่ได้รำลึกถึงและนำมาเล่าสู่กันฟัง

   ปัจจุบันถ้าย้อนสู่ความสำเร็จของงานที่เจ้าหน้าที่ได้ทำไว้ แล้วนำมาพัฒนาต่อยอด ก็จะเป็นบทเรียนในงานส่งเสริมการเกษตร  เป็นบทเรียนแห่งความสำเร็จที่มีต่อเกษตรกร  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ยุวชนรุ่นหลังกำลังห่างหายไปจากความคิดกับความจำเป็นที่ต้องลงไปรู้จักกับครอบครัวเกษตรกร  การเรียนรู้บทเรียนในการทำงานกับรุ่นพี่ที่ทำงานกับเกษตรกรแล้วได้ผล  และความเอาใจใส่ต่อเกษตรกรอย่างเอื้ออาทร  ฉะนั้น ถ้าสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  การทำงานส่งเสริมการเกษตรติดยึดกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  สื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ  และจ่ายเงินผ่านระบบเอทีเอ็ม  การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ใส่ใจลงไปปฏิบัติ ก็ย่อมจะเบาบางลง เกษตรกรก็เริ่มลดลง และหลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะเป็นเพียงตำนานของเกษตรตำบล...ที่เคยเป็นขวัญใจของเกษตรกร  และความสุขที่มีระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรก็จะมีเฉพาะบางคนที่ยังลงไปคลุกคลีกับอาชีพของเกษตรกรเท่านั้นเอง.

หมายเลขบันทึก: 248425เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2009 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

ดอกศรีตรังค่ะ

  • อ่านแล้วเห็นภาพการทำงานของคนรุ่นก่อน(ที่ยังไม่แก่)
  • แต่ปัจจุบันหลายคนก็ยังสู้ ๆ ๆ อยู่นะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เหล่าพี่ชายของเราสร้างมา
  • สู้ ๆ ครับ..
  • กำลังใจดีสู้ได้ไม่หยุดครับ
  • ระบบการส่งเสริมฯ คงจะพัฒนา ไปตามวิถีทาง ของเทคโนโลยี
  • จะเห็น เกษตรตำบล อย่างที่เคยเห็นมาในอดีต ได้น้อย แล้วครับ

P

P

P

P

ความทรงจำดี ๆ นำมาเป็นตัวอย่างของการทำงานให้กับรุ่นน้องได้ค่ะ อยู่ที่พี่ ๆ จะมีวิธีการสอนน้องอย่างไร? ให้รักอาชีพของตนเองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี