รายงานการใช้นวัตกรรม


รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

บทที่ 3

 

วิธีดำเนินการวิจัย

 

                การพัฒนาชุดกิจกรรมการการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเต็มกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการศึกษาในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นตอนที่  1  การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้

                ขั้นตอนที่  2  การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

                ขั้นตอนที่  3  การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้

 

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้

                ขั้นตอนการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมกรรมการเรียนรู้ เรื่องจำนวนเต็มกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1

               

แหล่งข้อมูล

                1. ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ จำนวน 5 ท่าน ดังรายชื่อต่อไปนี้

                                1.1

                                1.2

                                1.3

                                1.4 

                                1.5 

                2.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประชาสันติภาพ(วงษ์สุดใจอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2550 จำนวน 3 คน จำแนกเป็น เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ  1 คน   เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมเรื่องภาษา เวลา ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องชัดเจน

                3.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประชาสันติภาพ(วงษ์สุดใจอุปถัมภ์)  อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2550 จำนวน 9 คน จำแนกเป็น เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ 3 คน ซึ่งเป็นการหาประสิทธิภาพกับนักเรียนตามเกณฑ์ 75/75

                4.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนประชาสันติภาพ(วงษ์สุดใจอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน จำแนกเป็น เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ 10 คน ซึ่งเป็นการหาประสิทธิภาพกับนักเรียนตามเกณฑ์ 75/75

               

ขั้นตอนการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้

                ในการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้

                1. ศึกษาเอกสารหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  สาระและมาตรฐาน   การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และการจัดทำสาระของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                2.  ร่างชุดกิจกรรมการเรียนรู้

                3.  นำร่างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำในส่วนที่บกพร่องและนำมาปรับปรุงแก้ไข

                4.  นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้วพร้อมแบบประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน (รายชื่ออยู่ในภาคผนวก) ตรวจสอบคุณภาพของชุดกิจกรรม

                5.  ประเมินเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เกณฑ์ ตัดสินความเหมาะสม คือ ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไม่เกิน 1.00

                6. ปรับปรุง แก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

                7. นำไปทดลองใช้กับนักเรียน นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 โรงเรียนประชาสันติภาพ(วงษ์สุดใจอุปถัมภ์)  อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2550 จำนวน 3 คน จำแนกเป็น เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ 1 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมเรื่องภาษา เวลา ปรับปรุง แก้ไขให้ถูกต้องชัดเจน

                8.  หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 75/75 โดยนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประชาสันติภาพ(วงษ์สุดใจอุปถัมภ์) อำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2550 จำนวน 9 คน จำแนกเป็น  เก่ง  ปานกลาง  อ่อน  อย่างละ 3 คน

                9.  หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 75/75 โดยนำไปทดลองกับนักเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนประชาสันติภาพ(วงษ์สุดใจอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน จำแนกเป็น  เก่ง  ปานกลาง  อ่อน  อย่างละ 10 คน

                10.  ปรับปรุงพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง

                การวิเคราะห์ข้อมูล

                1. การคำนวณหาค่าความเหมาะสมเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จากแบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ดังนี้

                                ค่าเฉลี่ย  1.00 - 1.49  หมายถึง  ค่าความเหมาะสมในระดับ  น้อยที่สุด

                                ค่าเฉลี่ย  1.50 - 2.49  หมายถึง  ค่าความเหมาะสมในระดับ  น้อย

                                ค่าเฉลี่ย  2.50 - 3.49  หมายถึง  ค่าความเหมาะสมในระดับ  ปานกลาง

                                ค่าเฉลี่ย  3.50 - 4.49  หมายถึง  ค่าความเหมาะสมในระดับ  มาก

                                ค่าเฉลี่ย  4.50 - 5.00  หมายถึง  ค่าความเหมาะสมในระดับ  มากที่สุด

                                (รวีวรรณ  ชินะตระกูล, 2540, หน้า 164)

                2. การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้

                      2.1  หาร้อยละของค่าเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบฝึกหัด แต่ละชุดกิจกรรมการเรียนรู้

                      2.2  หาร้อยละของค่าเฉลี่ยในการสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 2  การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

                แหล่งข้อมูล

                                ประชากร ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

                                กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านลำมะโกรก อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2550 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

                แบบแผนการทดลอง

                                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาดำเนินการตามแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวหรือรายกรณี (One Shot Case Study) (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายศ, 2538, หน้า 249) โดยมีแบบแผนดังนี้

            ตาราง 6 แสดงแบบแผนการทดลอง

X

T2

สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการทดลอง

X คือ การจัดกระทำ (Treatment)

T2 แทน การทดสอบหลังจากที่จัดกระทำการทดลอง (Posttest)

 

 

วิธีการทดลอง

                1.  การดำเนินการขณะทำการทดลอง

                     1.1 ดำเนินการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเต็มวันละ 1 ชั่วโมง  ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง จำนวน 3 ชุด โดยใช้เวลาตามตารางเรียนวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนกำหนดไว้

                     1.2  ดำเนินการสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนขณะเรียน โดยผู้ร่วมผู้วิจัย ด้วยแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม

                2.  การดำเนินการหลังการทดทอง

                     หลังจากที่ทำการทดลองสิ้นสุด ผู้ศึกษาทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบจำนวนจริง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

                1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง จำนวนเต็มและแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยได้ดำเนินการตามลำดับขั้น ดังนี้

                1.1  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม

                        1.1.1 วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้

                         1.1.2  กำหนดพฤติกรรมย่อยหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพื่อกำหนดจำนวนข้อสอบที่ต้องการจริง

                           1.1.3  สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ครอบคลุมเนื้อหาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยสร้างแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 80 ข้อ

                            1.1.4  นำแบบทดสอบที่สร้างเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

                              1.1.5  นำแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน(รายชื่อปรากฏอยู่ในภาคผนวก) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้ค่าตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป จำนวน 65 ข้อ ข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ต่ำกว่า 0.60 จำนวน 25  ข้อ คือข้อที่ 2, 4, 10, 16, 18,19, 20, 21, 22, 29, 30, 42, 74, 78, 80 เหลือข้อสอบที่มีค่า  0.60 -1.00  จำนวน 65 ข้อ

                                                1.1.6  ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

                                                 1.1.7  นำแบบทดสอบจำนวน 65 ข้อ ไปทดสอบ (Try Out) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโขมงหัก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน และนำกระดาษคำตอบมาตรวจให้คะแนนโดยให้ข้อถูกได้ 1 คะแนน  ข้อผิดหรือไม่ตอบหรือตอบเกินกว่า  1  ตัวเลือกให้   0

                                                1.1.8  การหาค่าความยากง่าย (P)  และค่าอำนาจจำแนก (B) ของแบบทดสอบเป็นรายข้อ โดยวิธีของ Brennan ได้หาความยาก (P) ระหว่าง 0.16 ถึง 0.93 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง -0.22 ถึง 0.69 ผู้วิจัยคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากระหว่าง 0.26 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22 ถึง 0.69 ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ 40 ข้อ

คำสำคัญ (Tags): #เผยแพร่ผลงาน
หมายเลขบันทึก: 246090เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2009 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

สวัสดีครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับ เก่งมากเลยครับ

ขอบคุณที่นำสิ่งดีดีมาแบ่งปัน...

เป็นผลงานที่สามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้จริง และสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้

ได้รับความรู้มากเลยครับ เก่งมากเลย

สวัสดี เข้ามาทักทายนะคะ

นำเสนองานที่มีประโยชน์ต่อเพื่อนครู ดีมากมากค่ะ เป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี

เป็นผลงานที่ดีมีประโยชน์ต่อผู้เรียน

ถือว่าเป็นความรู้ที่ดีมากคะ

ได้รับแนวคิดในการจัดทำผลงาน เพราะเป็นผลงานที่ดีเป็นแบบอย่างได้

เป็นตัวอย่างที่ดี แต่อยากจะเห็นตาราง 6 แสดงแบบแผนการทดลองเพราะตารางไม่ขึ้นครับ

ขอชมเชยด้วยคำว่าเก่งจริงๆ คร๊าบ

เป็นผลงานที่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ

ขอบคุณครับ

เป็นผลงานที่ดีเยี่ยมสามารถนำไปใช้ได้จริงๆ ขอบคุณค่ะ

เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างได้ขอบคุณค่ะ

เป็นผลงานที่นำไปใช้ได้จริงๆ ขอบคุณค่ะ

เป็นผลงานที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

ขอบคุณค่ะ

ข้อความของท่านเหมาะสมกับการที่จะนำไปเป็นตัวอย่างที่ดี กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดียิ่ง

ขอบคุณที่ให้ความรู้นะค่ะ

ขอให้ท่านเผยแพร่ความรู้ดีดี อย่างนี้อีกต่อไปนะค่ะ

ขอบคุณครับ กำลังหาอยู่พอดี

ดีมากครับ สามารถนำไปใช้ได้จริงๆๆๆๆๆครับ

เป็นผลงานที่ดีมากสามารที่นำไปใช้ได้จริง

เป็นผลงานที่มีประโยขน์ต่อผู้ศึกษาหาความรู้

ขอขอบพระคุณ

ขอบคุณที่นำสิ่งดีดีมาแบ่งปัน...

เป็นผลงานที่ดีมาก

ขอบคุณมากที่แบ่งปันความรู้ให้กัน

เป็นผลงานที่เยี่ยมมากเลยค่ะขอบคุณมาก

สามารถนำผลงานไปใช้ได้จริง เหมาะสมกับวัยนักเรียน

เป็นผลงานที่ดี สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ

เป็นผลงานที่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ

ขอบคุณครับ

เป็นนวัตกรรมที่ดีมากสำหรับครูเครือข่ายเดียวกัน

ได้รับความรู้มากเลยครับ เก่งมากเลย

เป็นผลงานที่ไปใช้ได้จริง

ถือว่าเป็นความรู้ที่ดีมากคะ

ได้รับความรู้จากการเผยแพร่ความรู้ของคุณครูมากและจะนำไปใช่ประโยขน์ได้มากเลยครับ

ขอบคุณครับ กำลังหาอยู่พอดี

ขอชมเชยด้วยคำว่าเก่งจริงๆ คร๊าบ

เป็นผลงานที่ดีมาก

ขอบคุณมากที่แบ่งปันความรู้ให้กัน

เป็นผลงานที่ดี สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ

ดีจัง อ่านแล้วสามารถนำไปใช้ได้

เป็นผลงานที่ดีเยี่ยม

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวนเต็ม เป็นนวัตกรรมที่ดี ผู้อ่านจะนำมาพัฒนางานของตัวเองบ้าง ขอขอบคุณ ท่านเรณู เลียงผา เป็นอย่างมาก

ผงงานดีมาก น่าสนใจดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท