กึ่มแบบไม่มีกึ๋น


ทำไมถึงต้องมีโมเดลของการจัดการความรู้ ทำไมต้องมีลู่ให้นักวิ่ง ทำไมถึงต้องปักธงไว้ที่หลุมกอล์ฟ?????

วันนี้เพื่อนบอกว่าช่วยเขียนเรื่องการจัดการความรู้อย่างตัวเองคิดสักหน่อยว่าเป็นอย่างไร เอาไอ้แบบที่พออ่านแล้วรู้สึกบ้างว่าคนเขียน (อย่างเธอ) มีกึ๋นกะเขาด้วย  ??

ไอ้เราก็แบบคิด (เอาเอง) ว่าตัวเองมีกึ๋นอยู่บ้าง อิอิ เข้าข้างตัวเองสักหน่อย เพราะเหตุว่าอ่านโน่นนี่มา แล้วมาคิดต่อว่าจะทำอย่างไร แต่ด้วยเหตุที่เป็นคนเข้าใจยาก คือไม่ค่อยเข้าใจ (อาจหมายถึงโง่) เวลาคนอื่นพูด ซึ่งมีบางคนสรุปให้ว่า เธอไม่ตั้งใจฟัง บางครั้งเธอถามคำถามเดียวกันซ้ำถึงหลายครั้งๆ ทั้งๆที่คนตอบเขาตอบไปแล้วมันเป็นข้อพิสูจน์ว่าเธอไม่ตั้งใจฟัง

แล้วทีนี้จะให้คนแบบนี้มาเขียนเรื่องจัดการความรู้ในแบบที่คิด อืม หวังว่าจะให้คิดได้แบบไหนหรือ

องค์กรแห่งการเรียนรู้

กลุ่มเรียนรู้

จำได้ตอนอบรมข้าราชการบรรจุใหม่เมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว เรากับพวกอีกสี่ห้าคน ตั้งกลุ่มเสวนาหลังอบรม ทุกวัน จนเป็น กลุ่มข้างสระ หลังเลิกอบรมจะติดป้ายบอกว่าวันนี้กลุ่มจะคุยเรื่องอะไร เชิญเพื่อนผู้สนใจเข้าร่วมเสวนานี่คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือเปล่า

การเรียนรู้ใคร ต้อง กำหนดไหมว่าเราจะต้องเรียนรู้เรื่องอะไร

วิธี 1. กำหนดเป้าหมาย หัวข้อ ประเด็น แล้วหาคนสนใจเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วิธี 2. ดูเป้าหมาย/ภารกิจองค์กร กำหนดเป้าหมาย หัวข้อ ประเด็น แล้วหาคนมาคุยกัน

วิธี 3. เก็บเกี่ยวเบี้ยไบ้รายทาง ไปเรื่อยๆ

นี่คือแล้วแต่ว่าจะมองแง่ไหน

มีคนบอกว่าอย่าเอากรอบมาใส่ เพราะมันจะไม่ใช่การจัดการความรู้

คนขี้สงสัยอย่างเราก็จะถามต่อว่า ถ้าไม่มีลู่ให้วิ่ง  นักวิ่งก็วิ่งกันสะเปะสะปะ เมื่อไหร่จะเข้าเส้นชัย ...บางทีเจอราวตากผ้าก็อาจคิดว่าเส้นชัยก็ได้ ใช่ไหม ...เพราะได้วิ่งออกนอกเส้นทางไปเสียแล้ว

เรา..คนนอกคอก... ไม่ได้อยากเอากรอบมาใส่ให้ใคร เพียงแต่อยากกำหนดลู่วิ่งให้ชัดเจนเพื่อการเข้าเส้นชัยที่ถูกต้อง

คำถามที่ต้องการคำตอบ คือ

1.ถ้าไม่ปักธง จะรู้ไหมว่าจุดหมายคือตรงไหน เช่น กีฬากอล์ฟ ถ้าไม่ปักธง จะรู้ว่าหลุมอยู่ที่ไหนไหม

2. ถ้าไม่มีเวทีและกติกา นักมวยจะชกกันแบบไหน ...เหมือนชกกันข้างวัด...แบบสมัยเด็ก (เด็กเรียนโรงเรียนวัดต้องแอบชกกันข้างวัด)

3.ถ้าไม่มีเส้นชัยที่กำหนดไว้ นักวิ่งมืออาชีพ (มาราธร) จะรู้ไหมว่าเส้นชัยอยู่ไหน

วันนี้จึงยังไม่มีข้อคิดเห็นถึงแนวทางที่จะจัดการความรู้ในองค์กรเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ แต่ยังมีความหวังว่าสักวัน ...อิอิ กำลังสั่งสมอมความรู้ 

หมายเลขบันทึก: 246763เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2009 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เข้าใจยกตัวอย่าง

ขอบคุณมาก

ขอบคุณคับพี่ยาว

คุณKM อย่างพี่ยาวมืออาชีพแล้วอย่าลืมน้องนะ

ผ่านทางอย่าลืมแวะเยี่ยมล่ะ แหะ เรายังคิดถึงปลาต้มในกระบอกไม้ไผ่อยู่เสมอๆ

ว่างๆแวะไปปะกันที่พัทลุงนะ ตอนนี้กะเปิดชุมนุมคนรักการท่องเที่ยวธรรมชาติๆๆๆๆ

ลองซ้อมเที่ยวไปหลายรอบแล้ว

เที่ยวหน้ากะเอาจริงแล้ว

ว่าแต่จัดการความรู้กันไปถึงไหนแล้วล่ะ

อ้อยควั้น (ศิรินทิพย์)
  • หวัดดียามบ่ายอ่อน ๆ จ้ะ...เพื่อน
  • อิ่มข้าวนะ...คิดถึงเพื่อน ก็เลยแวะมาเยี่ยมกันงัยล่ะ
  • เที่ยงนี้หม่ำข้าวกับอะไร และกับใครเอ่ย อิอิ
  • "กึ๋นแบบไม่มีกึ๋น"...แต่อย่างไร เพื่อนเราก็มีกึ๋นอยู่แล้วจริงไหมจ้ะ...
  • คิดถึงเด้อออ

ขอเข้ามาเรียนรู้ด้วยค่ะ

อยากเห็นนักส่งเสริมทั้งแผ่นดินเป็นนักจัดการความรู้ค่ะ

กึ่มแบบไม่มีกึ๋น ถ้ากึ่ม หมายถึง (KM อ่านว่า กึ่ม) ละก็เราก็น่าพอจะมีกึ่นกับเขาอยู่บ้าง (ชอบกินไก่) การจัดการ KM ขององค์กรหากเริ่มตามกระบวนการ ต้องนับหนึ่งจากวิสัยทัศน์ด้านการจัดการความรู้  แล้วเดินทางต่อไปยังเป้าประสงค์ ที่เป็นเป้าหมายขององค์กร  กึ่มจึงเป็นพาหนะในการเดินทาง เป้าหมายที่ว่า คือ เป้าหมายของงานเป็นเป้าหมายหลัก  เป้าหมายการพัฒนาคนรองลงมา จากนั้นเป้าหมายพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสุดท้ายมุ่งสู่ความเป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรต่อกันในที่ทำงาน  

ตาม พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ม.11 ได้กำหนดเป็นหลักการว่าส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสมำเสมอ พร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในหมู่ราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน หาก  การจัดการความรู้คือการค้นหาความรู้ด้วยการ เก็บเกี่ยวเบี้ยไบ้รายทาง ไปเรื่อยๆ  เมื่อไหร่ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 ตามหลักการของ ม.11 คิดว่า ต้องการแก้ปัญหาความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนสูญหายไปจากสาเหตุต่าง ๆ จำเป็นต้องหาทางเก็บกักความรู้นั้นไว้โดยการแลกเปลี่ยเรียนรู้และการเก็บความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ และพัฒนาความรู้ให้ทันกับยุคสมัยและสิ่งแวดล้อม ให้บรรลุเป้าหมายหลักของงาน

เคยพูดว่าความรู้หมดอายุได้ แต่มีคนแย้งว่าความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ไม่มีวันหมดอายุ  เรายืนยันว่าความรู้นั้นหมดอายุได้ ขึ้นกับนิยามที่ว่าความรู้นั้นไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อเริ่มเรียนวิทย์ ฟูราดานป้องกันและกำจัดหนอนกอในนาข้าว ความรู้นี้ยังเป็นจริงในปัจจุบัน แต่หมดอายุการใช้งานเพราะประกาศห้ามใช้ฟูราดาน

การจัดการความรู้คือการค้นหาความรู้ด้วยการ เก็บเกี่ยวเบี้ยไบ้รายทาง ไปเรื่อยๆ  แล้วนำมาบันทึกสะสมไว้ โดยไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ไม่มีการ plan action chect Do แล้วความรู้นั้นจะเหมาะสมจริงหรือ

การจัดการความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรและชุมขน จึงควรตั้งเป้าหมายเพื่อพิทักษ์ความรู้เก่าที่มีอยู่ สร้างความรู้ใหม่ให้ทันกับสถานการณ์ ที่สำคัญต้องสามารถตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของชุมชนได้ด้วย

วิธีการที่คิด(เอง) ว่าใช่ คือต้องตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้ตาม เป้าหมาย/ภารกิจองค์กร  แล้วหารูปแบบการจัดการ เพื่อบรรลุตาม   เป้าที่วางไว้  และผ่าน ADLI

หวัดดีค่ะอ้อย

พยายามออกกำลังกาย

กินข้าวก็คิดถึง อิอ

สบายดีนะ

ดร. ทิพวัลย์ สีจันทร์

ขอบคุณค่ะ

หวังไว้ว่าจะเป็นเช่นนั้น

การจัดการความรู้  อาจไม่ต้องมีกรอบ มีลู่วิ่ง แต่ควรมีเป้าหมายที่เป็นอิสระร่วมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ดีดีที่นอกกรอบทีอาจไม่เคยค้นพบมาก่อนค่ะ

jrbest

เมื่อจะทำงาน เรามักถามหาความชัดเจน เพื่อให้เดินได้แบบไม่ล้มลุกคลุกคลาน แต่เมื่อถึงเวลาทำงานจริงๆ มันก็บาดเจ็บ เพราะหนามเกี่ยวเอาบ้าง เดินสะดุดตอบ้าง ก็แล้วแต่ว่าจะเจออะไร ซึ่งต้องอาศัยความอดทน และยืดหยัดในเป้าหมาย

ถามว่า ก่อนทำงานต้องสร้างความชัดเจนให้กับทีมงานหรือไม่ ??

ถามว่า ทีมงานควรจะเข้าใจและชัดเจนในสิ่งที่จะทำหรือไม่ ??

ไม่รู้นะ บางทีก็คิดว่าเรื่องบางเรื่องมันเป็นเกมที่ใครบางคนกำลังเล่น เพื่อ "แน่" ในขณะที่คนบางคนกำลังทำงาน เพราะงานคือความสุขที่ได้ทำ

หลายๆ ที่ หลายๆคน ที่แม้จะมีความชัดเจน ก็อาจไม่เกิดประโยชน์อันใด อิอิ ...  เพื่อนไปถึงไหนแล้ว รอด้วยดิ อิอิ...

คุณน้อยหน่า ขอบคุณค่ะ เป็นเช่นนั้นแหละค่ะ "แต่ควรมีเป้าหมายที่เป็นอิสระร่วมกัน"

ใช่เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท