รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการสร้างความรู้


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการสร้างความรู้สำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
อาจารย์เนาวนิตย์ สงคราม (ผศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม) สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ติดต่อผมมาทั้งโทรศัพท์และอีเมล์ เพื่อขอสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับ KM โดยอาจารย์ได้ทุนจากสกว.ในการทำวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการสร้างความรู้สำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จึงขอความกรุณาผมรับเป็นผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลและความรู้ทางด้านนี้ โดยจะขอลงมาสัมภาษณ์ผมในวันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2552 ประมาณ 10.00 น.

 

คำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับงานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการสร้างความรู้สำหรับนิสิต นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมี 5 ข้อ คือ
 

1.   นิสิต นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  สามารถสร้างความรู้ที่เป็นความรู้ถึงขั้นนวัตกรรมได้อย่างไร ควรมีกระบวนการหรือขั้นตอนใดบ้าง

2.   นิสิต นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  สามารถสร้างความรู้ที่เป็นความรู้ถึงขั้นนวัตกรรมได้นั้น ควรมีปัจจัยที่สนับสนุนใดบ้าง

3.   หากให้นิสิต นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตร่วมมือกันในการสร้างโครงงานหรือโครงการขึ้นมา 1 ชิ้น โครงการหรือโครงงานนั้นจะเป็นนวัตกรรมได้อย่างไร  มีกระบวนการขั้นตอน และปัจจัยสนับสนุนใดบ้าง

4.   การแลกเปลี่ยนความรู้อันได้มาซึ่งการแก้ปัญหาใหม่หรือผลงานที่มีแนวคิดแปลกใหม่ ควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างไรสำหรับนิสิต นักศึกษาครุศาสูตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (กรุณายกตัวอย่างที่เคยพบเห็นหรือตามที่ท่านได้ปฏิบัติมา)

5.   เทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการสร้างความรู้ที่เป็นนวัตกรรมของนิสิต นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้อย่างไร

 

ผมได้เมล์คำตอบทั้ง 5 ข้อไปให้อาจารย์อ่านบ้างแล้ว แต่คิดว่ายังนึกได้ไม่หมด ผมเห็นว่ากว่าจะวันนั้นมาถึงคงจะนึกได้อีก แต่เรื่องแบบนี้เพื่อนเรียนรู้อย่างน้องพี่ชาว G2K เราเอื้อกันอยู่แล้ว จึงอยากเชิญชวนน้องพี่ชาว G2K  ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการตอบคำถามนี้ 
 
 
เชิญอภิปรายแสดงความเห็นครับ..........
หมายเลขบันทึก: 246649เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2009 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ไม่ตอบได้ไหมครับพี่
  • อันนี้น้องทำเป็นปริญญาเอกเลย
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆ
  • คอยอ่าน คำตอบของครู ดีกว่าครับ
  • ตอนนี้ ยังคิดไม่ออก ครับ

น้องบ่าวขจิต

  • เคาะถึงชายชื่อนายบู๊ดหน่อยมันเก่งจริงๆหมอนี่
  • เรื่องโครงงานฯน้องก็น่าจะแย้มๆมาซักนิดหนึ่งนะ อย่าให้พี่บ่าวต้องคลำๆถูๆไถๆไป เพราะทราบว่าศึกษาลึกซึ้งในเรื่องนี้เลย ไม่บอก โกรธนะเอ้า หยอกๆนะ...
  • ขอบคุณนะน้อง

น้องชัยพร

ไม่น่าใจดำเลย แบ่งปันให้กันได้นี่

โครงงานในทัศนะของผมมันก็คืองานวิจัยดี ๆ นี่เอง

ปัญหาคืออะไร

มีใครเคยแก้ปัญหานี้หรือไม่

ผลเป็นอย่างไร (อย่าเพิ่งเชื่อเพราะบริบทต่าง)

เราคิดจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร (อย่าลืมนำบทเรียนจากเพื่อน ๆ ที่เคยศึกษาแล้วมาประกอบ)

ออกแบบดูสิครับว่าจะมีกระบวนการอย่างไร

แล้วลองทำดู

ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างที่เราคาดไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นเพราะเงื่อนไขหรือปัจจัยได้

หรือ อยากรู้เรื่องอะไร

มีใครเคยศึกษาหรือไม่ แล้วเขาว่าอย่างไร

อย่าเพิ่งเชื่อเด็ดขาด ตั้งคิดเสมอว่าบริบทต่าง คำตอบก็อาจจะต่าง

ลองกำหนดกรอบความคิดจากการดูของเพื่อนบ้าง ศึกษาบรืบทบ้าง มาวางแผนการค้นหาคำตอบ

แล้วลองค้นหาคำตอบจากประเด็นที่เรากำหนดไว้ในตอนแรก แต่ ต้องทบทวนเสมอนะว่าสิ่งที่เราคิดตอนแรกเมื่อเจอสถานการณ์จริิง อาจจะไม่ใช้ ดังนั้นต้องไวในการวิเคราะห์และลองหาทางเลือกอื่นหรือมองมันด้วยความเข้าใจ พยายามถอดรหัสนัยดู

จากนั้นก็มาทบทวน หมวดหมู่ แลัวลองเชื่อมโยงหมวดหมู่ต่าง ๆ ดูว่ามันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร แล้วลองให้เพื่อน ๆ ช่วยกันดูสักหน่อยเพื่อจะได้ปรับแก้หรือศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นที่ตกหล่น

เท่านี้ก็อาจจะได้คำตอบ แต่อย่าทึกทักเด็ดขาดว่าคำตอบที่นี่จะเหมือนกับที่โน้น

รักทุกท่าน

ขอบคุณนะน้องคนเก่ง

จุดประกายความคิดได้ดีมากๆ

คิดได้อีก เติมเข้ามาอีกนะ สุดยอดมาก

จะนำไปประมวล จัดหมวดหมู่ครับ

ผศ.ดร.เนาวนิต สงคราม มาวันไหน จะโทร.มาร่วมแชร์ประสบการณ์นะครับ ราวๆสงกรานต์ ว่ามาอย่างนั้น

จะไปฟังน้องนำคุยเรื่องการประเมินผลเชิงเสริมพลังอำนาจ ที่จะพูดให้แกนนำองค์กรชุมชนฟัง ในวันที่ 23 มี.ค. ที่ อบต.บางจาก เพื่อนำมาประมวลเข้ากับโครงงาน (วิจัยย่อมๆ)

เรียนรู้ครับเรียนรู้ คนใกล้ตัวกันแท้ๆ หากไม่เรียนรู้ ก็จะไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท