เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ : ประเภทงานวิจัย


บทคัดย่องานวิจัยเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ ค่ะ

บทคัดย่อ

 

สายพิน  แก้วงามประเสริฐ.  การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิด  สำหรับ

นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ปีการศึกษา 2550โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี  จังหวัดราชบุรี

 

 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80   พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ   เปรียบเทียบพฤติกรรมการคิดของนักเรียนก่อนและหลังการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ  โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิด และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพธาวัฒนา-เสนี  อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี   ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี  อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี  ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  1  ห้องเรียน  ซึ่งโดยมาโดยการสุ่มอย่างง่าย  ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม  จำนวน  49  คน ระยะเวลาในการทดลอง  18  คาบ ๆ ละ  50  นาที

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่   แบบสำรวจการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน  แบบฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2   ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า   t – test  for  dependent

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

 1. แบบฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนโพธา-วัฒนาเสนี  มีประสิทธิภาพ  81.24/80.21  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

                2.  ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี   หลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  สูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

                3. หลังการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ  นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม

4. นักเรียนที่ได้รับการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับมาก  และมากที่สุดในรายการที่เกี่ยวข้องกับทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 248076เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 01:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณค่ะ

ขอให้พบกับความสำเร็จ สมปรารถนา ในเร็ววันค่ะ

ขอบคุณค่ะ ขอให้พี่อ้อยสมความปรารถนาเช่นกันค่ะ

นายสุรินทร์ สังข์งาม

ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การผลิตปุ๋ยชีวภาพ

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ชื่อผู้ศึกษา นายสุรินทร์ สังข์งาม

ปีที่ทำ 2550

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การผลิตปุ๋ยชีวภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องการผลิตปุ๋ยชีวภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์ จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 41 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การผลิตปุ๋ยชีวภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 88.24/88.05 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้ง

2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การผลิตปุ๋ยชีวภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.77 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การผลิตปุ๋ยชีวภาพ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การผลิตปุ๋ยชีวภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะ

การเขียนสรุปบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง

จังหวัดศรีสะเกษ

ชื่อผู้วิจัย : นางสมทรง ภูมิพันธ์

ปีที่วิจัย : 2551

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสรุปบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ

หลังเรียน เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสรุปบทเรียน 3) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสรุปบทเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสรุปบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การออกแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังปฏิบัติการ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติตามแผน (Acting) ขั้นสังเกตและบันทึกผล (Observing) และขั้นสะท้อนผล (Reflecting) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบฝึกทักษะการเขียนสรุปบทเรียน จำนวน 10 ชุด และแบบวัดผลประเมินผล แบ่งเป็น

3 ชุด คือ แบบทดสอบก่อน- หลังเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบสังเกตความรับผิดชอบ และแบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบคุณภาพด้านความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน คำนวณค่า IOC ได้ 0.80 ขึ้นไปทุกรายการ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนการวิจัยด้วยตนเองระหว่างเดือน ธันวาคม 2551 – กุมภาพันธ์ 2552 และได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อความ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการหาค่าสถิติอย่างง่าย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การคำนวณผู้วิจัยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. ภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะ

การเขียนสรุปบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.40

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสรุปบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัด ศรีสะเกษ ได้ค่าเฉลี่ยของคะแนน 24.72 สูงกว่าก่อนการวิจัย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของคะแนน 13.44

มีผลต่างของคะแนนการเรียนรู้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 11.28 คะแนน

3. ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะ การเขียนสรุปบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นคะแนนร้อยละ 93.87

4. ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนภายหลังการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสรุปบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง

จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 4.44

เป็นกําลังใจช่วยอีกแรงครับ

ดีใจจังที่ได้ยินข่าวคราวของเพื่อนอีก...หลังจากห่างหายกันไปนานร่วม 20 ปี เราเพิ่งได้พบกับร่องรอยของเล็ก ซึ่งมาพร้อมกับความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง...แล้วความรู้สึก ทึ่ง... อึ้ง...ก็ตามมา ...จากหน้าหนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับ วันที่ 21 ธ.ค. 53 หน้า 6 ไม่คิดเลยว่า เราจะมีเพื่อนเก่าเป็น... นักคิด ...ช่างคิด และเขียนได้มีสาระขนาดนี้ หวังว่าคงจำเราได้นะ...

แล้วเราคงได้คุยกัน!

โจ้..

ขอบใจมากเพื่อน แสดงว่าไม่น่าจะมีความคิดใช่ไหม 555

หวังว่าจะได้คุยกันอีกนะโจ้ ใช่โจ้ ที่อยู่สอยดาวเปล่า อยากคุยกันบ่อย ๆ เข้าไปคุยในเฟซบุ๊คซิ คิดถึงเพื่อนเหมือนกันนะ

ผมเขียนโครงการเสนอองค์การเกษตรเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพอยากทราบว่าแบบฟอมร์เขียนยังแบบไหนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท