เผยแพร่ผลงาน


เผยแพร่ผลงานวิชาการ

บทที่ 1

บทนำ

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  ได้กำหนดสาระเกี่ยวกับการศึกษา ไว้ในมาตรา 49

ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ

ค่าใช้จ่าย ส่วนพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  .. 2545  มีความมุ่งหมาย

และหลักการเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา ความรู้  และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

                    กระทรวงศึกษาธิการได้มีการปฏิรูปการศึกษา  มีการนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  

มาใช้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพ ของผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีขีดความสามารถในการแข่งขัน  โดยเฉพาะ   อย่างยิ่ง  การเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น  สามารถดำรงชีวิต

อย่างมีความสุขได้บนพื้นฐาน  ของความเป็นไทยและความเป็นสากล  รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพ

หรือศึกษาต่อ    ตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล  (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545, คำนำ)

                    ครูเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญยิ่งต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนครูจึงต้องเป็นบุคคล

แห่งการเรียน  คือใฝ่หาความรู้อยู่เสมอวิธีการหนึ่งในการค้นหาความรู้อย่างมีระบบคือการวิจัย  ทั้งนี้เนื่องจากการวิจัยเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาอย่างชัดเจนเป็นระบบ (วาโรจน์  เพ็งสวัสดิ์, 2543, หน้า 1)  แต่การจัดการเรียนการสอนของครูมักจะประสบปัญหาต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ซึ่งวิธีการในการแก้ปัญหาเหล่านั้นครูควรใช้วิธีการวิจัยในชั้นเรียนซึ่งเป็นการวิจัยโดยครูจะต้องดึงปัญหาในการเรียนการสอนออกมาและแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยกระบวนการที่เชื่อถือได้  ผลการวิจัยคือคำตอบที่ครูจะเป็นผู้นำไปแก้ปัญหาของตน  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ  (อุทุมพร  จามรมาน, 2537, หน้า 16)  แต่ผลงานการวิจัยเท่าที่ปรากฏนับว่าน้อยมากและส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่จัดเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกกันว่าวิทยานิพนธ์  หรือปริญญานิพนธ์ (จุมพล  สวัสดิยากร, 2523 , หน้า11 - 19)  การที่ครูทำวิจัยในชั้นเรียนยังไม่เป็นกิจจะลักษณะที่ชัดเจนและยังไม่เป็นงานประจำของครูมีสาเหตุสำคัญคือครูยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียนแม้ว่าครูจำนวนหนึ่งที่ผลิตผลงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์  ตามหลักสูตรที่ตนศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาและครูอีกส่วนหนึ่งทำวิจัยเพื่อนำผลงาน ทางวิชาการประกอบการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการหรือเลื่อนขั้นเงินเดือน เป็นต้น  ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ยังไม่ได้ทำเพื่อแก้ปัญหาในการเรียนการสอนอย่างจริงจัง  และเป็นงานวิจัยที่ขาดความต่อเนื่อง (กิตติพร  ปัญญาภิญโญผล, 2541, หน้า 2 - 3)  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะครูส่วนมากขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียน  เริ่มตั้งแต่การกำหนดปัญหา  การกำหนดวัตถุประสงค์  การดำเนินการ

วิจัย  การตรวจสอบข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  การเผยแพร่ผลงานวิจัยตลอดทั้งการใช้ประโยชน์จากผลการวิจัย

(ลัดดา  คำพลงาม, 2540, หน้า 85 - 93)

                    การวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จได้อย่างดีทั้งการนำกระบวนการวิจัยและผลการวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเฉพาะการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยนับเป็นแนวทางหนึ่งที่ผู้สอนและผู้บริหารสามารถนำไปปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาได้  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  .. 2545   ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บททางการศึกษาของไทย  ได้ให้ความสำคัญของการวิจัยและกำหนด

ว่าการวิจัยเป็นกระบวนการ ที่ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการทำงาน    ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 

ซึ่งเป็นกลไกที่นำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้                     

                           บทบาทสำคัญประการหนึ่งของครู  คือครูมีฐานะเป็นนักวิจัยเป็นการวิจัยที่เกิดจากการปฏิบัติงานของครู 

การที่ครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนจึงได้รับรู้สภาพปัญหาของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรวมทั้งสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในชั้นเรียน   ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดที่สนับสนุนให้ครูมีบทบาทในฐานะ

ของนักวิจัย  เนื่องจากชั้นเรียนเป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีขนาดเล็กและถือได้ว่ามีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนโดยตรง  และนักเรียนเหล่านี้จะเป็นผลผลิตของหลักสูตร  ดังนั้นเทคนิคสำคัญประการหนึ่งที่สามารถช่วยในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน คือ การทำวิจัย โดยครูผู้สอน (ทัศนีย์  สิทธิวงศ์, 2543, หน้า 1 - 2)

                    การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษา  เพราะการวิจัยในชั้นเรียนสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี  ดังนั้นครูจึงมีบทบาทเพิ่มขึ้นจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้มาเป็นนักวิจัย  บทบาทหนึ่ง  ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง  และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวนักเรียน  โดยหวังผลเพื่อนำมาพัฒนาและแก้ปัญหาให้นักเรียนมีการพัฒนาและมีกระบวนการเรียนรู้ที่ดีขึ้น  การนำผลการวิจัยไปช่วยในการเรียนการสอนจะทำให้ผู้เรียนไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของโรงเรียน  ครูจะเกิดความรู้และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เป็นการพัฒนาวิชาชีพควบคู่ไปด้วย (ทัศนา  แสวงศักดิ์, 2543, หน้า 72 - 73)  ในสภาพปัจจุบันยังมีครูผู้สอนจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหาการวิจัยในชั้นเรียน  ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ไหน  ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรหรือเมื่อเริ่มได้แล้วไม่รู้ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะต้องดำเนินการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถทำการวิจัยในชั้นเรียนได้

                    โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  ตั้งอยู่ในตำบลกบินทร์  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี  จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ปีการศึกษา 2550  ข้าราชการครู  42 คน  แยกเป็นฝ่ายบริหาร  3 คน  และ ครูผู้สอน  39 คน  จากรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) (กรมวิชาการ, 2544 ก, หน้า 20)  พบว่า มาตรฐานด้านผู้เรียนด้านที่ 5  ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นตามหลักสูตรอยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ โดยเฉพาะตัวบ่งชี้เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  รวมทั้งกลุ่มสาระ         

การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นอกจากนั้นมาตรฐานด้านผู้เรียนอื่นๆ ก็ยังอยู่ในระดับคุณภาพพอใช้อีกหลายมาตรฐาน 

ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครูที่พบจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา คือ  ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอดที่ไม่สอดคล้องตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้  ขาดการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน  ขาดการคิดค้น การผลิตสื่อ รวมทั้งนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างดำเนินการกิจกรรมนั่นคือ ขาดการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน  จึงส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมของโรงเรียนต่ำ 

                    ผู้ศึกษาค้นคว้าในฐานะที่เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ  มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับ    การบริหารและการจัดการศึกษาในโรงเรียน  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาด้านมาตรฐานผู้เรียนซึ่งต้องปรับปรุง  และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  .. 2545  และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544  จึงได้ร่วมกันกับคณะครูกำหนดแนวทาง

ในการพัฒนาคุณภาพ  การจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ด้านคุณภาพมาตรฐานของผู้เรียน  โดยมุ่งพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะในด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน  เพื่อที่จะนำความรู้และทักษะที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพ อันจะเกิดผลดีต่อนักเรียน และสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  สามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้ในการดำรงชีวิต

ได้อย่างมีความสุข 

                   

วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

                    เพื่อพัฒนาบุคลากรโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี  ให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้

ความสำคัญของการของการศึกษาค้นคว้า

                    1.  บุคลากรครูโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี 

จังหวัดปราจีนบุรี  สามารถทำวิจัยในชั้นเรียน

                    2.  บุคลากรครูโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี 

จังหวัดปราจีนบุรี  สามารถนำผลการวิจัยในชั้นเรียนมาพัฒนาการเรียนการสอน  ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                    3.  เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา และเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรครู

โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

                    4.  เป็นข้อสารสนเทศให้กับโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี 

 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ในการประยุกต์ใช้พัฒนาบุคลากรครูเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน

 

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

                    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  มีขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้

1.       กลุ่มผู้ร่วมศึกษาและผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย

                          1.1  ผู้ศึกษาค้นคว้า  จำนวน 1 คน   คือ นางประไพพรรณ  เกษรทิพย์  รองผู้อำนวยการโรงเรียน  ฝ่ายวิชาการ  โรงเรียนเทศบาล 2  (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี
                          1.2  กลุ่มเป้าหมาย  จำนวน 42 คน  คือ ครูโรงเรียนเทศบาล 2
(วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี ทุกคนซึ่งเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก  ได้แก่
                               
               1.2.1  ครูผู้สอนในระดับอนุบาล  จำนวน  3 คน
                                              
1.2.2  ครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 1  จำนวน  11 คน

                                              
1.2.3  ครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2  จำนวน  13 คน
                                              
1.2.4  ครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 3  จำนวน  15 คน
                          1.3  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม  ได้แก่

                                  1.3.1  วิทยากร  จำนวน 2 คน                                 

                                  1.3.2  คณะกรรมการการนิเทศภายใน  จำนวน  5 คน ได้แก่

                                              1.3.2.1  นายสุธีระ  ทองโบราณ  ผู้อำนวยการโรงเรียน  โรงเรียนเทศบาล 2  (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี

                                              1.3.2.2  นางประไพพรรณ  เกษรทิพย์  รองผู้อำนวยการโรงเรียน 

ฝ่ายวิชาการ  โรงเรียนเทศบาล 2  (วัดใหม่ท่าพาณิชย์)  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี

                                              1.3.2.3  นางนันทนา นาคศรี  หัวหน้าช่วงชั้นที่  1 

                                              1.3.2.4  นางมนธิรา  สำราญกิจ  หัวหน้าช่วงชั้นที่  2 

                                              1.3.2.5  นายสมศักดิ์  ทองศรี  หัวหน้าช่วงชั้นที่  3 

              

หมายเลขบันทึก: 248225เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

          งานวิจัยในชั้นเรียนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อนักเรียนจริง ๆ ดีใจจังที่มีผู้บริหารเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจและนำไปใช้แก้ปัญหาในห้องเรียนได้

คิดถึง...คืนวานวัน

คิดถึง...กลิ่นแห่งความทรงจำ

คิดถึงเธอนั้น....ผู้เปี่ยมอารี...พี่ที่แสนดีของเรา

บังเอิญเข้ามา....จึงได้พานพบ

แอบมาชื่นชม.. พบพานงานดี...คนดีที่น่าชื่นชม

พี่อ๊อดยังเป็นสาวมั่น เก่ง เฟอร์เฟ็ค เหมือนเดิมไม่ผันแปร

ยังระลึกถึง เคารพรักพี่เสมอนะคะ

ดีมากเลยค่ะ จะได้นำไปเป็นแบบอย่างให้กัยโรงเรียนทำบ้าง

คุณครูประไพรพรรณ เก่งจังค่ะ ศิษย์เก่า ท.2 ขอคาราวะ

น.ส. อุไรวรรณ ตะวันขึ้น

สวัสดีคะคุณครูต้นแบบของลูกศิษย์ ท.2 คิดถึงคุณครูมากเลยคะ

Good buy teacher..........

ผู้บริหารที่เก่งอย่างครูอ็อดหายากจริงๆนะคะ

หนูคิดถึงครู.......................................

คิดถึงอาจารย์ที่สุดเลย อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ใจดีน่ารักมากด้วย ขอบคุณนะค่ะที่อบรมสั่งสอนหนูมา ศิษย์เก่าโรงเรียนกบินทร์บุรี

(ไอ้ตัวเล็กของอาจารย์ไงค่ะ)

คิดถึงและเคารพอาจารย์ประไพพรรณทีปรึกษาปี 2544 ม. 4/2 ตลอดเวลาจากศิษย์เก่าโรงเรียนกบินทร์บุรี

เก่งมากค่ะ เก่งทุกเรืองเลย ขอคารวะจากใจจริง

ลัดดาวัลย์ แก้วเดช

สุดยอดที่สุด ยกให้ครูท่านนี้ เป็นแม่พิมพ์แห่งชาติ อีกท่านคะ  วันนั้นถ้าไม่มีครู ลูกศิษย์คนนี้ คงไม่มีวันนี้ ขอบพระคุณมากค่ะ

ด้วยความเคารพและระลึกถึงตลอดไป

 จาก ไอ้เร ของครูอ๊อดคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท