กรณีศึกษา : การใช้กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จับเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน


กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีข้อบัญญัติเกี่ยวกับความมั่นคงฯ ซึ่งมีโทษหนักในการละเมิด กรณีที่มีเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ ถือเป็นเรื่องความมั่นคง ซึ่งต้องศึกษาว่าเกิดการเว็บหรือผู้เข้าไปใช้บริการในเว็บแล้วฝากข้อความหมิ่นเอาไว้

กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีข้อบัญญัติเกี่ยวกับความมั่นคงฯ ซึ่งมีโทษหนักในการละเมิด  กรณีที่มีเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ ถือเป็นเรื่องความมั่นคง  ซึ่งต้องศึกษาว่าเกิดการเว็บหรือผู้เข้าไปใช้บริการในเว็บแล้วฝากข้อความหมิ่นเอาไว้  จึงเป็นเรื่องที่ผู้ดูแลและบริหารจัดการเว็บ  รวมทั้งฝ่ายบริหารต่าง ๆ ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้เพราะไม่ใช่เรื่องเล่น  กรณีศึกษาคือ

1. ความผิดของผู้ให้บริการที่หมิ่นสถาบัน  หรือ

2. ความผิดของผู้ใช้บริการที่เข้ามาฝากข้อความ

 

 

ติดตามรายละเอียดในข่าวสด

วันที่ 07 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6673 ข่าวสดรายวัน


กองปราบจับเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน




เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 6 มี.ค. ที่กองปราบปราม พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รองผบช.ก. พ.ต.อ.สาธิต ตชยภพ รองผบก.ป.พร้อมกำลังนำหมายค้น ศาลอาญา เลขที่ 183/ 2552 ลงวันที่ 5 มี.ค. 2552 เข้าตรวจค้นสำนักงานเว็บไซต์ประชาไท ตั้งอยู่เลขที่ 409 ชั้น 1 อาคาร มอส. ซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ5 แขวงและเขตห้วยขวาง กทม. ทั้งนี้นการตรวจค้นดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ได้รับการร้องเรียนจากทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ว่าเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์ (www.prachatai.com) มีการโพสต์ข้อความลักษณะหมิ่นเบื้องสูง ในช่วงตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. 51-วันที่ 3 พ.ย. 51 ต่อเนื่องกัน เหตุเกิดในพื้นที่เขตพระนคร เขตปทุมวัน และเขตห้วยขวาง กทม.

สำหรับหลักฐานดังกล่าวเป็นข้อความภายในเว็บไซต์ดังกล่าว ที่เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงมากกว่า 40 ข้อความ เจ้าหน้าที่จึงรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอหมายค้น นอกจากนี้ยังได้ขอออกหมายจับน.ส.จีรนุช เปรมชัยพร อายุ 42 ปี ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท อยู่บ้านเลขที่48/282 ซอยรามคำแหง 104 แขวงและเขตสะพานสูง ตามหมายศาลอาญา เลขที่ 551/2552 ข้อหากระทำผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา14 (1) (3) (5) เป็นผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ, และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมฯตาม (1) (3) (5) และผิดพ.ร.บ.คอมฯมาตรา 15

นอกจากนี้หลังการตรวจค้นภายในสำนักงานเว็บไซต์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ก็ได้ยึดคอมพิวเตอร์โน้ต บุ๊กของน.ส.จีรนุชมาตรวจสอบ พร้อมกับเชิญตัวมาดำเนินคดีที่กองปราบปรามด้วย เบื้องต้นจากการสอบสวนผู้ต้องหาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา อ้างว่าข้อความดังกล่าวที่อยู่ในเว็บไซต์ประชาไทเป็นข้อความของผู้ที่เข้ามาอ่านข่าวสารในเว็บและเขียนไว้ในเว็บบอร์ดสาธารณะของเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งภายหลังเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ตรวจพบก็ได้ลบข้อความที่มีเนื้อหาเชิงหมิ่นเบื้องสูงก็ได้ลบทิ้งหมดแล้ว

ต่อมาดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ขอประกันตัวน.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ออกไป

หน้า 14

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd01EVXhNVEEzTURNMU1nPT0=&sectionid=TURNek5RPT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB3Tnc9PQ==

 

หมายเลขบันทึก: 246875เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2009 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆต้องให้ความรู้เรื่องของ"สิทธิ" เพราะเดี๋ยวนี้ทุกคนจะอ้างว่าจะทำอะไรก็ได้เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล โดยไม่มองว่าสิทธิตัวเองไปกระทบผู้อื่นหรือไม่

ผมขอยกตัวอย่างเช่น นายแดงนั่งฟังเพลงในบ้านเปิดเพลงเสียงดังเพราะมันในอารมณ์ จนเพื่อนบ้านบอกว่าให้เบาเสียงหน่อยเพราะรบกวนการนอนคนอื่น แต่นายแดงบอกว่ามันสิทธิส่วนตัวของเขาที่จะฟังเพลงดังๆในบ้านและชอบฟังเพลงกลางดึกเพราะเขาชอบแบบนั้น...นายแดงบอกว่าจะมาบังคับให้เขาปิดเพลงไม่ได้เพราะเป็นสิทธิส่วนตัวของเขา...จริงๆแล้วถ้าแจ้งความเอาผิดนายแดงได้เพราะไปประเมิดสิทธิผู้อื่น

คิดกันเอาเองนะครับว่า พวกคุณกำลังละเมิดสิทธิคนอื่นหรือไม่ก่อนจะมาอ้างว่า "มันเป็นสิทธิของผม"

คิดว่าน่าจะตามจับผู้ที่เข้ามาฝากข้อความ เพราะหนังสือพิมพ์ต้องประกอบอาชีพของเขา ถ้ามีเหตการณ์แบบนี้บ่อยๆ ผอก.เว็บไซด์ก้จะเดือดร้อนและหงุดหงิดค่ะ

น่าจะเป็นความผิดของผู้ให้บริการ เพราะถือว่า ดูแลบ้านตนเองไม่ดี ก่อให้เกิดความเสียหายสู่วงนอก

เคยเข้าไปอ่านเหมือนกันเพราะอยากรู้ว่าเขียนกันว่าอย่างไร อ่านแล้วเครียดเพราะแรงมาก มีความคิดว่าถ้าใครก็แล้วแต่ไม่ให้ความยอมรับสถาบันเบื้องสูง ก็ไม่สมควรอยู่ในไทย เพราะประเทศไทย ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่เริ่มต้น สมัยบรรพบุรุษของพวกเขา

คนบางคนก็เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงผลเสีย..จริงๆแล้วเมื่อตรวจสอบพบว่ามี Web แบบนี้สมควรปิดตั้งแต่แรกไม่ใช่ปล่อยให้มีคนเข้ามา Comment มากมาย

ผู้ให้บริการต้องระวังคนที่เข้าตั้งกระทู้หรือตอบกระทู้ ท้ังนี้คนที่ฝากข้อความต้องเป็นจำเลยที่1ครับ

อันธิกา คะระวานิช

ผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบ web ของตนเองด้วยเพื่อไม่ให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และแสดงถึงว่าตนเองไม่ได้หมิ่นสถาบัน ในขณะเดียวกันผู้ใช้บริการควรมีขอบเขตการแสดงความคิดเห็นไม่ล่วงละเมิดสิทธิผู้อื่นในทุกสื่อสาธารณะ

ธิติพันธุ์ จีนประชา

จริงๆแล้วน่าจะเป็นความผิดของผู้ใช้บริการ แต่หากผู้ให้บริการไม่ระมัดระวังให้ดีก็น่าจะมีส่วนร่วมรับผิดด้วยเช่นกัน

ควรจะมีมาตรการที่เข้มงวดจากกระทรวงไอซีทีตั้งแต่การขออนุญาตเปิดเวบไซด์ ให้ทราบถึงบทลงโทษที่จะได้รับ และทางเจ้าของเว็บไซต์ควรจะต้อง

1. เพื่อไม่ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์แสดงความคิดเห็นตามใจชอบ ไม่ควรอนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของเว็บไซต์แสดงความคิดเห็น และผู้ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต้องมีข้อมูลส่วนตัวที่ตรวจสอบ ติดตามได้

2. เว็บไซต์กำหนดคำหรือข้อความที่ไม่สุภาพไว้ ผู้เข้าชมไม่สามารถพิมพ์ข้อความเหล่านั้นในการแสดงความคิดเห็น

3. เจ้าของเว็บไซต์อาจจะต้องตรวจสอบ ทุก ๆ ความคิดเห็นก่อนที่ความคิดเห็นเหล่านั้นจะแสดงให้เห็นในเว็บไซต์ เพื่อป้องกันไม่ให้ความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ของตน และนั่นคือ หน้าที่ของเจ้าของเว็บไซต์ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี

เจ้าของเว็บไซต์ ก็ควรตรวจสอบดูแลเว็บไซต์

ไม่ให้มีข้อความเหล่านั้น รอดหู รอดตา ออกมาถึงเหล่าประชาชนทั่วไปได้ค่ะ

และควรมีระบบตรวจทานข้อความ และเซ็นเซอร์ข้อความต่างๆ ในเว็บไซต์ด้วยค่ะ

ที่สำคัญ ควรจะมีบอกกฎการโพสในเว็บไซต์ไว้ ว่าโพสอะไรได้ หรือไม่ได้อย่างไร

ผู้ที่กระทำผิด จะได้อ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะทางเว็บไซต์ได้มีการประกาศบอกไว้เป็นทางการแล้ว

และถ้าจะเอาผิด ก็ควรเอาผิดทั้งผู้สร้างเว็บไซต์ (ข้อหาไม่ตรวจสอบเว็บไซต์ และลบข้อมูลเหล่านั้น)

และ ผู้โพสข้อมูลหมื่นสถาบัน (เพราะมีเจตนาในการโพสโดยตรง)

"สิทธิเสรีภาพ คือการใช้สิทธิของเราให้เต็มที่ โดยไม่ทำร้าย หรือ ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น"

วันนี้ผมอาจจะแสดงความเห็นรุนแรงและการเมืองไปนิด ผมไม่ใช่เสือเหลืองเสื้อแดงหรืออเสื้อสีไหนๆที่หลายๆคนต่างยกขึ้นมาเพื่อแสดงความเป็นกลุ่มก้อน (ซึ่งทางจิตวิทยาก็เป็นเพียงพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ในการสร้างตัวตนของตัวเเองเพียงเท่านั้น: Self Identity) ผมเป็นเพียงคนธรรมดาที่รักชาติรักประเทศรักในหลวง ผมไม่สนใจว่าคุณจะใส่เสื้อสีอะไร แต่ถ้าคุณมาเหยียบย้ำชาติและสถาบันที่ผมเทิดทูนนั้นผมยอมไม่ได้ ถ้าพวกที่หมิ่นสถาบันและมีหลักฐานจริงๆพวกนี้น่าจับไปประหารชีวิต แต่ถ้าจะอ้างว่าไม่ใช่คนไทยแล้วหนีไปต่างประเทศ ็ขออนุโมทนาว่าไปให้ไกลๆแล้วอย่ากลับมาเหยียบย้ำพื้นแผ่นดินไทย หรือเหยียบย้ำหัวจิตหัวใจของคนไทยที่เป็นคนไทยอีกเลย....สาธุ

ผู้ให้บริการต้องมีการตรวจสอบการใช้บริการของผู้รับบริการตลอด และถ้ามีการกระทำผิด ควรรับโทษทั้งคู่

ควรมีการลงโทษทีหนักกว่านี้ และคนเราน่าจะมีจิตสำนึกมากกว่านี้

คำสอนที่เป็นสัจธรรม และเป็นไปตามเหตุผลนั้น ผู้มีปัญญาตริตรอง ต้องมีศรัทธาเกิดขึ้นอย่างมั่นคง ศรัทธามี 2 อย่าง ศรัทธาที่เกิดในตน กับศรัทธาที่ผู้อื่นชักนำ ถ้าสักแต่ทำไม่ได้ใช้ปัญญาก็ไม่ได้ประโยชน์ รังแต่อาจจะเกิดโทษ

ชาติบ้านเมืองประกอบด้วยนานาสถาบัน อันเปรียบได้กับอวัยวะทั้งปวงที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตร่างกาย ชีวิตร่างกายดำรงค์อยู่ได้ เพราะอวัยวะใหญ่น้อยทำงานเป็นปกติพร้อมกันอย่างไร ชาติบ้านเมืองดำรงค์อยู่ได้เพราะสถาบันต่างๆ ไม่อยากสรุปว่าใครผิด ได้แต่กล่าวว่า ดังนั้น อย่าทำร้ายชาติบ้านเมืองของเรา

เป็นเรื่องยากในการบริหารจัดการบทความที่เข้าข่าย ผมว่าควรต้องมีซอร์ฟแวร์ช่วยดักจับข้อความเหล่านั้น โดยการบล็อกไว้ก่อนเผยแพร่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท