การบริหารงานเกษตรเชิงพื้นที่


งานเดียวกัน พื้นที่เดียวกัน ถ้ามาคุยกัน มาร่วมกันทำ ประโยชนืก็ตงอยู่ที่ชาวบ้าน และแต่ละหน่วยงานก็ได้ผลงานด้วย

จุดเริ่มต้นของการคิดบริหารจัดการงานแบบเบ็ดเสร็จโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง  ได้เกิดขึ้นจากพื้นที่ของเกษตรกรอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมบ่อยมาก เกษตรกรมีความเดือดร้อนในการทำอาชีพ เช่น น้ำท่วมนา  ดินไม่ค่อยดี  การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ไม่เต็มที่  และอื่น ๆ อาชีพหลักของเกษตรกรอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ก็คือทำนาข้าว  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มและเป็นพื้นที่นา ดังนั้น วิธีการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร จึงเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันดำเนินการที่ใช้  พื้นที่เป้าหมายหลัก ประมาณ 2,500 ครัวเรือน พื้นที่ประมาณ 20,000 กว่าไร่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ นิคมเกษตรบ้านย่านซื่อ ตำบลบ้านช้าง  อำเภอสองพี่น้อง  จังหวัดสุพรรณบุรี

                การพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร  ได้จัดวางงานใน 2 ลักษณะ คือ  1) พัฒนาอาชีพหลักให้กับเกษตรกรเรื่องข้าว  และ 2) ส่งเสริมสนับสนุนมีอาชีพเสริม เลี้ยงวัว ให้กับเกษตรกรเพื่อช่วยดูแลอาชีพหลักก็คือ  ทำนาข้าวให้ได้ผล  หมายความว่า

                1)  การแก้ปัญหา/ป้องกันมิให้น้ำท่วมแปลงนาข้าว ก็นำเอาภูมิปัญญา เรื่องคันกั้นน้ำ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่เกษตรกรทำนามาขยายผล ภายใต้การออกแบบของเจ้าหน้าที่ผสมกับหลักการวิชาการโดยมี กรมชลประทาน เป็นผู้ดูแล

                2)  การรวบรวมข้อมูลทำนาข้าวของเกษตรกร เช่น ลักษณะดิน  คุณภาพดิน การดูแลรักษา และอื่น ๆ ที่เป็นพื้นฐานของพื้นที่นาข้าวนั้น ก็จะมีการตรวจวิเคราะห์ดินและการค้นหาวิธีการป้องกัน/แก้ไข ก็จะมี กรมพัฒนาที่ดิน เป็นผู้ดูแล

                3)  การบำรุงปรับปรุงดินในแปลงนาข้าวของเกษตรกรที่จะใช้ขี้วัวนั้น มาจากมีเกษตรกรบางส่วนเลี้ยงวัวกันอยู่เดิม  มีฟางข้าวให้วัวกิน เพราะทำนาข้าวเป็นหลัก โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นมาจัดการ  หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็นำมาใช้เป็นช่องทางในการดำเนิน กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงวัวให้กับเกษตรกร เพื่อเป็นอาชีพเสริม  การจัดทำปุ๋ยหมัก และอื่น ๆ เพื่อปรับโครงสร้างดิน ก็จะมี กรมปศุสัตว์ เป็นผู้ดูแล

                4)  การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน  เป็นผลมาจากเกษตรกรใช้สารเคมีค่อนข้างมาก มีการลงทุนสูง โครงสร้างดินไม่ค่อยดี และอื่น ๆ เช่น การใช้เมล็ดพันธุ์  สารเคมี และอื่น ๆ ดังนั้น จึงได้วางเป้าหมายการปฏิบัติงานเพื่อช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตจากการปรับโครงสร้างดินจากเมล็ดพันธุ์  จากการดูแลน้ำ และอื่น ๆ โดยจะมี กรมการข้าว เป็นผู้ดูแล

                5)  การส่งเสริมกลุ่มอาชีพ โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้ประมวลภาพรวมของการทำงานของแต่ละหน่วยงานที่จะเข้ามาส่งเสริมฯ ให้กับเกษตรกรได้เห็น ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย, อาชีพที่ทำ พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ของ สปก.  การดำเนินงานโครงการ   วิธีการทำงานกับเกษตรกร ประมาณ 500 กว่าคน โดยใช้แกนนำ (ตัวแทน) และอื่น ๆ ที่มีเป้าหมาย เพื่อดำเนินงานไปสู่กลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชน ก็จะมี กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ดูแล 

                เทคนิคการทำงาน  ใช้วิธีการค้นหา แกนนำเกษตรกร จำนวน 55 คน เพื่อมาดูแลรับผิดชอบการดำเนินกิจกรรม แบ่งเป็น ทีม/กลุ่ม โดยที่เกษตรกรที่มานั้นมาจาก ใจของฉันมาด้วย ที่เป็นข้อตกลงจากเวทีการพูดคุย เพื่อทำหน้าที่ดูแลสมาชิกกลุ่มของตนเอง จำนวน 10 คน/แกนนำ 1 คน ใน Zone พื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่  การบริหารจัดการเรื่องน้ำ  เรื่องโครงสร้างดิน เรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์  และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรแกนนำได้มีโอกาสถอนตัวจากการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย แต่ผลปรากฏว่าไม่มีเกษตรกรมาถอนชื่อตนเอง ทั้งนี้ในการสนับสนุนอาชีพเสริม เลี้ยงวัว) ใช้วิธีการให้เกษตรกรสมัครใจแล้วมารวมกลุ่มเป็น  กลุ่มผู้เลี้ยงวัว  ที่จะมีการสนับสนุนสินเชื่อ ส่วนความรู้นั้นก็จะมีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ให้

                จุดเน้นหนัก  ของการช่วยเหลือเกษตรกรจะมุ่งเป้าหมายไปที่การเสริมความรู้ในแต่ละเรื่องให้กับเกษตรกรปฏิบัติเป็น/มีทักษะ ที่เริ่มจากการสร้างแกนนำไปดูแลเกษตรกรด้วยกัน โดยงานในขั้นที่ 1 ที่ปฏิบัติก็คือ  ให้เกษตรกรเก็บตัวอย่างดินมาใช้วิเคราะห์ ที่ดึงเอา หมอดิน ที่เป็นเกษตรกรแกนนำมาเล่าวิธีการให้ฟัง และมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน พัฒนาที่ดิน เป็นผู้เสริมข้อมูล และชักชวนให้เกษตรกรมาเรียนรู้ภายใต้วัตถุประสงค์ก็คือ เพื่อให้เกษตรกรเก็บตัวอย่างดินเป็น ใช้เครื่องมือเป็น เพื่อจะได้ปรับโครงสร้างดินเป็น  ฉะนั้น การเริ่มงานของโครงการจึงเริ่มต้นที่ ให้เกษตรกรเก็บตัวอย่างดินและเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อนำมาเรียนรู้และตรวจวิเคราะห์ด้วยกัน ภายใต้หัวเรื่องว่า วิธีการเก็บตัวอย่างดิน น้ำ และการใช้เครื่องมือตรวจวิเคราะห์."

หมายเลขบันทึก: 248415เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2009 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาเป็นกำลังใจให้คุณศิริวรรณค่ะ

 

  • สวัสดีครับ
  • น่าสนใจนะครับ
  • อย่าลืมบันทึกมาแบ่งปันกันด้วยนะครับ
  • ยกกระทรวงเกษตรฯ ไปไว้ในนา แถวๆสุพรรณ เลย
  • น่าสนใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี