หลักเกณฑ์ในการกำหนดเขตควบคุมมลพิษตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมมีอย่างไรบ้าง?


ปัญหามลพิษในพื้นที่นั้นว่าจะต้องมีแนวโน้มรายแรงถึงขนาด เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

                หลักเกณฑ์ที่สำคัญคือต้องพิจารณาถึงปัญหามลพิษในพื้นที่นั้นว่าจะต้องมีแนวโน้มรายแรงถึงขนาด เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งการพิจารณาจะคำนึงถึงสถิติข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เช่น รายงานทางการแพทย์ สถิติความเจ็บป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ แล้วนำมาประกอบกับหลักวิชาการและวิธีการทางเทคนิคต่างๆ เพื่อเสริมความชัดเจนและเหตุผลที่จะประกาศให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษ

 

                ในกรณีมาบตาพุด ข้อมูลที่ศาลปกครองพิจารณาประกอบ คือ

                รายงานของกรมควบคุมมลพิษ เอกสารแนบท้ายการประชุมของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติครั้งที่ 11/2548 ที่ระบุว่าปัญหามลพิษทางอากาศพบสารอินทรีย์ระเหยมากกว่า 40 ชนิด เป็นสารก่อมะเร็ง 20 ชนิด ใน 20 ชนิดพบสารอินทรีย์ระเหยก่อมะเร็งที่มีค่าเกินระดับเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในบรรยากาศจำนวน 19 ชนิด  ดังนั้น ถ้าหากแหล่งกำเนิดทุกแหล่งในพื้นที่มาบตาพุดระบายมวลสารทางอากาศออกในอัตราสูงสุด ตามค่าที่ได้รับอนุญาต จะมีผลทำให้ค่าความเข้มข้นของมวลสารในบางค่าสูงกว่ามาตรฐาน

 

                ในปีพ.ศ.2540 -2544 สถาบันมะเร็งแห่งชาตินำเสนอข้อมูลจากโครงการศึกษาระบาดวิทยาของโรคมะเร็งทุกชนิดในประเทศไทยของ จ.ระยอง สถิติการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของ อ.เมืองระยอง สูงกว่าอำเภออื่นเป็น 3 เท่าและ 5 เท่า คุณภาพน้ำคลองสาธารณะ ปี พ.ศ.2550 คลองสาธารณะส่วนใหญ่ในพื้นที่มาบตาพุดอยู่ในระดับเสื่อมโทรมพบสารปนเปื้อนโลหะหนักสูงเกินค่ามาตรฐาน

 

                   เพียงเท่านี้ก็ยืนยันได้แล้วว่า เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นพื้นที่ซึ่งมีปัญหามลพิษ มีแนวโน้มที่ร้ายแรงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงสมควรที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ

 

                   แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ยังมีผลการศึกษาของหน่วยงานราชการ สถาบันวิชาการ และองค์กรเอกชนอีกมากมาย รวมทั้งการเก็บข้อมูลของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกเอง ที่ยืนยันว่าปัญหามันรุนแรงและควรจะประกาศให้พื้นที่นี้เป็นเขตควบคุมมลพิษมาตั้งนานแล้ว

 

บ่อยครั้งที่ข้ออ้างเรื่องบรรยากาศการลงทุน การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ความเจริญของประเทศชาติโดยส่วนรวม หรือภาพลักษณ์การท่องเที่ยว มีสำคัญกว่าชีวิตของคนในท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 246883เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2009 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

  • เคยผ่านเส้นทางสองแห่งในประเทศไทย
  • บริเวณที่มีโรงโม่ปูน
  • อากาศ..มีหมอกควัน ไม่กล้าหายใจเต็มปอดเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณเหลา

ในฐานะครูชีววิทยา  และคลุกคลีกับ
เรื่องราวของสิ่งแวดล้อมมาพอควร
ขอเอาแรงใจและแรงกายร่วมกันสู้ๆ
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ของเรานะคะ

ครูคิมครับ พื้นที่ที่มีโรงโม่ปูนที่คุณครูเคยผ่านไม่แน่ใจว่าอยู่แถวสระบุรีหรือเปล่าครับ พื้นที่ใกล้เคียงกันนั้นมีการประกาศเขตควบคุมมลพิษอยู่ตำบลเดียวครับ คือ เขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี

แต่ตรงที่มีโรงงานปูนซิเมนต์ยังไม่ได้ประกาศ จึงยังต้องดูแลสิ่งแวดล้อมโดยใช้กฎหมายโรงงานเป็นหลัก

กำลังใจนี่แหละครับที่คนทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเขาต้องการ จะส่งกำลังใจและความปรารถนาดีของครูแป๋ม ให้พวกเขาต่อไปครับ

    เป็นความเห็นแก่ตัวของผู้ประกอบการ และผู้บริหารประเทศหรือเปล่าค่ะ สู้ต่อไปค่ะ พี่น้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท